จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล
จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2509 จังหวัดนครราชสีมา |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2554–2564) เพื่อไทรวมพลัง (2564–ปัจจุบัน) |
จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดินจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และเป็นอดีตนายกเทศมนตรีตำบลเสิงสาง
ประวัติ[แก้]
จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล (สกุลเดิม จิตรพิทักษ์เลิศ) เกิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2509 มีพี่น้องเป็นนักการเมืองคือ ว่าที่ ร.ต.วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ เลขาธิการพรรคเพื่อไทรวมพลัง มนัสมนต์ จิตรพิทักษ์เลิศ และ ยลดา หวังศุภกิจโกศล[1]
จิตรวรรณ สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เธอสมรสกับสมศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา
การทำงาน[แก้]
จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล เคยได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปี พ.ศ. 2550 จากนั้นจึงได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ โดยได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาสมัยแรก ในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน พร้อมกับ ประนอม โพธิ์คำ
ในปี พ.ศ. 2564 เธอได้เริ่มก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "พรรคเพื่อไทรวมพลัง"[2] โดยมีพี่ชาย และหลานชายเป็นเลขาธิการพรรค และหัวหน้าพรรค จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทรวมพลัง ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2 ที่นั่ง ท่ามกลางการกล่าวถึงพรรคดังกล่าวว่าเป็นม้ามืดในการเลือกตั้งครั้งนี้[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เปิดตัวหลานเมีย "วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล" นำพรรคใหม่ นอมินีสีน้ำเงิน
- ↑ พลิกปูม “กำนันป้อ” วางมือ “ค่ายสีน้ำเงิน” จ่อซบ “พลังป้อม”
- ↑ พรรคเพื่อไทรวมพลัง มาจากไหน? ม้ามืดคว้า 2 ที่นั่ง ส.ส.อุบลราชธานี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