พรรคเพื่อชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคเพื่อชาติ
For The Nation Party
หัวหน้าปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช
รองหัวหน้า
เลขาธิการปวีย์ภัทร วัฒนศิริเศรษฐ
เหรัญญิกชนัญชิดา สียางนอก
นายทะเบียนสมาชิกณฐพร ดอนปัญญา
โฆษกนางสาวชุติมา กุมาร
รองโฆษก
  • พลอยชมพู ริยาพันธ์
  • มูฮัมหมัด นอร์แมน กานดี้
ประธานยุทธศาสตร์ร้อยเอก ดร. จารุพล เรืองสุวรรณ
ประธานที่ปรึกษาร้อยตำรวจเอก ดร. นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย
ผู้อำนวยการวรัชยา โกแสนตอ
กรรมการบริหาร
  • เกศปรียา แก้วแสนเมือง
  • เขมภณ ฉัตรวิทยา
  • ชาย มาลี
คำขวัญเพื่อชาติ(นี้) ไม่ต้องรอชาติหน้า
ก่อตั้ง18 กันยายน 2556 (2556-09-18)
แยกจากพรรคเพื่อไทย
ที่ทำการ76 ซอยรามคำแหง 21 ถนนรามคำแหง แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
บุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีนายแพทย์ เรวัต วิศรุตเวช
ร้อยเอก ดร.จารุพล เรืองสุวรรณ
เว็บไซต์
https://phueachart.com/
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเพื่อชาติ (อังกฤษ: For the Nation Party) พรรคการเมืองของไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นลำดับที่ 17/2556 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556[1] มีนายเถลิงยศ บุตุคำ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และนางสาวรัชชสรา แก้วเกิดมี เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

ประวัติ[แก้]

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ที่ประชุมใหญ่สามัญพรรคเพื่อชาติ มีมติเลือกกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติชุดใหม่ โดยสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็นหัวหน้าพรรค, ลินดา เชิดชัย เป็นเลขาธิการพรรค, รองหัวหน้าพรรค 7 คน ประกอบด้วย พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ, อารี ไกรนรา, เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล, บุษรินทร์ ติยะไพรัช, ปรียนันท์ สุวรรณคีรี, ลลิตา ฤกษ์สำราญ และ วิโชติ วัณโณ, เกศปรียา แก้วแสนเมือง เป็นโฆษกพรรค องอาจ คำทอง เป็นนายทะเบียนพรรค

สงครามชี้ว่า ประเทศชาติเกิดปัญหาวิกฤตการเมืองมากว่า 12 ปี เปรียบประเทศป่วยเหมือนเป็นโรคมะเร็ง แม้จะมีรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยก็ไม่สามารถอยู่ได้ ขณะเดียวกันเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่เอื้อสำหรับการบริหารประเทศ โดยประกาศจุดยืนพรรคเพื่อชาติพร้อมพูดคุยประสานกับทุกฝ่าย ย้ำว่าจะทำเพื่อประเทศชาติยึดหลักประชาธิปไตย ขณะเดียวกันยังเปิดสถาบันพัฒนาการเมืองของพรรค โดยมียงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา และจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นวิทยากร นอกจากนี้ยังเปิดตัวกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ภายในงาน โดยมีสมาชิกพรรคเพื่อชาติกว่า 5,000 คน ซึ่งมาจากทุกภูมิภาค โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ ทั้งนี้ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยงเผ่าปกาเกอะญอ จาก 4 อำเภอ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วม 70 คน นอกจากนี้ยังมีบุคคลมีชื่อเสียง เช่น นายเสรี รุ่งสว่าง นักร้องลูกทุ่งรุ่นใหญ่ เข้าร่วมการประชุม[2]

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565 คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติได้จัดการประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุมภายในสนามลีโอ เชียงราย สเตเดียม จังหวัดเชียงราย โดยมีสมาชิกพรรคร่วมลงมติเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคฯ ชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช เป็นหัวหน้าพรรค[3] ในวันที่ 14 ตุลาคม พรรคเพื่อชาติได้จัดกิจกรรมเปิดตัวพรรคเพื่อชาติในรูปแบบใหม่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ในงานนี้นอกจากจะเป็นการเปิดตัวกรรมการบริหารที่เปลี่ยนใหม่ทั้งชุดแล้ว ยังมีการเปิดโลโก้ใหม่ของพรรคที่มีความทันสมัยและสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะทำเพื่อประชาชนคนไทยในทุกมิติ นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวนโยบายหลักของพรรค โดยเน้นนโยบายการศึกษา เนื่องจากต้องการนำเสนอการเปลี่ยนแปลงประเทศจากรากฐานที่สำคัญที่สุดของมนุษย์[4] รวมถึงนโยบายด้านสาธารณสุข กระบวนการยุติธรรม การค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ไรเดอร์[5]

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อชาติได้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยยกเลิกข้อบังคับพรรค พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทุกฉบับและประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่ รวมถึงเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 3 คน และกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมจำนวน 1 คน[6]


บุคลากรพรรค[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

  1. เถลิงยศ บุตุคำ (18 กันยายน 2556 – 23 พฤศจิกายน 2561)
  2. สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ (23 พฤศจิกายน 2561 – 19 มีนาคม 2564[7])
  3. บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ (3 เมษายน 2564[8] - 21 พฤศจิกายน 2564)
  4. ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ (21 พฤศจิกายน 2564[9] - 9 กันยายน 2565)
  5. ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช (10 กันยายน 2565 - 20 ตุลาคม 2566)

เลขาธิการพรรค[แก้]

