เกรียงยศ สุดลาภา
เกรียงยศ สุดลาภา ป.ม., ท.ช., จ.ภ. | |
---|---|
![]() | |
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กรกฎาคม 2561 | |
ผู้ว่าการ | พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2509 |
ศาสนา | พุทธ |
นายเกรียงยศ สุดลาภา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ถาวร เสนเนียม) อดีตรองโฆษกกรุงเทพมหานคร ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหลังจากรัฐประหารในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2557 เกรียงยศ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท)โดยแต่งตั้งให้เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ)ให้ดูแลทางด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท)ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช)
ประวัติ[แก้]
นายเกรียงยศ สุดลาภา เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นบุตรของนายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 7 และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และด้านครอบครัวเกรียงยศ สุดลาภา มีบุตรชาย 2 คน คือนายพศุตม์ สุดลาภาและเด็กชายณภดล สุดลาภา นายเกรียงยศ สุดลาภา เรียนจบการศึกษาระดับชั้นประถมที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับมัธยมที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีอาร์ต กราฟิก ดีไซต์ ที่เมืองชิคาโกประเทศสหรัฐอเมริกา และจบระดับปริญญาโทด้าน Art and Media management ที่ Columbia College Chicago เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทเพิ่มอีก คือปริญญาโทจาก คณะรัฐศาสตร์ ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ประเทศไทย เกรียงยศเริ่มเข้าเส้นทางการเมืองในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์โดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองโฆษกกรุงเทพมหานคร ดูแลกิจการในกรุงเทพมหานคร และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และหลังจากเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 เกรียงยศได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และเป็นโฆษกคณะกรรมาธิการดูแลด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เกรียงยศได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครโดยพลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
การศึกษา[แก้]
- ประถมศึกษา: โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กทม.
- มัธยมศึกษา: โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กทม.และ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กทม.
- Catholic Central High School, Grand Rapids, Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรี Kendall College of Art and Design, Grand Rapids, Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโท School of the Art Institute of Chicago, Chicago, Illinois ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโท Art and Media management ที่ Columbia College, Chicago, Illinois ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโท: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะรัฐประศาสน์ศาสน์ เมื่อปี พ.ศ. 2544
งานการเมือง[แก้]
นายเกรียงยศ สุดลาภา เข้าเวทีการเมืองครั้งแรกโดยการได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รองโฆษก กรุงเทพมหานคร (ดูแลด้านกิจการกรุงเทพมหานคร) ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเคยสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบแบ่งเขตในเขตเลือกตั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้เพียงลำดับที่ 4และได้ลงเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อในนามพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งในปีพ.ศ. 2554 อยู่ในลำดับที่ 68 [1]
ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[2]
นายเกรียงยศ สุดลาภา เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการเสนอชื่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมแทนนายทิวา เงินยวง ในการเลือกตั้งซ่อม เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 แต่สุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์ มีมติให้นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เป็นตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้ง[3] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 นายเกรียงยศ สุดลาภา ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช.ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.)[5] และดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ)ให้ดูแลทางด้านการปกครองท้องถิ่นในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท) และในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แต่งตั้งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กำกับดูแลสำนักการศึกษา สำนักวัฒนธรรม กีฬาและท่องเที่ยว สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักงานการต่างประเทศ สำนักพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักการคลัง ของกรุงเทพมหานคร
บทความวิชาการ[แก้]
- การนำนโยบายศูนย์จัดตั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลไปปฏิบัติ :กรณีศูนย์ถ่ายทอดการศึกษาเทคโนโลยี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ปชป.-พท."ฐานคะแนน กทม.สูสี เลือกซ่อมเขต 6 "วัดกันที่กระแส"
- ↑ "การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายเกรียงยศ สุดลาภา และนายสุกิจ ก้องธรนินทร์)". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
- ↑ องอาจเผยชื่อ5คนปชป.คัดลงชิงส.ส.แทนทิวา
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๗๘. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