ฉลอง เรี่ยวแรง
ฉลอง เรี่ยวแรง | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต 6 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | นางเจริญ ทองทวี (หย่า) |
นายฉลอง เรี่ยวแรง (เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต 6 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ในสังกัดพรรคประชากรไทย ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และในปัจจุบันได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ[แก้]
นายฉลอง เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายศิริ และนางเฉลียว เรี่ยวแรง มีพี่น้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา ครุศาสตร์บัณฑิต จากสถาบันราชภัฏสวนดุสิตในระดับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์ด้านพัฒนาสังคม. จากนิด้า สมรสและหย่ากับภรรยาคือนางเจริญ ทองทวี มีบุตร 2 คน คือนางจิรวรรณ เรี่ยวแรง และนางสาวปารมี เรี่ยวแรง
งานการเมือง[แก้]
ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชากรไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ย้ายมาลงเลือกตั้งกับพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย จากพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งครั้งถัดมาปี พ.ศ. 2548 ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง
ปี พ.ศ. 2550 ย้ายไปลงสมัครกับพรรคประชาราช และสอบตกอีกครั้ง ปัจจุบันในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 3
นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกหลายตำแหน่ง เช่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์), ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นางอุไรวรรณ เทียนทอง)
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่ง ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
นายฉลอง เรี่ยวแรง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย
สรุปในการเลือกตั้ง 6 ครั้งหลังสุด สอบผ่าน 3 ครั้ง (พ.ศ. 2539 2548 2554) และสอบตก 3 ครั้ง (พ.ศ. 2544, 2550, 2562)
ฉายา[แก้]
นายฉลอง ได้รับฉายาว่า "หลอง งูเห่า" จากการที่ปลายปี พ.ศ. 2540 ได้เป็น 1 ใน 13 กลุ่มงูเห่า ที่ไม่ทำตามมติของพรรคประชากรไทย โดยหันไปสนับสนุนนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้แล้วได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "หลอง ซีดี" จากการที่เคยถูกตำรวจบุกค้นบ้านพักส่วนตัวที่จังหวัดนนทบุรี แต่ไม่พบของผิดกฎหมาย[3]
ในเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปลายปี พ.ศ. 2554 นายฉลองได้แสดงอาการไม่พอใจเรื่องของบริจาคช่วยเหลือในเขตพื้นที่ของตน ที่คุมโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ว่าได้รับแจกไม่ทั่วถึงอีกด้วย[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๘/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย ๑. นายธวัช สุทธวงค์ ฯลฯ)
- ↑ "ฉลอง เรี่ยวแรง เปิดศึกวิวาทะเสื้อแดง". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-18.
- ↑ [ลิงก์เสีย] ฉลอง เรี่ยวแรง โวย....เสื้อแดงคุมของบริจาค ศปภ. จากเนชั่นแชนแนล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- นายฉลอง เรี่ยวแรง Archived 2012-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายฉลอง เรี่ยวแรง[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายฉลอง เรี่ยวแรง), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กันยายน 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนนทบุรี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี
- พรรคประชากรไทย
- พรรคมหาชน
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคประชาราช
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- บุคคลจากคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.