ฟาริดา สุไลมาน
ฟาริดา สุไลมาน | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ฟาริดา ประธาน 26 มกราคม พ.ศ. 2507 อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) มาตุภูมิ (2551–2554) ภูมิใจไทย (2554–2564) ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | มุข สุไลมาน |
ฟาริดา สุไลมาน (เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2507) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ และอดีตรองโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นภรรยาของมุข สุไลมาน
ประวัติ
[แก้]ฟาริดา มีชื่อเล่นว่า โน เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์[1] ในครอบครัวที่เป็นมุสลิม 1 ใน 5 ครอบครัวในจังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อดรุณ ประธาน เป็นลูกครึ่งปาทานและเขมร[2] ทั้งบิดาและมารดาล้วนเคยดำรงตำแหน่งกำนันในท้องถิ่น[3] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร จากนั้นศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จบการศึกษาปริญญาโท สาขาการแนะแนว จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และปริญญาเอกสาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ฟาริดาสมรสกับมุข สุไลมาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี มีบุตร 2 คน คือ นัสรี และฟาดิล สุไลมาน
งานการเมือง
[แก้]ฟาริดา สุไลมานเริ่มทำงานการเมืองโดยเป็นนายกเทศมนตรีตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาจึงได้หันเข้ามาทำงานการเมืองในระดับชาติ โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุรินทร์ และได้รับการเลือกตั้งถึง 3 สมัย ในสังกัดพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และย้ายมาสังกัดพรรคมาตุภูมิ ต่อมาภายหลังการยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย[4] และลงสมัคร สส. จังหวัดสุรินทร์ ในนามพรรคภูมิใจไทย[5] ซึ่งเป็นคนละพรรคกับมุข สุไลมานผู้เป็นสามี
ฟาริดา สุไลมาน เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในปี พ.ศ. 2564 เธอย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์[6] กระทั่งทางพรรคไทยสร้างไทยได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวนางฟาริดาเป็น ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขต 5 จังหวัดสุรินทร์ ของทางพรรค[7]
กรณีที่เป็นข่าว
[แก้]ฟาริดา สุไลมาน เคยตกเป็นข่าวดังเนื่องจากถูกกัปตันการบินไทยขวางไม่ให้ขึ้นเครื่องบิน เที่ยวบินกรุงเทพฯ-ขอนแก่น เพื่อที่จะเดินทางกลับพื้นที่ที่ จ.สุรินทร์ โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG1040 กรุงเทพฯ-ขอนแก่น แต่ขณะเดินไปที่ประตูเครื่องบิน มีชายแต่งกายคล้ายกัปตันเครื่องมาขวางและสอบถามว่าตนเองเป็น ส.ส.พรรคพลังประชาชนใช่หรือไม่ พร้อมกล่าวว่า การบินไทย ไม่ต้อนรับ ส.ส.พรรคพลังประชาชน[8]
ผลงาน
[แก้]งานเขียน
[แก้]- พ.ศ. 2557 - หนังสือ"ผู้หญิงสองวัฒนธรรม บนเส้นทางชีวิตการเมือง"
พิธีกร
[แก้]- พ.ศ. 2557 - รายการ wanita variety ทางช่อง TMTV (ช่องทีวีมุสลิม)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ จีรศักดิ์ โสะสัน และคณะ (มกราคม–เมษายน 2551). นูรุ้ลอีมานและกระบวนการสร้างชุมชนมุสลิมในพหุสังคมอีสาน. วารสารลุ่มน้ำโขง (4:1), หน้า 60-61
- ↑ บรรจง บินกาซัน (30 ธันวาคม 2557). "ศาสนามิใช่ที่มาของความขัดแย้ง". โลกวันนี้. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ เปิดตัว 25 อดีต ส.ส. ไหลเข้าภท.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "'ฟาริดา สุไลมาน' มั่นได้รับเลือกเป็นส.ส.สุรินทร์ อีกครั้ง แม้ว่าจะมีการปรับเขตเลือกตั้งใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
- ↑ เช็คขุนพล'ไทยสร้างไทย' เดิมพัน30ปี‘สุดารัตน์’
- ↑ “ฟาริดา สุไลมาน” เปิดตัวซบ “ไทยสร้างไทย” ลงชิง ส.ส.สุรินทร์ เขต 5
- ↑ "กัปตันการบินไทยร่วมวงต้านพปช.ห้ามส.ส.ขึ้นเครื่อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-11-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอศีขรภูมิ
- ชาวไทยเชื้อสายปาทาน
- ชาวไทยเชื้อสายเขมร
- มุสลิมชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์
- นายกเทศมนตรีในจังหวัดสุรินทร์
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคมาตุภูมิ
- พรรคภูมิใจไทย
- พรรคไทยสร้างไทย
- นักเขียนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์