พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล
พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล | |
---|---|
พิมพ์ภัทราใน พ.ศ. 2567 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
ถัดไป | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 | |
ก่อนหน้า | มาโนชญ์ วิชัยกุล |
คะแนนเสียง | 44,233 (48.72%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2522 อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2550–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นิติรักษ์ ดาวลอย (2558–ปัจจุบัน) |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | ปุ้ย |
พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2522) ชื่อเล่น ปุ้ย เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 10 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นบุตรสาวของ มาโนชญ์ วิชัยกุล[1]
ประวัติ
[แก้]พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล หรือ ส.ส.ปุ้ย[2] เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2522[3] ที่ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรสาวของนายมาโนชญ์ วิชัยกุล[4] กับนางสำรวย วิชัยกุล เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเคมีอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล สมรสกับนิติรักษ์ ดาวลอย มีบุตร 2 คน[5]
การทำงาน
[แก้]พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ประกอบธุรกิจบริษัท วอเตอร์เทสท์ จำกัด ต่อมาเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช แทนบิดาซึ่งวางมือทางการเมือง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย กระทั่งในปี 2562 เธอก็ยังคงลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และได้รับเลือกเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 และเธอยังได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ต่อมาในปี 2563 มีข่าวว่าเธอจะลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ แต่เธอก็ปฏิเสธ[6][7]
พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่ม กปปส. กระทั่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 พิมพ์ภัทราได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)[8] ต่อมาเธอลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดเดิมในพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ได้รับเลือกตั้งก่อนหน้านั้น และได้รับการเลือกตั้ง โดยเธอเป็น ส.ส. ของพรรค เพียงคนเดียวในจังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นเธอได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในคณะรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน[9]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ ไม่จริงมั้ง 5 ส.ส.แหกค่าย
- ↑ สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ หนุ่มเมืองคอนหามกระปุกยักษ์แต่งเมีย
- ↑ ‘ สส.ปุ้ย-พิมพ์ภัทรา’ได้‘ลูกสาวคนที่2’ ขอบคุณทุกกำลังใจ “อบอุ่นเหมือนเดิม”
- ↑ "พิมพ์ภัทรา" ปัด ข่าวลือลาออกจากปชป.พัลวัน ยัน ไม่เป็นความจริง
- ↑ “พิมพ์ภัทรา” ส.ส.เมืองคอน ปัดข่าวลือทิ้งปชป. ยันไม่เป็นความจริง
- ↑ 'ปุ้ย พิมพ์ภัทรา'สวมเสื้อพรรค รทสช.แล้ว
- ↑ "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
ก่อนหน้า | พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการ อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567) |
เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2522
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสิชล
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
- บุคคลจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.