การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (อังกฤษ: East Asia Summit ย่อว่า EAS) เป็นการประชุมสุดยอดของผู้นำประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จำนวน 16 ประเทศ โดยมีกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นศูนย์กลาง การประชุมครั้งแรกจัดที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005[1][2]
ประวัติ[แก้]
การก่อตั้งการประชุม[แก้]
แนวคิดกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกถูกเสนอเป็นครั้งแรกในปี 1991 โดยนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัดของประเทศมาเลเซีย ในรายงานของ East Asia Study Group ในปี 2002 ได้ก่อตั้งกลุ่มอาเซียนบวกสาม ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเอเชียที่นำโดยอาเซียน และประเทศที่เกี่ยวข้อง และใช้ชื่อนี้แทนการประชุมอาเซียนเรื่อยมา
การจัดการประชุมกลุ่มอาเซียนบวกสามในปี 2004 ได้ลงมติให้จัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และการประชุมในระดับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสมาชิกก่อตั้ง 16 ชาติได้จัดขึ้นนำร่องที่ประเทศลาว ในเดือนกรกฎาคม 2005
การประชุมสุดยอดประจำปี[แก้]
ครั้งที่ | วันที่ | ประเทศ | ที่จัดงาน | หัวหน้างาน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005 | ![]() |
กัวลาลัมเปอร์ | นายกรัฐมนตรี อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี | ประธานาธิบดีรัสเซียได้รับเชิญเข้าประชุม |
2 | 15 มกราคม ค.ศ. 2007 | ![]() |
มันดาเว | ประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย | ย้ายจากวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2006 มีการลงนามปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก |
3 | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 | ![]() |
สิงคโปร์ | นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง | ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ พลังงานและสิ่งแวดล้อม[3] ข้อตกลงว่าด้วยการก่อตั้งสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก |
4 | 25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 | ![]() |
ชะอำและหัวหิน | นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | วันที่และสถานที่ประชุมมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยมีการประกาศในช่วงปลายตุลาคม ค.ศ. 2008 ว่าย้ายที่จัดการประชุมสุดยอดจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในกรุงเทพ[4] |
5 | 30 ตุลาคม ค.ศ. 2010 | ![]() |
ฮานอย | ประธานาธิบดี เหงียน มิญ เจี๊ยต | เชิญสหรัฐและรัสเซียเข้าร่วมการประชุม |
6 | 18–19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 | ![]() |
บาหลี | ประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน | เชิญสหรัฐและรัสเซียเข้าร่วมการประชุม |
7 | 19–20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 | ![]() |
พนมเปญ | นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน | ความตึงเครียดในข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออกบดบังความก้าวหน้าในการทำข้อตกลงทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกในการประชุม[5] |
8 | 9–10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 | ![]() |
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์ | |
9 | 12–13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | ![]() |
เนปยีดอ | ประธานาธิบดี เต้นเซน | |
10 | 21–22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 | ![]() |
กัวลาลัมเปอร์ | นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก | |
11 | 6–8 กันยายน ค.ศ. 2016 | ![]() |
เวียงจันทน์ | นายกรัฐมนตรี ทองลุน สีสุลิด | |
12 | 13–14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 | ![]() |
ปาไซ | ประธานาธิบดี โรดรีโก ดูแตร์เต | นายกรัฐมนตรีแคนาดาเข้าร่วมประชุม |
13 | 14–15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 | ![]() |
สิงคโปร์ | นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง | ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน เข้าร่วมประชุม[6] |
14 | 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 | ![]() |
กรุงเทพ | นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา | |
15 | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 | ![]() |
ฮานอย (ในฐานะสถานที่จัดงาน) | นายกรัฐมนตรี เหงียน ซวน ฟุก | จัดออนไลน์เพราะโรคระบาดโควิด-19[7] |
16 | 26–27 ตุลาคม ค.ศ. 2021 | ![]() |
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (ในฐานะสถานที่จัดงาน) | สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์ | จัดออนไลน์เพราะโรคระบาดโควิด-19 |
17 | ค.ศ. 2022 | ![]() |
พนมเปญ | นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน |
ประเทศที่เข้าร่วม[แก้]
- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ
- ประเทศอินโดนีเซีย
- ประเทศมาเลเซีย
- ประเทศเวียดนาม
- ประเทศฟิลิปปินส์
- ประเทศไทย
- ประเทศลาว
- ประเทศพม่า
- ประเทศบรูไน
- ประเทศกัมพูชา
- ประเทศสิงคโปร์
- อีก 6 ประเทศจากกลุ่มอาเซียนบวกหก
- ประเทศที่อยู่ในระหว่างการขอเป็นสมาชิก
- ประเทศรัสเซียได้ยื่นความประสงค์จะเข้าร่วมการประชุม และได้ร่วมงานประชุมปี 2005 ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ฐานะของรัสเซียจะถูกตัดสินใจในการประชุมประจำปี 2006
- ประเทศติมอร์-เลสเตกำลังอยู่ระหว่างยื่นเป็นสมาชิกของอาเซียน
- มาเลเซียเสนอชื่อประเทศปากีสถานและประเทศมองโกเลียเป็นสมาชิกในอนาคต
- ออสเตรเลียเสนอชื่อประเทศปาปัวนิวกินีเป็นสมาชิกในอนาคต
ผู้นำคนปัจจุบันในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Places of Interest Archives".[ลิงก์เสีย]
- ↑ "About | EAS | ASEAN India". mea.gov.in (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Singapore Declaration on Climate Change, Energy and the Environment เก็บถาวร 13 พฤษภาคม 2012 ที่ Library of Congress Web Archives
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ Branigan, Tania (20 พฤศจิกายน 2012). "Obama urges Asian leaders to step back from territorial disputes". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2018.
- ↑ "Singapore to host 13th East Asia Summit in November". Connected to India. 23 March 2018. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.
- ↑ "Ha Noi Declaration on the 15th Anniversary of the East Asia Summit". Association of Southeast Asian Nations. November 15, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก |