เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563
เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 | |
---|---|
![]() สถานที่ตั้งของ พัน.สพ.กระสุน 22 บชร.2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ (1), วัดป่าศรัทธารวม (2) และเทอร์มินอล 21 โคราช (3) | |
สถานที่ | จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
วันที่ | 8–9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 15:30 น. ของวันที่ 8 จนถึง 09:14 น. ของวันที่ 9 ต่อเนื่องกัน |
ประเภท | วิกฤตการณ์ตัวประกัน, การสังหารหมู่ |
อาวุธ | |
ตาย | 31 (รวมผู้ก่อเหตุ)[4] |
เจ็บ | 57 |
ผู้ก่อการ | จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา[5] |
เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เป็นเหตุกราดยิงในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ซึ่งจ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชาและญาติถึงแก่ความตาย แล้วหลบหนีเข้ามาในตัวเมือง กราดยิงผู้คนตามรายทาง ก่อนเข้าไปซ่อนตัวหลบอยู่ในห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จับบุคคลในห้างเป็นตัวประกัน[6] และถ่ายทอดสดตนเองขณะก่อเหตุลงเฟซบุ๊กของตน[7] จนถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมในเช้าวันถัดมา[8] สรุปมีผู้เสียชีวิต 31 คน บาดเจ็บ 57 คน[4] ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 32 คน[ต้องการอ้างอิง] เหตุกราดยิงนี้ถือว่าเป็นเหตุกราดยิงที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย[9]ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม นาย อุทัย ขันอาสา เสียชีวิตลงเป็นรายที่ 31[10]
ผู้ก่อเหตุ[แก้]
จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา เกิดวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2531 เป็นชาวตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล โรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นทหารสังกัดกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ตำบลไชยมงคล มีความชำนาญในการยิงปืนระยะไกล[11]
การกราดยิง[แก้]
ภูมิหลัง[แก้]
จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ได้ซื้อบ้านในโครงการสวัสดิการทหารที่ตำบลโคกกรวด จำนวน 1,500,000 บาท และได้ให้นางอนงค์ มิตรจันทร์ ดำเนินการเรื่องเอกสารและการจัดตกแต่งภายในบ้านให้ จนมีเงินส่วนเกินที่เหลือ 50,000 บาท นางอนงค์จึงส่งเงินส่วนนี้ให้นายพิทยาซึ่งเป็นนายหน้า จ่าสิบเอก จักรพันธ์จึงได้ขอเงินส่วนนี้คืน[12]
พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เป็นคนกลาง มีการนัดนางอนงค์มาชี้แจงข้อเท็จจริง รวมถึงนายพิทยา นายหน้า เมื่อมีการพูดคุยกัน นายหน้าเสนอขอจ่ายเงินชดใช้ให้ แต่ไม่มีเงิน เพราะใช้เงินหมดไปแล้ว จึงขอกู้ยืมเงินจากนางอนงค์ แต่เป็นการตกลงจำนวนเงินที่ไม่ลงตัว เพราะก่อนหน้านี้ จ่าสิบเอก จักรพันธ์ เข้าใจว่าตัวเองจะได้เงินคืน 400,000 บาท[13]
บ้านพักผู้บังคับบัญชา ค่ายสุรธรรมพิทักษ์และวัดป่าศรัทธารวม[แก้]
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 เวลาประมาณ 15:30 น. จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชา คือ พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ อายุ 48 ปี ผู้บังคับกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 และนางอนงค์ มิตรจันทร์ อายุ 65 ปี แม่ยายของพันเอก อนันต์ฐโรจน์ ถึงแก่ความตายที่บ้านพักในตำบลหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[14] ขณะที่นายหน้าวิ่งหนีไป จึงถูกไล่ยิงเข้าข้างหลังแต่ไม่เสียชีวิต[15]
จากนั้น จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ไปชิงอาวุธสงครามออกมาจากคลังอาวุธกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ตำบลไชยมงคล โดยยิงทหารเวรกองรักษาการณ์ และทหารดูแลคลังอาวุธ มีพลทหารบาดเจ็บ 1 นาย เสียชีวิตอีก 1 นาย[14] ต่อมา จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ขับรถฮัมวีหลบหนีออกไปทางด้านหลังค่าย มุ่งไปทางวัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล เพราะทราบว่าภรรยาของผู้บังคับบัญชาออกไปทำบุญที่วัดป่าศรัทธารวม[16] ได้กราดยิงผู้คนตามรายทางถึงแก่ความตายรวม 9 คน[17] คนร้ายกราดยิงกระสุนนับร้อยนัด โดยยิงคนในรถเสียชีวิตและบาดเจ็บ ยังยิงเด็กนักเรียนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และยังเดินไปยิงซ้ำอีก จากนั้นมีตำรวจมา 2 นาย ไม่ทันลงจากรถก็ถูกยิงจนพรุนเสียชีวิต[18] แต่ปรากฏว่า ได้ทราบว่า ภรรยาของผู้บังคับบัญชาไปกินข้าวที่เทอร์มินอล 21 โคราช[16]
เทอร์มินอล 21 โคราช[แก้]
จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ขับรถเข้าไปในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา มุ่งไปที่ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ซึ่งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยกราดยิงผู้คนตามรายทาง และจับผู้คนในห้างเป็นตัวประกัน ทั้งยิงถังแก๊ส ทำให้เกิดระเบิดและเพลิงลุกไหม้ในห้าง[11] จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ยังถ่ายทอดสดตนเองขณะก่อเหตุลงเฟซบุ๊กของตน[7]
ไทยรัฐ รายงานโดยอ้างถ้อยคำของบุคคลในห้างที่ติดต่อออกมาหาญาติภายนอกว่า ตัวประกันในห้างมี 16 คน[19]
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต[แก้]
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาแถลงในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 23:50 น. ว่ามีผู้เสียชีวิต 20 คน ศพทั้งหมดอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ แบ่งเป็นผู้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ 16 คน เสียชีวิตที่โรงพยาบาลแห่งนี้ 3 คน และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา 1 คน ส่วนผู้บาดเจ็บมี 32 คน ในจำนวนนี้ 10 คนอาการหนัก และมีตำรวจ 2 คนถูกยิงที่หลังและขา[6]
รุ่งขึ้น เวลา 04:25 น. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสรายงานว่า มีตำรวจอรินทราชอีก 2 รายเสียชีวิตจากการปะทะ[ต้องการอ้างอิง]
วันเดียวกัน เวลา 09:14 น. มีรายงานว่า จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ผู้ก่อเหตุ ถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรม[8] ในบริเวณชั้นใต้ดิน โซนเอ ของห้าง[20]
สรุป มีผู้เสียชีวิต 31 คน (รวมผู้ก่อเหตุ) และมีผู้บาดเจ็บ 57 คน[4]พื้นที่ที่มีผู้เสียชีวิตมากถึง 4 ตำบลใน อำเภอเมืองนครราชสีมา
รายชื่อผู้เสียชีวิต[แก้]
พลเรือน[แก้]
- นาง อนงค์ มิตรจันทร์ อายุ 62 ปี
- นาย จักรพันธ์ ชิพิมาย อายุ 44 ปี
- นาย ศรัณยพงศ์ พงธ์ชะอุ่มดี อายุ 55 ปี
- นาง นริศรา โชติกลาง อายุ 52 ปี
- เด็กชาย รัชชานนท์ กาญจนเมธี อายุ 13 ปี
- นางสาว อาริยา กลีบเมฆ อายุ 40 ปี
- นาง พัชรา จันทร์เพ็ง อายุ 54 ปี
- นาย จิรวัฒน์ รัดกลาง อายุ 41 ปี
- นาย ทัศนะ หริรักษ์ อายุ 35 ปี
- นาง ชญาภา แสงครบุรี อายุ 57 ปี
- นาย เอกกวิน ยืนทน อายุ 18 ปี
- เด็กชาย เจริญศักดิ์ จำปาทอง อายุ 9 ปี
- นาย วันชัย เวชวรรณ อายุ 41 ปี
- นาย อำนาจ บุญเกื้อ อายุ 47 ปี
- นาย อุทัย ขันอาสา อายุ 39 ปี
- นาย พีระพัฒน์ พลาสาร อายุ 25 ปี
- นางสาว อภิษณาภา ขันผักแว่น อายุ 45 ปี
- นาย สุริยะ ลิมป์รัชตามร อายุ 44 ปี
- นางสาว กรรณิการ์ การบรรจง อายุ 22 ปี
- นางสาว ปภัชญา นวลรักษา อายุ 33 ปี
- นาย อธิวัฒน์ พรมสุข อายุ 18 ปี
- เด็กชาย ปรมะ ลิมป์รัชตามร อายุ 2 ปี
- นาย วัชรพล พาณิชย์ อายุ 41 ปี
- นาย สมเกียรติ วิชชุปัญญาพาณิชย์ อายุ 54 ปี
- นาย อุทัย ขันอาสา
ข้าราชการทหารและตำรวจ[แก้]
- พลตำรวจโท ตระกูล ทาอาษา (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจากร้อยตำรวจเอก ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
