วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์
วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2493 (70 ปี) |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | สันติ พร้อมพัฒน์ |
นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ (เกิด 2 ธันวาคม พ.ศ. 2493) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ[แก้]
วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เป็นบุตรของสิบตำรวจเอกวิมล และนางถุงเงิน ทองแถม มีน้อง 2 คน สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สมรสกับนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ มีบุตร 2 คน
งานการเมือง[แก้]
ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเพชรบูรณ์ ชุดปี พ.ศ. 2549 ต่อมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ในเวลาต่อมาถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสินให้ใบเหลือง เลือกตั้งใหม่ และได้รับเลือกอีกครั้ง[1]
ต่อมาใน พ.ศ. 2561 นางวันเพ็ญได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทยและย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับนายสันติผู้เป็นสามี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2551 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2552 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) [2]
- พ.ศ. 2555 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) [3]
- พ.ศ. 2556 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) [4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พปช.กวาดเลือกตั้งใหม่เพชรบูรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดเพชรบูรณ์
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเพชรบูรณ์
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.