พรรคไทยสร้างไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคไทยสร้างไทย
หัวหน้าคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
เลขาธิการฐากร ตัณฑสิทธิ์
บุคคลสำคัญคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
สุพันธุ์ มงคลสุธี
ศิธา ทิวารี
รองหัวหน้าพรรคสุพันธุ์ มงคลสุธี
อุดมเดช รัตนเสถียร
ประวัฒน์ อุตตะโมช
สุธา ชันแสง
อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
ต่อพงษ์ ไชยสาส์น
กุลธน ประจวบเหมาะ
ดล เหตระกูล
ธนธัช ตัณฑสิทธิ์
นพดล มังกรชัย
ธวัชชัย สุทธิบงกช
อดุลย์ นิลเปรม
อนุรัช บุนนาค
ไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์
จิรเดช วรเพียรกุล
เหรัญญิกพรรคณรงค์ รุ่งธนวงศ์
นายทะเบียนพรรคประดิษฐ์ วงศ์วิลัย
คำขวัญมาร่วมกันลงมือสร้างประเทศไทยที่ดีที่สุด
สู้เพื่อคนตัวเล็ก
ก่อตั้ง23 มีนาคม พ.ศ. 2564 (2 ปี)
ที่ทำการ54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
จำนวนสมาชิก  (ปี 2565)46,218 คน[1]
สภาผู้แทนราษฎร
6 / 500
สภากรุงเทพมหานคร
2 / 50
เว็บไซต์
thaisangthai.org
โฆษกธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไทยสร้างไทย (ย่อ: ทสท.) พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 3/2564 เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนาย สอิสร์ โบราณ และนาย วัลลภ ไชยไธสง เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก มีที่ทำการพรรคอยู่ที่ 132/2 หมู่ 16 ถนนเจนจบทิศ ตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น[2] ต่อมาได้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[3] กระทั่งวันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 9 นาฬิกา 19 นาที จึงได้ทำการยกเสาเอกเพื่อก่อสร้างที่ทำการสำนักงานใหญ่ของพรรคไทยสร้างไทย ย่านถนนเทิดราชัน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง[4][5]

พรรคไทยสร้างไทยเป็นพรรคการเมืองที่พัฒนามาจาก กลุ่มไทยสร้างไทย กลุ่มการเมืองที่มี คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์เป็นแกนนำ ได้ส่งผู้สมัครลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565[6] อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคบางส่วนได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[7][8]

ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565 พรรคไทยสร้างไทยได้เตรียมจัดประชุมใหญ่ที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญคือการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยมีกระแสข่าวว่า คุณหญิงสุดารัตน์ ซึ่งเป็นประธานพรรคจะเป็นหัวหน้าพรรค นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี จะเป็นเลขาธิการพรรค[9] ซึ่งที่ประชุมมติเลือก คุณหญิงสุดารัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นาวาอากาศตรีศิธา เป็นเลขาธิการพรรคตามกระแสข่าว[10] กระทั่งวันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้มีกระแสข่าวว่าพรรคสร้างอนาคตไทยและพรรคไทยสร้างไทย นัดแถลงข่าวเพื่อประกาศการรวมพรรคในวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565[11] การแถลงข่าวในวันนั้นมีผลสรุปคือ ทั้งสองพรรคตกลงร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองระหว่างกัน แต่ยังไม่มีการควบรวมพรรคแต่ประการใด[12] ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เป็นที่แน่ชัดว่าทั้งพรรคสร้างอนาคตไทยและพรรคไทยสร้างไทย ไม่ได้มีการควบรวมแต่อย่างใด เนื่องจากไม่สามารถตกลงรายละเอียดเงื่อนไขตามข้อเสนอที่ตกลงกันได้ [13] วันที่ 24 มกราคม 2566 พ.ต.ท กุลธน ประจวบเหมาะ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย เปิดตัวสส.เขตตะวันตก ราชบุรีกาญจนบุรี-ประจวบ-สุพรรณบุรึ ซึ่งบางส่วนย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย[14][15] ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยสร้างไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคที่ว่าง ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการกสทช. เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่แทนนาวาอากาศตรีศิธาที่ลาออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีมติเลือกนายดล เหตระกูล อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้าที่ย้ายมาสังกัดพรรคไทยสร้างไทยเป็นรองหัวหน้าพรรค

บทบาททางการเมือง[แก้]

พรรคไทยสร้างไทย เริ่มดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2564 โดยจัดกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวาน “สร้างไทย 77 จังหวัด” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564[16] รวมถึงการเปิดตัวนโยบายต่างๆ อาทิ นโยบายบำนาญประชาชน[17] กระทั่งวันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้มีรายงานข่าวว่าทางพรรคไทยสร้างไทยตัดสินใจส่งนาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมกับเปิดตัวผู้สมัคร ส.ก. ทั้ง 50 เขตในวันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565[18]

ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พรรคไทยสร้างไทยได้เปิดตัว นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี เป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้ง 50 คน[6] จากการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว พรรคไทยสร้างไทยได้ที่นั่ง ส.ก. 2 ที่นั่ง[19]

ในเดือนกรกฎาคม 2565 หลังมีข่าวสมาชิกพรรคหลายคนย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[7][8] คุณหญิงสุดารัตน์แถลงว่า ไม่เป็นปัญหา และจะเดินหน้าผลักดันร่างพระราชบัญญัติบำนาญประชาชนต่อไป[20]