- พันตำรวจโท ชัชวาลย์ แท่งทอง อายุ 50 ปี (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจากดาบตำรวจ ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
- พันตำรวจโท เพชรรัตน์ กำจัดภัย (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจากดาบตำรวจ ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
- สิบเอก เมธา เลิศศิริ (รับปูนบำเหน็จชั้นยศจากพลทหาร ยศขณะปฏิบัติหน้าที่)
- จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา (ผู้ก่อเหตุ)
- พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ อายุ 48 ปี
- ร้อยเอก ศิริวิวัฒน์ แสงประสิทธิ์ อายุ 54 ปี
ผลที่ตามมา[แก้]
การนำออกจากเฟซบุ๊ก[แก้]
เฟซบุ๊ก ได้ถอดบัญชีเฟซบุ๊กของผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนร้าย อันเนื่องจากโพสต์ข้อความและวิดีโอสดที่มีเนื้อหารุนแรง ซึ่งขัดหลักกับนโยบายของเฟซบุ๊ก[21] นอกจากนั้นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ขอให้เฟซบุ๊กตรวจสอบและนำภาพการเสียชีวิต รวมถึงคลิปการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ออกจากระบบ[22]
การทำงานของสื่อมวลชน[แก้]
จากเหตุการณ์นี้ สังคมตั้งคำถามถึงการทำงานของสื่อมวลชน เรื่องมีส่วนการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงความเหมาะสมของเนื้อหาที่ถูกเผยแพร่ มีกระแสในโลกโซเชียลตำหนิสื่อมวลชนจำนวน 3 ช่อง คือช่องวัน, ไทยรัฐทีวี และอมรินทร์ทีวี เนื่องจากบอกรายละเอียดที่ตั้ง แนวการทำงานของเจ้าหน้าที่ สัมภาษณ์และบอกพิกัดของผู้ที่ติดอยู่ในเทอร์มินอล 21 โคราช และสัมภาษณ์สดพ่อของผู้เสียชีวิต ที่สร้างความหดหู่แก่ผู้ชม[23] แม้ กสทช. ออกคำสั่งไปยังสถานีทุกช่องให้งดการนำเสนอภาพข่าว การรายงานสด ที่จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการในเหตุการณ์ ก็ยังพบบางสถานีไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด[24] อย่างไรก็ตาม ช่องดังกล่าวกลับได้รับผลตอบรับทางด้านเรตติ้งที่สูงมาก[23]
กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ ให้ความเห็นเรื่อง การวิเคราะห์สถานการณ์ หรือ วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ก่อเหตุ ว่า "บางครั้งก็นำผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ เป็นการขายข่าวไปวัน ๆ คงไม่เกิดประโยชน์อะไรแถมจะเกิดผลเสียให้กับสังคมอีกมากมาย"[25]
ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กสทช. ได้สั่งปรับสื่อมวลชนที่ขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 3 ช่อง โดยแบ่งเป็นช่องวัน ถูกปรับ 250,000 บาท เนื่องจากเป็นการทำผิดครั้งแรก ส่วนไทยรัฐทีวีและอมรินทร์ทีวี ถูกปรับเป็นโทษสูงสุด คือช่องละ 500,000 บาท เนื่องจากเคยได้รับโทษในเรื่องการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม พร้อมทั้งมีการนำเสนอข่าววิธีการกราดยิงซ้ำอีกครั้งในรูปแบบแอนิเมชันซึ่งไม่ใช่การออกข่าวที่แท้จริง[26]
การทำงานของกองทัพและรัฐบาล[แก้]
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส. นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้สดถามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถึงความล่าช้าในการระงับเหตุ และเหตุผลที่ไม่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมสถานการณ์[27] โดยไล่เรียงเหตุการณ์ว่า คนร้ายอยู่ในค่ายสุรธรรมพิทักษ์ นาน 50 นาที ก่อนเดินทางไปก่อเหตุ ใกล้วัดป่าศรัทธารวม อีก 50 นาที จากนั้นใช้เวลาเดินทางอีก 30 นาที ไปห้างเทอร์มินอล 21 โดยพลเอกชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตอบกลับว่า ช่วงเวลาดังกล่าวได้สั่งให้เตรียมกำลังและร่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้หากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตามขั้นตอน[28]
