การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 269 ที่นั่งในรัฐสภาไทย ต้องการ 135 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 47.5% ![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เป็น การเลือกตั้งครั้งที่ 12 ในประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทยครั้งหนึ่ง เนื่องจากพรรคกิจสังคม ที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค และมี ส.ส. เพียง 18 ที่นั่ง สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีจำนวน ส.ส. มากที่สุดในสภากลับกลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ที่ถูกร่างขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกด้วยที่เปลี่ยนจากการเลือกเป็นเขตจังหวัด เป็นหลายอำเภอรวมกันเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง และมีจำนวน ส.ส. ได้เขตละ 3 คน [1]
ผลการเลือกตั้ง[แก้]
การจัดตั้งรัฐบาล[แก้]
หลังเลือกตั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ ม.ร.ว.เสนีย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีโดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคเกษตรสังคม และแนวร่วมสังคมนิยม แต่ได้คะแนนเสียงสนับสุนนเพียง 103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภา (135 คน)
รัฐธรรมนูญสมัยนั้น กำหนดว่า การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อถึงวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภา วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฏว่า รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 111 เสียง ถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจาก สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร ม.ร.ว.เสนีย์ และพรรคประชาธิปัตย์ จึงแสดงความรับผิดชอบ โดยการลาออก และสละสิทธิ์การตั้งรัฐบาล
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมี ส.ส.ในสภาเพียง 18 เสียง สามารถรวบรวม ส.ส.พรรคต่าง ๆ รวม 8 พรรค ได้ 135 เสียง เท่ากับครึ่งหนึ่งพอดี จัดตั้งรัฐบาลโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีเสียงมากที่สุด 74 เสียง กลายเป็นฝ่ายค้าน
แต่ความเป็นรัฐบาลต้องเผชิญกับแรงกดดันต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเสถียรภาพรัฐบาล ที่มีจำนวน ส.ส.ในสภาแบบก้ำกึ่ง ในที่สุด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ต้องตัดสินใจยุบสภา เนื่องจาก ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลหันไปเข้าร่วมกับฝ่ายค้าน เสนอญัตติขอร่วมเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล รวมเวลาที่บริหารประเทศได้ประมาณ 1 ปี 1 เดือน
หลังจากยุบสภามีการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่คือ การเลือกตั้ง วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519[3] [4] [5]
ดูเพิ่ม[แก้]
เชิงอรรถ[แก้]
- ↑ เป็นคนละพรรคกับ พรรคแผ่นดินไทย ที่ถูกยุบพรรคในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
- ↑ เป็นคนละพรรคกับ พรรคพลังประชาชน ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 22 04 58". ยูทิวบ์. 22 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนพิเศษที่ 193ง วันที่ 18 กันยายน 2518
- ↑ คึกฤทธิ์ เป็นนายกฯ แทนพี่ชาย, หน้า 149. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ Nohlen, D, Grotz, F & Hartmann, C (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p284 ISBN 0-19-924959-8
- ↑ Sangchai, Somporn (1979), "Some Observations on the Elections and Coalition Formation in Thailand, 1976", Modern Thai Politics (Transaction Publishers): p. 378, http://books.google.com/books?id=Gqk9_jozvRcC&pg=PA378&lpg=PA378&dq=social+action+party+thailand+centre+left&source=bl&ots=N7zKxXAlDd&sig=OieZDawsUM1CyukQwM6m3fBn8nU&hl=en&sa=X&ei=JbUhT_HfFcyxhAfxsOn5BA&redir_esc=y#v=onepage&q=social%20action%20party%20thailand%20centre%20left&f=false