  1. รัชชสรา แก้วเกิดมี (18 กันยายน 2556 - 23 พฤศจิกายน 2561)
  2. ลินดา เชิดชัย (23 พฤศจิกายน 2561 - 3 เมษายน 2564)
  3. ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ (3 เมษายน 2564 - 4 สิงหาคม 2564)[10]
  4. ลินดา เชิดชัย (21 พฤศจิกายน 2564 - 10 กันยายน 2565)
  5. ร้อยเอก จารุพล เรืองสุวรรณ (10 กันยายน 2565 - 20 มีนาคม 2566)
  6. ปวีย์ภัทร วัฒนศิริเศรษฐ (26 มีนาคม 2566 - 20 ตุลาคม 2566)

กรรมการบริหารพรรค[แก้]

คณะกรรมการบริหารพรรคชุดสุดท้ายก่อนยุบพรรคในปี 2566

  1. นางสาวปวิศรัฐฐ์  ติยะไพรัช หัวหน้าพรรค
  2. นายเทวกฤต พรหมมา รองหัวหน้าพรรค คนที่ 1
  3. นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ รองหัวหน้าพรรค คนที่ 2
  4. พลตำรวจตรีชุยต มารยาทตร์ รองหัวหน้าพรรค คนที่ 3
  5. นายเนติภูมิ ริยาพันธ์ รองหัวหน้าพรรค คนที่ 4
  6. นายวิชัย ทวีปวรเดช รองหัวหน้าพรรค คนที่ 5
  7. นางสาว พลอยนภัส โจววณิชย์ รองหัวหน้าพรรค คนที่ 6
  8. นายวิรัช ตวงจารุวินัย รองหัวหน้าพรรค คนที่ 7
  9. นายปวีย์ภัทร วัฒนศิริเศรษฐ เลขาธิการพรรค
  10. นางสาวชนัญชิดา สียางนอก เหรัญญิกพรรค
  11. นางสาวณฐพร ดอนปัญญา นายทะเบียนสมาชิกพรรค
  12. นางสาวชุติมา กุมาร โฆษกพรรค
  13. นางพลอยชมพู ริยาพันธ์ รองโฆษกพรรค
  14. นายมูฮัมหมัด นอร์แมน กานตี้ รองโฆษกพรรค
  15. นางสาววรัชยา โกแสนตอ ผู้อำนวยการพรรค
  16. นางสาวเกศปรียา แก้วแสนเมือง กรรมการบริหารพรรค
  17. นายชาย มาลี กรรมการบริหารพรรค

การเลือกตั้ง[แก้]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อชาติได้แต่งตั้งบุคลากรในตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อม เช่น จารุพล เรืองสุวรรณ เป็นประธานยุทธศาสตร์พรรค และ นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อชาติได้เสนอชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทย 2 คน[11] ได้แก่ เรวัต วิศรุตเวช และจารุพล เรืองสุวรรณ และส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระบบบัญชีรายชื่อและเขตเลือกตั้ง รวม 91 คน

นอกจากนี้พรรคเพื่อชาติยังได้ตั้งศูนย์นโยบายมีชีวิต พรรคเพื่อชาติ ณ สุขุมวิท 12 เพื่อเป็นพื้นที่ในการนำเสนอนโยบายของพรรคในรูปแบบที่จับต้องได้ และเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[12]

สิ่งที่พรรคเพื่อชาติเน้นย้ำมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ และก็คือจุดยืนของพรรคเพื่อชาติ คือ "การขจัด นายทุน-ขุนศึก ที่กินรวบประเทศมาอย่างยาวนาน" พรรคเพื่อชาติต้องการที่จะทลายการผูกขาด และการเอื้อประโยชน์ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มนายทุน ที่นำมาซึ่งการตัดโอกาสของประชาชน

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2557 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เถลิงยศ บุตุคำ
2562
5 / 500
421,412 1.19% เพิ่มขึ้น 5 ฝ่ายค้าน สงคราม กิจเลิศไพโรจน์
2566
0 / 500
59,571 0.16% ลดลง 5 ไม่ได้รับเลือกตั้ง ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช

สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง[แก้]

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติได้มีมติเอกฉันท์ให้เลิกพรรคเพื่อชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศให้พรรคเพื่อชาติสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง โดยมีผลนับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม[13]


อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคเพื่อชาติ
  2. ""สงคราม กิจเลิศไพโรจน์" นั่งหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ". Thai PBS.
  3. ""ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช" นั่งหัวหน้าพรรคเพื่อชาติคนใหม่". Thai PBS. 2022-09-10.
  4. ""เราจะสร้างชีวิตที่ดีในชาตินี้ด้วยกัน ไม่ต้องรอชาติหน้า" พรรคเพื่อชาติเปิดตัว 'มาดามฮาย' นั่งหัวหน้าพรรคคนใหม่". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-10-14.
  5. "นโยบาย – พรรคเพื่อชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-22. สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ
  7. "'สงคราม' ไขก๊อกพ้นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ". ThaiPost. 19 Mar 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "'เพื่อชาติ' เคาะแล้ว 'บุศริณธญ์ พี่สาวยงยุทธ' นั่งหัวหน้าพรรคแทน 'สงคราม'". ThaiPost. 3 Apr 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ""ศรัณย์วุฒิ" ผงาด หน.เพื่อชาติ "สงคราม" นั่งประธานยุทธศาสตร์". mgronline.com. 21 Nov 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ
  11. "'เพื่อชาติ' เปิดตัว 'จารุพล-หมอเรวัต' แคนดิเดตนายก". prachatai.com.
  12. ""เพื่อชาติ" เล่นใหญ่เตรียมเปิดศูนย์นโยบายมีชีวิต Live Policy ปากซอยสุขุมวิท 12". mgronline.com. 2022-12-27.
  13. "ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกกต. ให้ พรรคเพื่อชาติ สิ้นสภาพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2023-10-20. สืบค้นเมื่อ 2023-10-20.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]