การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
ลงทะเบียน | 4,402,944 | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||||||||||
![]() เขตเลือกตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||
|
ปฏิทินการเลือกตั้ง | |
---|---|
8 มี.ค. | ครม. มีมติเห็นชอบให้มีการเลือกตั้งตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ |
25 มี.ค. | กกต. ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้ง |
28 มี.ค. | กกต. กรุงเทพมหานคร ประกาศให้มีการเลือกตั้ง |
31 มี.ค. – 4 เม.ย. | วันรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง |
11 เม.ย. | ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร |
22 พ.ค. | วันเลือกตั้ง |
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 11 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[3] การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรกในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2556 ล่าช้าไปเพราะรัฐประหาร พ.ศ. 2557
ที่มา[แก้]
หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2557 มีการออกประกาศฉบับที่ 85[4] สั่งระงับการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว และต่อมา ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ออกคำสั่งตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ให้หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตรดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อไป[5][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ก่อนถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง จากข้อกล่าวหาว่าทุจริตการจัดซื้อซุ้มไฟของกรุงเทพมหานคร[6] และมีการแต่งตั้งให้พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการฯ ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการฯ แทน[7][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
หลังจากนั้นในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ซึ่งให้อำนาจแก่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[8][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร[9]
ผู้สมัคร[แก้]
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่มีจำนวนผู้สมัครมากที่สุดนับตั้งแต่จัดการเลือกตั้งมา มีผู้สมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้จำนวน 31 คน แบ่งเป็นผู้สมัครเพศชายจำนวน 25 คน ผู้สมัครเพศหญิงจำนวน 6 คน โดยผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุดมีอายุ 72 ปี และผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดมีอายุ 43 ปี[10] ผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีรายชื่อดังต่อไปนี้[11]
หมายเลข | สังกัด | รายนามผู้สมัคร | ตำแหน่ง/อาชีพ | |
---|---|---|---|---|
1 | พรรคก้าวไกล | วิโรจน์ ลักขณาอดิศร | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2562–2565) | |
2 | อิสระ | พ.ท.หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2544–2548) | |
3 | อิสระ | สกลธี ภัททิยกุล | รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2561–2565) | |
4 | พรรคประชาธิปัตย์ | สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ | อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (2558–2564) | |
5 | อิสระ | วีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ | ||
6 | อิสระ (กลุ่มรักษ์กรุงเทพฯ) | พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2559–2565) | |
7 | อิสระ | รสนา โตสิตระกูล | สมาชิกวุฒิสภา (2551–2557) | |
8 | อิสระ | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2555–2557) | |
9 | อิสระ | วัชรี วรรณศรี | ||