ในเดือนมกราคม 2566 มีการประกาศชื่อสมาชิกเพื่อไทยบางส่วนย้ายมาพรรคไทยสร้างไทย ได้แก่ พันธ์ศักดิ์ เพชรพิทักษ์ชน อดีต สส.พรรคเสรีรวมไทย[21] ประจวบคีรีขันธ์ [22] อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต สส เพื่อไทย เขตสายไหม [23] [24][25] การุณ โหสกุล อดีต สส เพื่อไทย เขตดอนเมือง [26]

การเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2566
6 / 500
345,295 เพิ่มขึ้น 6 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยสร้างไทย
  3. ""เจ๊หน่อย" ประกาศตั้ง "พรรคไทยสร้างไทย" เปิดใจ ภารกิจสำคัญทางการเมือง". www.thairath.co.th. 2021-07-04.
  4. "'เก่ง การุณ' โผล่ร่วมพิธียกเสาเอกที่ทำการ 'ไทยสร้างไทย' ปิดปากแจงย้ายพรรค". Thaipost. 2022-04-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ""ไทยสร้างไทย"ลงหลักปักฐานสร้างอาคารที่ทำการพรรคย่านดอนเมือง". thansettakij. 2022-04-06.
  6. 6.0 6.1 "'หญิงหน่อย' เปิดตัวผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ-ส.ก. ลั่นจะสร้างประวัติศาสตร์ชนะถล่มทลายอีกครั้ง". Thaipost. 2022-03-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "'สามารถ แก้วมีชัย' ทิ้งไทยสร้างไทย กลับ 'เพื่อไทย' ลั่นไม่หนีไปไหนอีก ขอผนึกกำลังต่อสู้เผด็จการ". มติชนออนไลน์. 2021-12-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 ""เพื่อไทย" เปิดตัว "พงศกร -ประภัสร์" ร่วมดันเป้าหมายแลนด์สไลด์". Thai PBS. 2022-07-08. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. จับตาประชุมใหญ่ไทยสร้างไทย 'สุดารัตน์' นั่งหัวหน้า 'ศิธา' เลขาฯพรรค
  10. “สุดารัตน์” ผงาด นั่ง หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย “ศิธา” เป็นเลขาฯ
  11. พรรคหญิงหน่อย-พรรคสมคิด ดีลลงตัว นัดแถลงควบรวมพรรคพรุ่งนี้
  12. ไม่ถึงขั้นควบรวม สร้างอนาคตไทย-ไทยสร้างไทย จับมือทำการเมือง หาทางออกประเทศ
  13. matichon (2023-01-26). "พลิกล็อก! 'สร้างอนาคตไทย' เปิดดีล 'พลังประชารัฐ' จ่อคัมแบ๊กช่วยดูนโยบายเศรษฐกิจ". มติชนออนไลน์.
  14. "เกาะติดการเมือง เลือกตั้ง66 ก้าวไกลเตรียมเปิดนโยบายเรือธง". posttoday. 2023-01-26.
  15. ""สารวัตรต้น" โชว์ดูดเสื้อแดงประจวบฯ-ราชบุรี หนุน "ไทยสร้างไทย"". mgronline.com. 2023-01-25.
  16. "สุดคึกคัก "พรรคไทยสร้างไทย" ปล่อยขบวนคาราวาน "สร้างไทย 77จังหวัด"". มติชนออนไลน์. 2021-12-10. สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. ""วัฒนา" โต้ "นายกฯ" ยัน "คุณหญิงหน่อย" ชู "นโยบายบำนาญประชาชน" หวังตอบแทนผู้สูงอายุ มั่นใจทำได้". สยามรัฐ. 2022-01-05.
  18. "เคาะแล้ว! 'ไทยสร้างไทย' ดัน 'ศิธา ทิวารี' ชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม". Thaipost. 2022-03-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "เช็กผลเลือกตั้ง ส.ก. "เพื่อไทย" คว้า 20 ที่นั่ง". pptvhd36.com. 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. ""ไทยสร้างไทย" เมินคนไหลออก ยันไม่ใช่ปัญหา ลุยคาราวานสร้างความสุขภาคอีสานต่อเนื่อง". ผู้จัดการออนไลน์. 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
  21. "เสื้อแดงประจวบฯ ประกาศหนุน "ไทยสร้างไทย" หลังอกหักจากเพื่อไทย". เนชั่นทีวี. 2023-01-20.
  22. "เลือกตั้ง66 "เสื้อแดง"แฉยับ "เพื่อไทย"คัดผู้สมัครลงสมัครส.ส.แบบทางด่วน". เนชั่นทีวี. 2023-01-28.
  23. Thongsak (2023-01-26). "ตามคาด! อนุดิษฐ์นัดแถลงทิ้งเพื่อไทยไปซบหญิงหน่อย".
  24. "อนุดิษฐ์" โบกมือลาพรรคเพื่อไทย เสียงสั่นเครือขอบคุณ "ทักษิณ", สืบค้นเมื่อ 2023-01-28
  25. PCC, property re (2023-01-27). "อนุดิษฐ์ ปิดฉาก 16 ปี กับพรรคเพื่อไทย เครือข่ายทักษิณ". ประชาชาติธุรกิจ.
  26. "'เก่ง การุณ' กับบ้านหลังใหม่ ไทยสร้างไทย เกมเดิมพันอนาคต ส.ส." THE STANDARD. 2023-01-30.

แหล่งข้อมูล[แก้]