เจะอามิง โตะตาหยง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจะอามิง โตะตาหยง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)
รวมพลังประชาติไทย (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564)

เจะอามิง โตะตาหยง เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23

ประวัติ[แก้]

เจะอามิง โตะตาหยง เกิดวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ที่ ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของ นายหะยีเจ๊ะดาราแม และนางหะยีวาเย๊าะ โตะตาหยง

นายเจะอามิง สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนเมืองยะลา มัธยมศึกษาจากโรงเรียนรัชตะวิทยายะลา ชั้นเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพฯ แผนกไฟฟ้ากำลัง อนุปริญญาวารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์ (อศศ.) วิทยาลัยครูยะลา ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัญฑิต (ศศ.บ) สถาบันราชภัฎยะลา และปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบบประชาธิไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (สำหรับนักบริหารชั้นสูง) สถาบันพระปกเกล้า (ปปร.3)

เจะอามิง โตะตาหยง เป็นอดีตนักข่าวและเป็นเจ้าของ ธุรกิจการค้ายางพารา โรงเลื่อยไม้ยางพารา และ รับเหมาก่อสร้าง ก่อนเข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ เคยทำงานการเมืองระดับท้องถิ่นมาก่อน จนกระทั่งได้รับตำแหน่งเป็น ประธานสภาจังหวัดนราธิวาส

บทบาท[แก้]

นายเจะอามิง เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสาธารณะ เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้สัมภาษณ์ และเขียนบทความลงใน หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน โดยได้รับมอบหมายจากพรรคให้ดูแล นโยบายการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายเจะอามิง ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นราธิวาส เขต 1 และได้รับมอบหมายจากพรรคประชาธิปัตย์ ให้ดูแลผู้สมัครในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในปี 2562 เขาย้ายไปร่วมงานกับพรรครวมพลังประชาชาติไทย และย้ายกลับมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2564[1]

ประวัติทางการเมือง[แก้]

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 5 สมัย (1/2535 , 2539, 2548, 2550 , 2554)
  • กรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานอนุความมั่นคง คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานอนุกรรมาธิการตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทางปลอม ของบุคคลต่างชาติ
  • รองประธานกรรมาธิการ เยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ คนที่ 1
  • รองประธานกรรมาธิการติดตามมติ คนที่ 1
  • เลขานุการ กรรมาธิการการต่างประเทศ
  • กรรมาธิการการทหาร
  • กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ
  • กรรมาธิการวิสามัญป่าไม้ชุมชน
  • กรรมมาธิการร่าง พรบ.งบประมาณปี 2542,2549
  • กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • กรรมาธิการวิสามัญกิจการฮัจย์
  • คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิป รัฐบาล) ทำเนียบรัฐบาล
  • ประธานสภาจังหวัดนราธิวาส
  • สมาชิกสภาจังหวัดนราธิวาส
  • โฆษกรองนายกรัฐมนตรี ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล
  • คณะทำงานรัฐมนตรีมหาดไทย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
  • รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์

การดำรงตำแหน่งทางสังคม[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กลับบ้านเก่าดีกว่า!‘9 รปช.’สามจังหวัดชายแดนใต้ ตบเท้าลาออก ย้ายคืนรัง ปชป.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]