10 | อิสระ | ศุภชัย ตันติคมน์ | ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |
11 | พรรคไทยสร้างไทย | น.ต.ศิธา ทิวารี | ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ท่าอากาศยานไทย (2556–2557) | |
12 | อิสระ | ประยูร ครองยศ[b] | รองผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร (2560–2563) | |
13 | อิสระ | พิศาล กิตติเยาวมาลย์ | ||
14 | อิสระ | ธเนตร วงษา | นักธุรกิจ | |
15 | อิสระ | พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที | ||
16 | อิสระ (กลุ่มใส่ใจ) | ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ | นักธุรกิจ พิธีกรรายการโทรทัศน์ และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ | |
17 | อิสระ | อุเทน ชาติภิญโญ | ||
18 | อิสระ | สุมนา พันธุ์ไพโรจน์ | ||
19 | อิสระ | ไกรเดช บุนนาค | ||
20 | อิสระ | อมรพรรณ อุ่นสุวรรณ | ||
21 | อิสระ | นิพันธ์พนธ์ สุวรรณชนะ | ||
22 | อิสระ | วรัญชัย โชคชนะ | ||
23 | อิสระ | เฉลิมพล อุตรัตน์ | ||
24 | อิสระ | โฆสิต สุวินิจจิต | ||
25 | อิสระ | ประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ | ||
26 | อิสระ | พล.ต.ท.มณฑล เงินวัฒนะ | ||
27 | อิสระ | ภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ | ||
28 | อิสระ | สราวุธ เบญจกุล[c] | ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ท่าอากาศยานไทย (2563–2565) | |
29 | พรรคประชากรไทย | กฤตชัย พยอมแย้ม | ||
30 | พรรคกรีน | พงศา ชูแนม | ||
31 | อิสระ | วิทยา จังกอบพัฒนา |
การรณรงค์เลือกตั้ง[แก้]
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และรสนา โตสิตระกูล เปิดเผยว่าจะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปี 2562[13][14] ส่วนผู้สมัครคนอื่น ๆ ทยอยเปิดเผยว่าจะลงรับสมัครตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 เป็นต้นมา สำหรับการหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามวิธีทั่วไป คือ การเยี่ยมบ้าน การลงพื้นที่[15] และการโฆษณาผ่านป้ายประกาศ[16][17]
ชัชชาติเน้นนโยบายด้านคน ระบบเส้นเลือดฝอย สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ[18] รสนามีนโยบายการลอกคลองเพื่อระบายน้ำท่วม จ้างคนว่างงานขุดคลอง ส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ จัดสรรที่ดินให้คนจนเมืองได้ปลูกผักอินทรีย์ และควบคุมการจัดผังเมืองไม่ให้เอื้อประโยชน์กลุ่มนายทุน[19] สุชัชวีร์มีนโยบายสร้างเมืองสวัสดิการ สร้างแก้มลิงใต้ดิน ให้มีโรงเรียนสาธิตทุกเขต และเสนอให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2036[18][20] วิโรจน์มีนโยบายการกระจายงบประมาณลงไปยังชุมชนต่าง ๆ มากขึ้น การเปลี่ยนที่รกร้างเป็นที่สาธารณะ การสร้างที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง และการกำจัดปัญหาเรื่องส่วย[21][22] อัศวินมีนโยบายป้องกันน้ำท่วม แก้ปัญหาพื้นที่สีเขียว เชื่อมต่อการเดินทาง และสานต่อสิ่งที่ตนเคยทำไว้ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการฯ[23] สกลธีมีนโยบายการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้แก้ปัญหาจราจร เพิ่มการขนส่งสายรอง การใช้รถบัสไฟฟ้า และการปรับปรุงสวนสาธารณะ[24][25] ส่วนศิธามีนโยบายการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กทม. การพัฒนาโรงเรียนในกทม. ให้คุณภาพเท่ากัน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า และการให้รางวัลจูงใจเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน[26]
เนื่องจากผลสำรวจความคิดเห็นปรากฏว่าชัชชาติมีคะแนนนำมาโดยตลอด ทำให้มีผู้สนับสนุนผู้สมัครบางคนออกมาจูงใจด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกมาให้ความเห็นว่าควรเลือกสกลธีเพราะชัชชาติเคย "ได้ประโยชน์จากระบอบทักษิณ" และพลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กว่า "ไม่เลือกเราเขามาแน่ ภาค 2" ซึ่งเรียกร้องให้ผู้ที่จะออกเสียงให้ผู้สมัคร 4 คนที่ "ไม่เอาทักษิณ" มาเลือกผู้สมัครคนเดียวกันเสียเพื่อให้ชนะชัชชาติ ซึ่งเป็นวิธีการที่เรียกว่า การออกเสียงทางยุทธศาสตร์[27]
