ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่ม 77

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่ม 77
ตั้งชื่อตามจำนวนสมาชิกก่อตั้ง
ก่อตั้ง15 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (60 ปี)
วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
สํานักงานใหญ่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ
วิธีการเจรจาต่อรอง, การวิ่งเต้น, รายงาน และการศึกษา
สาขาวิชาการเมืองระหว่างประเทศ
สมาชิก (2562)
134 ชาติสมาชิก
ผู้นำ
 ปากีสถาน
สังกัดสหประชาชาติ
เว็บไซต์www.g77.org

กลุ่ม 77 (อังกฤษ: Group of 77) ที่สหประชาชาติ เป็นแนวร่วม (coalition) ประเทศกำลังพัฒนาอย่างหลวม ๆ ซึ่งออกแบบเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน และเสริมสมรรถภาพการเจรจาร่วมในสหประชาชาติ องค์การนี้มีสมาชิกก่อตั้ง 77 ประเทศ แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2556 องค์การมีสมาชิกเพิ่มเป็น 134 ประเทศ ในปี 2559 ประเทศไทยเป็นประธาน

กลุ่มนี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2507 โดย "ปฏิญญาร่วมเจ็ดสิบเจ็ดประเทศ" ซึ่งออกที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและพัฒนา (UNCTAD) มีการประชุมใหญ่ครั้งแรกในกรุงแอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรีย ในปี 2510 ซึ่งมีการรับกฎบัตรแอลเจียร์และเริ่มพื้นฐานสำหรับโครงสร้างสถาบันถาวร มีกฎบัตรกลุ่ม 77 ในกรุงโรม (องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ) เวียนนา (องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมสหประชาชาติ) ปารีส (ยูเนสโก) ไนโรบี (โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ) และกลุ่ม 24 ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก)

สมาชิก

[แก้]
ประเทศกลุ่ม 77 ในปี 2556

สมาชิกก่อตั้งในปัจจุบัน

[แก้]
  1.  อัฟกานิสถาน
  2.  แอลจีเรีย (1981–1982, 1994, 2009, 2012)
  3.  อาร์เจนตินา (2011)
  4.  เบนิน
  5.  โบลิเวีย (1990)
  6.  บราซิล
  7.  บูร์กินาฟาโซ
  8.  กัมพูชา
  9.  แคเมอรูน
  10.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
  11.  ชาด
  12.  ชิลี
  13.  โคลอมเบีย (1992)
  14.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (กินชาซา)
  15.  สาธารณรัฐคองโก (บราซาวีล)
  16.  คอสตาริกา (1996)
  17.  คิวบา
  18.  สาธารณรัฐโดมินิกัน
  19.  เอกวาดอร์
  20.  อียิปต์ (1972–1973, 1984–1985)
  21.  เอลซัลวาดอร์
  22.  เอธิโอเปีย
  23.  กาบอง
  24.  กานา (1991)
  1.  กัวเตมาลา (1987)
  2.  กินี
  3.  เฮติ
  4.  ฮอนดูรัส
  5.  อินเดีย (1970–1971, 1979–1980)
  6.  อินโดนีเซีย (1998)
  7.  อิหร่าน (1973–1974, 2001)
  8.  อิรัก
  9.  จาเมกา (1977–1978, 2005)
  10.  จอร์แดน
  11.  เคนยา
  12.  คูเวต
  13.  ลาว
  14.  เลบานอน
  15.  ไลบีเรีย
  16.  ลิเบีย
  17.  มาดากัสการ์ (1975–1976)
  18.  มาเลเซีย (1989)
  19.  มาลี
  20.  มอริเตเนีย
  21.  โมร็อกโก (2003)
  22.  พม่า
  23.  เนปาล
  24.  นิการากัว
  1.  ไนเจอร์
  2.  ไนจีเรีย (2000)
  3.  ปากีสถาน (1976–1977, 1992, 2007)
  4.  ปานามา
  5.  ปารากวัย
  6.  เปรู (1971–1972)
  7.  ฟิลิปปินส์ (1995)
  8.  รวันดา
  9.  ซาอุดีอาระเบีย
  10.  เซเนกัล
  11.  เซียร์ราลีโอน
  12.  โซมาเลีย
  13.  ศรีลังกา
  14.  ซูดาน (2009)
  15.  ซีเรีย
  16.  แทนซาเนีย (1997)
  17.  ไทย (2016)
  18.  โตโก
  19.  ตรินิแดดและโตเบโก
  20.  ตูนิเซีย (1978–1979, 1988)
  21.  ยูกันดา
  22.  อุรุกวัย
  23.  เวเนซุเอลา (1980–1981, 2002)
  24.  เวียดนาม
  25.  เยเมน (2010)

สมาชิกเพิ่มเติม

[แก้]
  1.  แองโกลา
  2.  แอนทีกาและบาร์บิวดา (2008)
  3.  บาฮามาส
  4.  บาห์เรน
  5.  บังกลาเทศ (1982–1983)
  6.  บาร์เบโดส
  7.  เบลีซ
  8.  ภูฏาน
  9.  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  10.  บอตสวานา
  11.  บรูไน
  12.  บุรุนดี
  13.  กาบูเวร์ดี
  14.  จีน
  15.  คอโมโรส
  16.  โกตดิวัวร์
  17.  จิบูตี
  18.  ดอมินีกา
  19.  อิเควทอเรียลกินี
  20.  เอริเทรีย
  1.  ฟีจี
  2.  แกมเบีย
  3.  กรีเนดา
  4.  กินี-บิสเซา
  5.  กายอานา (1999)
  6.  คิริบาส
  7.  เลโซโท
  8.  มาลาวี
  9.  มัลดีฟส์
  10.  หมู่เกาะมาร์แชลล์
  11.  มอริเชียส
  12. ไมโครนีเชีย ไมโครนีเซีย
  13.  มองโกเลีย
  14.  โมซัมบิก
  15.  นามิเบีย
  16.  เกาหลีเหนือ
  17.  นาอูรู
  18.  โอมาน
  19.  ปาเลสไตน์
  20.  ปาปัวนิวกินี
  1.  กาตาร์
  2.  เซนต์คิตส์และเนวิส
  3.  เซนต์ลูเชีย
  4.  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
  5.  ซามัว
  6.  เซาตูแมอีปริงซีป
  7.  เซเชลส์
  8.  สิงคโปร์
  9.  หมู่เกาะโซโลมอน
  10.  แอฟริกาใต้ (2006)
  11.  ซูดานใต้
  12.  ซูรินาม
  13.  เอสวาตินี
  14.  ทาจิกิสถาน
  15.  ติมอร์-เลสเต
  16.  ตองงา
  17.  เติร์กเมนิสถาน
  18.  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  19.  วานูวาตู
  20.  แซมเบีย
  21.  ซิมบับเว

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]