มังกร ยนต์ตระกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มังกร ยนต์ตระกูล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดร้อยเอ็ด
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
เลขาธิการพรรคเสรีรวมไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าวิรัตน์ วรศสิริน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2547–2551)
เพื่อไทย (2551–256?)
เสรีรวมไทย (2566–ปัจจุบัน)

มังกร ยนต์ตระกูล (เกิด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2503) เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเสรีรวมไทย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดและอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติ[แก้]

มังกร ยนต์ตระกูล เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายไชยวัฒน์ และนางอารีรัตน์ ยนต์ตระกูล มีพี่น้อง 5 คน หนึ่งในนั้นคือ สุรจิตร ยนต์ตระกูล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

การทำงาน[แก้]

มังกร ยนต์ตระกูล เป็นนักธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์[1] ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้ง โดยเอาชนะเวียง วรเชษฐ์ จากพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2551 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและสามารถเอาชนะ รัชนี พลซื่อ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด แชมป์เก่าไปได้ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในปี 2555

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 มังกรลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันกับเอกภาพ พลซื่อ อดีต ส.ส. โดยผลการเลือกตั้งปรากฎว่าเอกภาพ สามารถเอาชนะไปได้ 6,151 คะแนน[2] แต่ต่อมาเอกภาพถูกศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครและสิทธิรับเลือกตั้งของ เอกภาพ พลซื่อ นายก อบจ.ร้อยเอ็ด เป็นเวลา 10 ปี จากกรณีปราศรัยใส่ร้ายมังกร ยนต์ตระกูล ถือว่าเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562[3]

ในปี 2566 มังกรได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีรวมไทย ลำดับที่ 2 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเสรีรวมไทยได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 1 ที่นั่ง

หลังการเลือกตั้ง มังกรได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคเสรีรวมไทย[4] ต่อมาในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคและ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. ส่งผลให้มังกรได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทน[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รู้จัก "มังกร ยนต์ตระกูล" อดีตดีลเลอร์รถรายใหญ่ภาคอีสาน ผงาดเป็น สส. แทน "เสรีพิศุทธ์"
  2. "เอกภาพ พลซื่อ"โค่น "มังกร ยนต์ตระกูล
  3. matichon (2022-08-05). "'เอกภาพ พลซื่อ' นายกอบจ.ร้อยเอ็ด โดนศาลสั่งตัดสิทธิ์เลือกตั้ง แห้วลงส.ส.พปชร". มติชนออนไลน์.
  4. “เสรีรวมไทย” ประชุมใหญ่ เลือกกรรมการบริหารพรรค 2 คน ที่ลาออก ดัน “วิรัตน์” นั่งรองหัวหน้าพรรค
  5. ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว ให้ "มังกร ยนต์ตระกูล" เป็น สส. แทน "เสรีพิศุทธ์" ที่ลาออก
  6. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/B/016_1/1.PDF
  7. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00177225.PDF