ในช่วงก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ยังมีการจัดการโต้วาทีระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายเวที[28][29][30]
ผลสำรวจ[แก้]
ผลสำรวจผู้ว่าราชการที่ต้องการ[แก้]
ระยะเวลาการสำรวจ | องค์กรที่สำรวจ | กลุ่มตัวอย่าง | อัศวิน | ชัชชาติ | รสนา | สุชัชวีร์ | วิโรจน์ | สกลธี | จักรทิพย์[d] | ยังไม่ได้ตัดสินใจ | อื่น ๆ[e] | นำ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
9—11 พฤษภาคม 2565 | สวนดุสิตโพล | 1,118 | 13.95% | 40.25% | 1.52% | 15.47% | 11.09% | 4.29% | — | 10.56% | 2.87% | 24.78% |
9—10 พฤษภาคม 2565 | นิด้าโพล | 1,354 | 11.37% | 45.13% | 3.32% | 8.94% | 9.75% | 3.77% | — | 9.23% | 8.49% | 33.76% |
3—9 พฤษภาคม 2565 | สถาบันพระปกเกล้า | 1,038 | 6.7% | 42.4% | 2.7% | 12.0% | 5.7% | 5.7% | — | 18.2% | — | 30.4% |
27–29 เมษายน 2565 | นิด้าโพล | 1,357 | 11.27% | 44.58% | 2.28% | 8.99% | 6.93% | 3.17% | — | 11.42% | 11.36% | 33.31% |
12–24 เมษายน 2565 | สวนดุสิตโพล | 2,552 | 14.16% | 39.94% | 1.94% | 13.37% | 10.00% | 3.09% | — | 12.02% | 1.47% | 25.78% |
15–22 เมษายน 2565 | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[f] | 20,141 | 14.68% | 27.93% | 2.44% | 21.95% | 10.16% | 3.50% | — | 10.18% | 9.15% | 5.98% |
21–22 เมษายน 2565 | ซูเปอร์โพล | 1,506 | 7.7% | 17.7% | — | 11.8% | 5.6% | 10.8% | — | 42.3% | 4.1% | 5.9% |
15–16 เมษายน 2565 | ซูเปอร์โพล | 1,548 | 9.8% | 24.5% | — | 13.9% | 5.5% | 10.1% | — | 28.7% | 7.5% | 10.6% |
6–8 เมษายน 2565 | ซูเปอร์โพล | 1,081 | 7.1% | 20.3% | — | 9.8% | 2.5% | 5.7% | — | 48.7% | 5.9% | 10.5% |
5–7 เมษายน 2565 | นิด้าโพล | 1,362 | 10.06% | 38.84% | 1.98% | 6.83% | 6.02% | 2.28% | — | 26.58% | 7.41% | 28.78% |
31 มีนาคม–2 เมษายน 2565 | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | 2,041 | 9.3% | 25.7% | 5.7% | 20.3% | 11.8% | 6.7% | — | 17.5% | 0.2% | 5.4% |
8–12 มีนาคม 2565 | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | 7,062 | 5.4% | 29.3% | 2.7% | 25.2% | 11.6% | 3.6% | — | 21.7% | 0.5% | 4.1% |
28 กุมภาพันธ์–2 มีนาคม 2565 | นิด้าโพล | 1,313 | 11.73% | 38.01% | 3.73% | 8.61% | 8.83% | — | — | 13.40% | 15.69% | 26.28% |
3–7 กุมภาพันธ์ 2565 | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | 1,035 | 5.71% | 33.81% | 2.48% | 28.29% | 8.57% | — | — | 20.29% | 0.86% | 5.52% |
31 มกราคม–2 กุมภาพันธ์ 2565 | นิด้าโพล | 1,324 | 12.09% | 37.24% | 3.55% | 11.03% | 8.08% | 1.81% | — | 5.59% | 20.61% | 25.15% |
23–25 ธันวาคม 2564 | นิด้าโพล | 1,317 | 10.25% | 38.80% | 3.26% | 13.06% | — | 1.90% | — | 11.85% | 19.06% | 25.74% |
29 พฤศจิกายน–1 ธันวาคม 2564 | นิด้าโพล | 1,318 | 17.07% | 34.37% | 5.54% | 4.86% | — | 1.21% | — | 11.68% | 25.27% | 17.30% |
1–3 พฤศจิกายน 2564 | นิด้าโพล | 1,320 | 16.59% | 33.18% | 5.91% | 4.09% | — | 1.82% | — | 14.09% | 24.32% | 16.59% |
27–30 กันยายน 2564 | นิด้าโพล | 1,318 | 9.33% | 29.74% | 4.10% | 3.26% | — | 1.29% | 13.66% | 27.92% | 10.70% | 16.08% |
30 สิงหาคม–2 กันยายน 2564 | นิด้าโพล | 1,317 | 9.57% | 27.71% | 4.10% | 1.67% | — | 0.76% | 15.49% | 24.60% | 12.46% | 12.22% |