ส่วนเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยคลังอาวุธของกองทัพ พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ตอบข้อซักถามนี้กับสื่อมวลชนว่า กองทัพมีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยและป้องกันคลังอาวุธกระสุนมานานแล้ว ทั้งการติดตั้งกล้องวงจรปิด ยามรักษาการณ์ บางหน่วยมีสุนัขร่วมด้วย แต่ในเหตุการณ์นี้ยอมรับว่า มีหน่วยงานที่หละหลวม อย่างไรก็ดี ผู้ก่อเหตุปฏิบัติราชการในหน่วยงานนั้น มีความเชี่ยวชาญช่ำชองทั้งการใช้อาวุธ และรู้จักพื้นที่เป็นอย่างดี ทั้งนี้จะเพิ่มมาตรการให้รอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้น[29]
การตรวจสอบธุรกิจในค่ายทหาร[แก้]
ข้อมูลจากการสอบสวนของตำรวจ สันนิษฐานว่าเหตุรุนแรงครั้งนี้มีที่มาจากข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องเงินและการซื้อขายบ้านที่ผู้ก่อเหตุซื้อจากนางอนงค์ รวมถึงคำยืนยันจากพลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ที่ระบุว่าทหารผู้ก่อเหตุ "ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชาและเครือญาติ" จึงเป็นเหตุนำไปสู่การหาความจริงเกี่ยวกับธุรกิจของนางอนงค์ พบว่ามีการทำเป็นขบวนการ คือ เจ้าของโครงการบ้านจัดสรรที่เป็นเครือญาติของนายทหารนำโครงการมาเสนอขายให้ทหารชั้นผู้น้อยในราคาถูก จากนั้นจัดหาเจ้าหน้าที่มาดูแลด้านการอนุมัติเงินกู้ของกรมสวัสดิการทหารบกมาประเมินราคาบ้านให้สูงกว่าความเป็นจริงเพื่อขออนุมัติเงินกู้ในวงเงินที่สูง ๆ โดยผู้บังคับบัญชาเซ็นหนังสือรับรองเพื่อให้อนุมัติเงินได้ง่ายขึ้น แต่ทางกองทัพบกออกมา ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง ไม่มีขบวนการเงินทอน กองทัพและกรมสวัสดิการทหารบกไม่ได้ประโยชน์จากเงินส่วนต่างในการกู้เงิน และเชื่อว่าความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องของตัวบุคคล อย่างไรก็ตาม ต่อมาทางกองทัพบกสั่งตรวจสอบโครงการสวัสดิการทหารและธุรกิจในค่ายทหารทั้งหมด[30]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ CalibreObscura (8 February 2020). "Seems the active shooter in #Thailand used his issued Type 11 rifle (Licence-produced HK 33). Appears likely that he may have been carrying at least one sidearm too, such as this Smith & Wesson Performance Center 629 Competitor that he's posted on Social Media #กราดยิงโคราช" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "แฉจ่าคลั่งชอบเล่นปืน ลากเอชเค-M60 ก่อเหตุ พร้อมกระสุนกว่า 700 นัด". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2020-02-08.
- ↑ CalibreObscura (8 February 2020). "Some reports indicate that he may have stolen an M60 MG (!) (Looks like an M60E3 to me) and a vehicle too, but unsure if the former was used. Footage didn't appear that it was to me" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "สลด ยอดเสียชีวิตพุ่ง 30 ราย เหตุกราดยิงโคราช (16.15 น.)". กรุงเทพธุรกิจ. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "Thai soldier goes on shooting rampage, killing at least 17 people". Al Jazeera. 8 February 2020.
- ↑ 6.0 6.1 "กราดยิงโคราช: นายทหารชั้นประทวนยิงผู้บังคับบัญชา แล้วโพสต์สดกราดยิงไม่เลือกหน้า เชื่อยังซ่อนอยู่ในห้างเทอร์มินอล 21 ห้างโคราช ยอดตาย-เจ็บจำนวนมาก". บีบีซีไทย. 8 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ 7.0 7.1 "20 killed as soldier opens fire in Korat". Bangkok Post. 9 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-09.
- ↑ 8.0 8.1 ตำรวจวิสามัญฆาตกรรม "จักรพันธ์ ถมมา" จ่าคลั่ง กราดยิงประชาชนดับคาห้าง ไทยรัฐ. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563.
