สุรเชษฐ์ แวอาแซ
สุรเชษฐ์ แวอาแซ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2495 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส |
พรรคการเมือง | สามัคคีธรรม (2535) ประชาธิปัตย์ (2535—2562,2564—2566) รวมพลังประชาชาติไทย (2562—2564) ประชาชาติ (2566—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นางพยุงศรี แวอาแซ |
สุรเชษฐ์ แวอาแซ (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2495) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 5 สมัย สังกัดพรรคพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
[แก้]สุรเชษฐ์ แวอาแซ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495[1] เป็นบุตรของนายแวอาแซ สุทัย กับ นางแวบีเดาะ แวและ มีพี่น้อง 7 คน[2] สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครูจันทรเกษม, ระดับอนุปริญญา จากสถาบันราชภัฏยะลา[3] และ ศิลปศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
สุรเชษฐ์ สมรสกับ นางพยุงศรี แวอาแซ มีบุตร-ธิดา 3 คน
งานการเมือง
[แก้]สุรเชษฐ์เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด และประธานสภาจังหวัด อย่างละ 2 สมัย ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 5 ครั้ง
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรครวมพลังประชาชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4] ต่อมาย้ายกลับมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2564[5] ปัจจุบันเขาสังกัดพรรคประชาชาติ และดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาชาติ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สุรเชษฐ์ แวอาแซ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนราธิวาส. รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2558
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กลับบ้านเก่าดีกว่า!‘9 รปช.’สามจังหวัดชายแดนใต้ ตบเท้าลาออก ย้ายคืนรัง ปชป.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอแว้ง
- ชาวไทยเชื้อสายมลายู
- มุสลิมชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส
- พรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรครวมพลัง
- พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.