30 มิถุนายน–2 กรกฎาคม 2564 | นิด้าโพล | 1,315 | 9.58% | 26.16% | 3.04% | 1.37% | — | 1.29% | 14.60% | 27.98% | 15.98% | 11.56% |
31 พฤษภาคม–2 มิถุนายน 2564 | นิด้าโพล | 1,313 | 10.59% | 23.84% | 3.43% | 2.05% | — | 1.14% | 12.57% | 30.62% | 15.76% | 11.27% |
31 มีนาคม–2 เมษายน 2564 | นิด้าโพล | 1,316 | 8.66% | 24.77% | 2.89% | 1.59% | — | 0.91% | 11.93% | 32.67% | 16.58% | 12.84% |
2–3 มีนาคม 2564 | นิด้าโพล | 1,315 | 7.68% | 22.43% | 4.26% | 3.35% | — | 1.75% | 15.51% | 29.96% | 15.06% | 6.92% |
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 พล.ต.อ. อัศวิน ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการฯ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง[1] นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร จึงดำรงตำแหน่งรักษาการแทน[2]
- ↑ แต่เดิมนั้นนายประยูร ครองยศ จะลงสมัครเข้าชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการฯ ในนามพรรคไทยศรีวิไลย์ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้ตัดสินใจลงสมัครในนามอิสระ[12]
- ↑ กกต.มีคำสั่งถอนชื่อออกจากบัญชีผู้สมัครรับเลือกตั้ง
- ↑ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้ประกาศถอนตัวจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[31]
- ↑ อื่น ๆ หมายถึงผู้สมัครคนอื่น ๆ รวมไปถึงผู้ที่ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ใช้สิทธิไม่ประสงค์ลงคะแนนหรือไม่สนใจตอบแบบสอบถาม
- ↑ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกประกาศชี้แจงว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่มีการทำผลการสำรวจเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการฯ แต่อย่างใด สำหรับผลการสำรวจที่ผ่านมา มหาวิทยาลัย Open Cyber University of Korea (OCU POLL) เป็นผู้ดำเนินการสำรวจและประมวลผลผ่านสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[32]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "อัศวิน" เซ็นลาออก "ผู้ว่าฯ กทม." แล้ว ปิดฉาก "คสช." แต่งตั้ง 5 ปี 5 เดือน 5 วัน
- ↑ คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๗๔๙/๒๕๖๕ เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองปลัดกรุงเทพมหานครสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ↑ "เคาะวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. - นายกเมืองพัทยา 22 พ.ค.นี้". Thai PBS. 2022-03-14.
- ↑ ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 85 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว
- ↑ ฮั้วประมูล “39 ล้าน” ความจริงวันนี้ของ “อุโมงค์ไฟชายหมู”
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๔/๒๕๕๙ เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ↑ พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ Pornthida (2022-03-14). "ด่วน! กกต.ประกาศวันเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.-นายกเมืองพัทยา". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 สร้างสถิติมีผู้สมัครมากสุด 31 คน". BBC News ไทย. 2022-04-04.
- ↑ "ปิดรับสมัครแล้ว เช็กชื่อ 31 ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 2565 ส่วน ส.ก. 382 คน". www.thairath.co.th. 2022-04-04.
- ↑ "เต้"เผยว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.สังกัดพรรคเปลี่ยนใจลงอิสระ
- ↑ "ทริปสุดท้ายก่อนลาการเมืองของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ "รสนาหวนคืนสนามเลือกตั้งในรอบ 14 ปี "ไม่เคยสนใจเรื่องแพ้-ชนะ"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ "2 ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 'ชัชชาติ' ลงพื้นที่ชั้นใน กทม. ด้าน 'สุชัชวีร์' ล่องเรือฝั่งธนบุรี". workpointTODAY.
