กระทรวงในประเทศไทย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความว่าด้วย |
การเมืองไทย |
---|
สถานีย่อยประเทศไทย |
กระทรวงในประเทศไทย เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย จัดตั้งขึ้นโดยการตราพระราชบัญญัติ ปัจจุบันมีกระทรวงหรือเทียบเท่าจำนวนทั้งสิ้น 20 กระทรวง
ประวัติ
การบริหารแผ่นดินในต้นรัตนโกสินทร์นั้น คงดำเนินตามแบบที่ได้ทำมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผิดแต่ว่ามีกรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่หลักของการบริหารนั้น คงมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม ว่าการฝ่ายทหาร สมุหนายก ว่าการพลเรือน ซึ่งแบ่งออกเป็นกรมเมืองหรือกรมนครบาล กรมวัง กรมคลัง และกรมนา
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2416 นั้น เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จต่างประเทศดูแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรป นำมาใช้ในสิงคโปร์ ชวา และอินเดียแล้ว ทรงพระราชปรารภว่า สมควรจะได้วางระเบียบราชการ บริหารส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ โดยจัดจำแนกราชการเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่เป็นหมวดเหล่า ไม่ก้าวก่ายกัน ดังนั้นใน พ.ศ. 2418 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกระทรวงพระคลังออกจากกรมท่า หรือต่างประเทศ และตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ทำหน้าที่เก็บรายได้ของแผ่นดินทุกแผนกขึ้นเป็นครั้งแรก
ต่อจากนั้น ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพอเหมาะสม กระทรวงซึ่งมีอยู่ในตอนแรก ๆ เมื่อเริ่มเถลิงราชสมบัตินั้นเพียง 6 กระทรวง[ต้องการอ้างอิง] คือ
- กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
- กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ และการทหารบก ทหารเรือ
- กระทรวงนครบาล มีหน้าที่บังคับบัญชาการรักษาพระนคร คือปกครองมณฑลกรุงเทพฯ
- กระทรวงวัง มีหน้าที่บังคับบัญชาการในพระบรมมหาราชวัง
- กระทรวงการคลัง มีหน้าที่จัดการอันเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และการพระคลัง
- กระทรวงเกษตรพานิชการ มีหน้าที่จัดการไร่นา
เพื่อให้เหมาะสมกับสมัย จึงได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกระทรวงบางกระทรวง และเพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง คือ
- กระทรวงการต่างประเทศ แบ่งหน้าที่มาจากกระทรวงการคลังเก่า มีหน้าที่ตั้งราชทูตไปประจำสำนักต่างประเทศ เนื่องจากเวลานั้นชาวยุโรปได้ตั้งกงสุลเข้ามาประจำอยู่ในกรุงเทพฯ บ้างแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นเสนาบดีกระทรวงนี้เป็นพระองค์แรก และใช้พระราชวังสราญรมย์เป็นสำนักงาน เริ่มระเบียบร่างเขียนและเก็บจดหมายราชการ ตลอดจนมีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยมาทำงานตามเวลา ซึ่งนับเป็นแบบแผนให้กระทรวงอื่น ๆ ทำตามต่อมา
- กระทรวงยุติธรรม แต่ก่อนการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ได้รวมอยู่ในกรมเดียวกัน และไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน เป็นเหตุให้วิธีพิจารณาพิพากษาไม่เหมือนกัน ต่างกระทรวงต่างตัดสิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมผู้พิพากษา ตั้งเป็นกระทรวงยุติธรรมขึ้น
- กระทรวงโยธาธิการ รวบรวมการโยธาจากกระทรวงต่าง ๆ มาไว้ที่เดียวกัน และให้กรมไปรษณีย์โทรเลข และกรมรถไฟรวมอยู่ในกระทรวงนี้ด้วย
- กระทรวงศึกษาธิการ แยกกรมธรรมการและสังฆการีจากกระทรวงมหาดไทย เอามารวมกับกรมศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการมีหน้าที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝึกหัดบุคคลให้เป็นครู สอนวิชาตามวิธีของชาวยุโรป เรียบเรียงตำราเรียน และตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วราชอาณาจักร
ทั้งนี้ได้ทรงเริ่มจัดการตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2431 จัดให้มีเสนาบดีสภา มีสมาชิกเป็นหัวหน้ากระทรวง 10 นาย และหัวหน้ากรมยุทธนาธิการ กับกรมราชเลขาธิการ ซึ่งมีฐานะเท่ากระทรวงก็ได้เข้านั่งในสภาด้วย รวมเป็น 12 นาย พระองค์ทรงเป็นประธานมา 3 ปีเศษ
แต่เดิมเสนาบดีมีฐานะต่าง ๆ กัน แบ่งเป็น 3 คือ เสนาบดีมหาดไทยกับกลาโหมมีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี เสนาบดีนครบาล พระคลัง และเกษตราธิการ มีฐานะเป็นจตุสดมภ์ เสนาบดีการต่างประเทศ ยุติธรรม ธรรมการและโยธาธิการ เรียกกันว่า เสนาบดีตำแหน่งใหม่ ครั้นเมื่อมีประกาศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 จึงเรียกเสนาบดีเหมือนกันหมด ไม่เรียกอัครเสนาบดี