- ↑ Lalit, Sakchai; Vejpongsa, Tassanee (9 February 2020). "Thai army sergeant who killed at least 26 shot dead in mall, officials say". USA Today. สืบค้นเมื่อ 9 February 2020.
- ↑ ผู้ว่าฯ สกลนคร เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพนายอุทัย ขันอาสา ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุกราดยิงที่โคราช
- ↑ 11.0 11.1 "เปิดประวัติ "จักรพันธ์ ถมมา" ฆ่าไปโพสต์ไป แม่นปืน สุดเจ็บแค้น พาแม่มากล่อม". ไทยรัฐ. 8 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "เมีย พ.อ. เปิดใจ "นายหน้า" เป็นต้นเหตุพา "จ่า" เที่ยวนักร้อง ผลาญเงิน 5 หมื่นทำคลั่ง (คลิป)". อมรินทร์ทีวี. 10 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "เพื่อนจ่าโหดเผยปมคลั่ง เงินส่วนแบ่งซื้อบ้านหาย 4 แสน ไม่ใช่ 5 หมื่น (คลิป)". อมรินทร์ทีวี. 11 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ 14.0 14.1 "ย้อนไทม์ไลน์สะเทือนขวัญ จ.ส.อ.คลั่ง กราดยิงประชาชนไม่เลือก ทั่วเมืองโคราช". ช่อง 7. 9 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-09.
- ↑ "แฉปม จ.ส.อ.คลั่ง ส่วนต่างค่าที่ "ล่องหน"". คมชัดลึก. 10 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ 16.0 16.1 "คนใกล้ชิดมือกราดยิงโคราช แจงปมทำไมเลือกก่อเหตุ วัดป่าศรัทธารวม-ห้างเทอร์มินอล 21". ช่อง 3. 12 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "ลำดับเหตุช็อกคนไทยทั้งประเทศ เหตุกราดยิงทั่วนครราชสีมา". สำนักข่าวไทย. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "พระลูกวัดป่าศรัทธารวม-แม่ชียังผวา! เล่านาทีระทึกจ่าคลั่งกราดยิง". ไทยโพสต์. 10 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "คาด "จักรพันธ์ ถมมา" ทหารคลั่ง จับตัวประกันในห้าง 16 คน". ไทยรัฐ. 8 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "เปิดภาพ พ่อ-ลูกชายเคียงบ่าเคียงไหล่ ระงับเหตุกราดยิงโคราช". เนชั่นสุดสัปดาห์. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "สื่อนอกประโคมข่าว #กราดยิงโคราช - ยืนยันเฟซบุ๊กลบบัญชีมือปืนแล้ว". สนุก.คอม. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ ""เฟซบุ๊ก" ตอบรับ "ดีอีเอส" นำภาพ-คลิป กราดยิงโคราชออกจากระบบ". สปริงนิวส์. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ 23.0 23.1 "วันที่กระแสสังคม สวนทางกับเรตติ้ง". ทีวีดิจิตอลวอตช์. 11 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "ฟาดแหลกสื่อไลฟ์เก่ง "กสทช." ง้างดาบฟัน "สื่อมวลชน" ปฏิบัติไม่เหมาะสมรายงานเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช". นิว 18. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "ทำไมต้องรีบวิเคราะห์กราดยิงโคราช!? จิตแพทย์ดังกระตุกสังคมไทย". สยามรัฐออนไลน์. 9 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (26 กุมภาพันธ์ 2563). "บอร์ดกสทช. สั่งปรับ 3 ช่องทีวี กรณีการออกอากาศเหตุการณ์กราดยิงโคราช". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help)Empty citation (help) - ↑ "ถอดบทเรียน "โคราชวิปโยค" ในห้วงการเมืองร้อน : สะท้านกองทัพ สะเทือนรัฐบาล". ไทยรัฐ. 16 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "ส.ส.โคราช เพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตความล่าช้าระงับกราดยิง". พีพีทีวี. 13 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "กราดยิงโคราช : ผบ.ทบ. ปาดน้ำตา อย่าด่ากองทัพบก-ทหาร "ให้ด่า พล.อ.อภิรัชต์" แต่ไม่ลาออก". บีบีซีไทย. 11 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ กุลธิดา สามะพุทธิ (15 กุมภาพันธ์ 2563). "กราดยิงโคราช : ความสูญเสียจากเหตุกราดยิง นำมาสู่การตรวจสอบธุรกิจในค่ายทหาร". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help)