- ↑ แค่เริ่มก็รก ! ป้ายหาเสียงผู้ว่าฯ กทม.ขึ้นพรึ่บ แต่ปชช. โวย ขวางทางเดินยาก มองไม่เห็น : Matichon TV, สืบค้นเมื่อ 2022-03-30
- ↑ Thailand, BECi Corporation Ltd. "ป้ายหาเสียง ผู้ว่าฯ กทม. พรึบทั่วกรุง โซเชียลบ่นระงม ไม่เหลือทางให้เดิน". CH3Plus.com.
- ↑ 18.0 18.1 matichon (2021-12-14). "เปิดฉากศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ VS ดร.เอ้ โชว์นโยบาย". มติชนออนไลน์.
- ↑ https://www.pptvhd36.com. "เปิดวิสัยทัศน์ "รสนา โตสิตระกูล" ลอกคลองทุกสาย ระบายน้ำท่วม เพิ่มพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ มีรายได้". pptvhd36.com.
- ↑ "'สุชัชวีร์' เปิดตัวโชว์วิสัยทัศน์ ชูเปลี่ยนกทม.เมืองสวัสดิการทันสมัย มั่นใจแก้ปัญหาคนกรุง น้ำท่วม-การศึกษา". workpointTODAY.
- ↑ "ก้าวไกล เปิดตัว "วิโรจน์" ลงชิงผู้ว่าฯ กทม. ภายใต้สโลแกน พร้อมชน เพื่อคนกรุงเทพฯ". www.sanook.com/news.
- ↑ matichon (2022-03-27). "'วิโรจน์' เปิด 12 นโยบาย ชูเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ-คนพิการ-เด็ก เจอส่วยแจ้งผู้ว่าฯกทม.ต้องไร้คอร์รัปชั่น". มติชนออนไลน์.
- ↑ matichon (2022-03-28). "'อัศวิน' ลั่นสู้เกินร้อย ชู 8 นโยบายชิงผู้ว่า เปิดตัว 'คนลุยเมือง' ดึงรุ่นใหม่ร่วมงาน". มติชนออนไลน์.
- ↑ https://www.pptvhd36.com. ""สกลธี ภัททิยกุล" ชูนโยบายล้อ ราง เรือ ดึงคนกรุงใช้รถสาธารณะ". pptvhd36.com.
- ↑ "'สกลธี' เปิด 6 นโยบาย ชูกรุงเทพฯ ดีกว่านี้ได้". workpointTODAY.
- ↑ ""ศิธา" เปิดตัวชิงผู้ว่าฯกทม.ลั่น"จะทำในสิ่งที่ผู้ว่าฯคนอื่นไม่เคยทำ"". posttoday.com. 2022-03-30.
- ↑ "ล้ม "ชัชชาติ" เชิงยุทธศาสตร์ "ไม่เลือกเราเขามาแน่" ภาค 2". กรุงเทพธุรกิจ. 7 May 2022. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
- ↑ "5 ตัวเต็ง ประชันวิสัยทัศน์ ดีเบต โค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม". สปริงนิวส์. 16 May 2022. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
- ↑ "จุฬาฯ จัดเวทีดีเบตโชว์วิสัยทัศน์ 4 ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม./สทท.แถลงดัชนีฯท่องเที่ยว". ryt9. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
- ↑ "ร่วมเกาะติดไปกับเวทีดีเบต "โค้งสุดท้าย...ศึกชิงผู้ว่าฯ กทม. 65" 15 พฤษภาคมนี้". NationTV. 2 May 2022. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
- ↑ matichon (2021-11-02). "'จักรทิพย์' ถอนตัวชิงผู้ว่าฯกทม. ปม 'ธรรมนัส' หนุน 'อัศวิน'". มติชนออนไลน์.
- ↑ มธ. วอนงดใช้ “โพลธรรมศาสตร์” แจง มหาวิทยาลัยไม่ได้ทำผลสำรวจผู้ว่าฯ กทม.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ก่อนหน้า | การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 |
![]() |
![]() การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 |
![]() |
- |