ข้ามไปเนื้อหา

พรรคกล้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคกล้า
ผู้ก่อตั้งกรณ์ จาติกวณิช
หัวหน้าจีระยุทธ วีรวงศ์
รองหัวหน้า
  • จิรัฏฐ์ วณิชพุฒิพงศ์
  • สมนึก จันทร์เฉิด
  • ณัฐชานันท์ สุรวัฒนชัย
เลขาธิการประยูร สงแก้ว
เหรัญญิกจรินทร์ทิพย์ ตันเจริญ
นายทะเบียนสมาชิกณัฐภูมิ ภู่ขจร
กรรมการบริหาร
  • ธนาวิทย์ ฤทธิศรี
  • ดำรงค์ สาหร่ายวัง
ก่อตั้ง29 มิถุนายน พ.ศ. 2563
แยกจากพรรคประชาธิปัตย์
ที่ทำการ86/12 ชั้น 3 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สมาชิกภาพ  (ปี 2565)26,102 คน[1]
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคกล้า เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก[2]

ต่อมาในวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2563 ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขข้อบังคับพรรคโดยให้เปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 86/12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคในปัจจุบัน[3]

จากนั้นในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565 ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 ทางพรรคได้เปิดตัวนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุอดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นประธานยุทธศาสตร์ของพรรค[4] จากในวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 นายกรณ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะก่อนจะย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติพัฒนาพร้อมกับนายกอร์ปศักดิ์[5][6]

ในวันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2565 ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2 ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 7 คนโดยได้นายจีระยุทธ วีรวงศ์ และนางสาวสุดารัตน์ กิ่งนอก เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[7]

ซึ่งพรรคกล้าได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2567 รวมถึงประชุมสาขาพรรคในวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567 ณ ที่ทำการพรรค พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คน

คณะกรรมการบริหารพรรค

[แก้]

ชุดที่ 1 (7 มีนาคม 2563 - 1 กันยายน 2565)

[แก้]
ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
1 กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรค ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565
2 ภิมุข สิมะโรจน์ รองหัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563
3 พงศ์พรหม ยามะรัต ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564
4 อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรค
5 เอราวัณ ทับพลี เหรัญญิกพรรค
6 ณัฐนันท์ กัลยาศิริ นายทะเบียนสมาชิกพรรค ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565
7 มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร กรรมการบริหารพรรค ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564
8 เบญจรงค์ ธารณา ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
9 สมัย เจริญช่าง แต่งตั้งเพิ่มในภายหลังและลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565
10 แวววรรณ ก้องไตรภพ แต่งตั้งเพิ่มในภายหลัง
11 เจษฎา ช่วยชูหนู แต่งตั้งเพิ่มในภายหลัง
13 ปรีชญา ฉ่ำมณี แต่งตั้งเพิ่มในภายหลัง

ชุดปัจจุบัน (21 กันยายน 2565 – 28 เมษายน 2567)

[แก้]

ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2 ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 7 คนประกอบด้วย

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
1 จีระยุทธ วีรวงศ์ หัวหน้าพรรค
2 จิรัฏฐ์ วณิชพุฒิพงศ์ รองหัวหน้าพรรค
3 สุดารัตน์ กิ่งนอก เลขาธิการพรรค
4 ณัฐภูมิ ภู่ขจร นายทะเบียนสมาชิกพรรค
5 ธนาธร เหง้าละคร เหรัญญิกพรรค
6 ธนาคาร ประภาแก้ว กรรมการบริหารพรรค ลาออกจากสมาชิกพรรค
7 ประยงค์ แสงกันหา

การเลือกตั้ง

[แก้]

พรรคกล้าส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรกคือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2564 ซึ่งทางพรรคได้ส่งนายสราวุฒิ สุวรรณรัตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยได้มีการเปิดตัวเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564[8] ซึ่งนายสราวุฒิได้คะแนนทั้งสิ้น 6,216 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง[9]

ต่อมาใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร เขต 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 พรรคกล้าได้ส่ง พันตำรวจเอก ทศพล โชติคุตร์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง[10] ในระหว่างกาหาเสียง ทศพลถูกก่อกวนการหาเสียงถึงสองครั้ง[11] หนึ่งในนั้นมีการยิงปืนใส่รถหาเสียงอีกด้วย ซึ่งทศพลได้คะแนนทั้งสิ้น 7,492 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 9 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 พรรคได้ส่ง อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม เนื่องจากอรรถวิชช์เคยเป็น สส. ในพื้นที่ดังกล่าว[12] ซึ่งอรรถวิชช์ได้คะแนนเป็นอันดับสาม รวมทั้งสิ้น 20,047 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง[13]

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 พรรคกล้าส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 12 คน และได้ประกาศอีกว่า พร้อมสนับสนุนผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่สนับสนุนนโยบายของพรรค[14] แต่ได้คะแนนรวมเพียง 53,332 คะแนน และไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเลือกตั้ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. มติ กกต. รับจดทะเบียนจัดตั้ง “พรรคกล้า” จ่อเปิดรับคนมีของร่วมพัฒนาประเทศ
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคกล้า
  4. 2 ปี พรรคกล้า บิ๊กเซอร์ไพรส์ เปิดตัว “กอร์ปศักดิ์” นั่งประธานยุทธศาสตร์
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคกล้า
  6. 'กรณ์' หิ้ว 'กอร์ปศักดิ์' ซบพรรคสุวัจน์ 'อรรถวิชช์' ลังเลเทพรรคกล้า
  7. 'กล้า' ได้หัวหน้าพรรค-กก.บห.ชุดใหม่ ไร้ชื่อ 'อรรถวิชช์' ส่อไปตามกรณ์
  8. พรรคกล้า ส่งผู้สมัครสู้ศึก ส.ส. ครั้งแรกที่นครศรีธรรมราช หลังเทพไทหลุดเก้าอี้ เผยสนาม กทม. ก็พร้อม
  9. 'กรณ์-สราวุฒิ' ขึ้นรถแห่ขอบคุณ 6,216 เสียงคนคอน เลือก 'พรรคกล้า'
  10. admin (2024-01-12). "ส่องประวัติ'ผู้กำกับหนุ่ย-ทศพล โชติคุตร์'ว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมชุมพร เปิดวิสัยทัศน์ดันชุมพรเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ | Newsthepoint.com".
  11. "มือมืดขี่รถจักรยานยนต์ ยิงรถแห่ผู้สมัครพรรคกล้า หลังตระเวนหาเสียงเลือกตั้งซ่อมชุมพร ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ". THE STANDARD. 2022-01-07.
  12. "พรรคกล้า เปิดตัว "อรรถวิชช์" ชิงเก้าอี้เลือกตั้งซ่อมเขตหลักสี่". Thai PBS.
  13. "สรุปเลือกตั้งซ่อมส.ส.หลักสี่ – จตุจักร บางส่วน 'เพื่อไทย' ชนะขาดลอย 'ก้าวไกล-กล้า' เบียดสูสี". workpointTODAY.
  14. "พรรคกล้า ส่ง 12 ผู้สมัคร ลงชิงเก้าอี้ ส.ก. บอกพร้อมหนุนผู้ว่าฯ กทม.ทุกคนที่หนุนนโยบายพรรค". www.thairath.co.th. 2022-03-31.

แหล่งข้อมูล

[แก้]