รายชื่อกระทรวงในปัจจุบัน
-
กระทรวงการคลัง (วายุภักษ์)
-
กระทรวงการต่างประเทศ (บัวแก้ว)
-
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พระประชาบดี)
-
กระทรวงคมนาคม (พระรามทรงรถ)
-
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พระพุธ)
-
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รูปโล่ตามมุทราศาสตร์)
-
กระทรวงพลังงาน (โลกุตระ)
-
กระทรวงพาณิชย์ (พระวิศนุกรรม)
-
กระทรวงมหาดไทย (ราชสีห์)
-
กระทรวงยุติธรรม (ดุลพาห)
-
กระทรวงสาธารณสุข (คทางูไขว้)
-
กระทรวงอุตสาหกรรม (นารายณ์เกษียรสมุทร)
สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี (นร) มีฐานะเป็นกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
- (๔) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- (๕) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- (๖) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- (๗) สำนักงบประมาณ
- (๘) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- (๙) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- (๑๐) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- (๑๑) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- (๑๒) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- (๑๓) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- (๑๔) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
- (๑๕) สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความ สามัคคีปรองดอง
- (๑๖) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
กระทรวงกลาโหม
กระทรวงกลาโหม (กห) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กองทัพไทย
- (๓.๑) กองบัญชาการกองทัพไทย
- (๓.๒) กองทัพบก
- (๓.๓) กองทัพเรือ
- (๓.๔) กองทัพอากาศ
- (๓.๕) ส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลัง (กค) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและ หลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมธนารักษ์
- (๔) กรมบัญชีกลาง
- (๕) กรมศุลกากร
- (๖) กรมสรรพสามิต
- (๗) กรมสรรพากร
- (๘) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- (๙) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
- (๑๐) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ (กต) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศหรือส่วน ราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมการกงสุล
- (๔) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
- (๕) กรมพิธีการทูต
- (๖) กรมยุโรป
- (๗) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
- (๘) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
- (๙) กรมสารนิเทศ
- (๑๐) กรมองค์การระหว่างประเทศ
- (๑๑) กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
- (๑๒) กรมอาเซียน
- (๑๓) กรมเอเชียตะวันออก
- (๑๔) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมพลศึกษา (ชื่อเดิม สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ)
- (๔) กรมการท่องเที่ยว (ชื่อเดิม สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัว และชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมกิจการเด็กและเยาวชน
- (๔) กรมกิจการผู้สูงอายุ
- (๕) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
- (๖) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- (๗) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและ นวัตกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- (๔) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
- (๕) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
- (๖) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่ กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมการข้าว
- (๔) กรมชลประทาน
- (๕) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- (๖) กรมประมง
- (๗) กรมปศุสัตว์
- (๘) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
- (๙) กรมพัฒนาที่ดิน
- (๑๐) กรมวิชาการเกษตร
- (๑๑) กรมส่งเสริมการเกษตร
- (๑๑) กรมส่งเสริมสหกรณ์
- (๑๒) กรมหม่อนไหม
- (๑๓) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- (๑๔) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
- (๑๕) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระทรวงคมนาคม
กระทรวงคมนาคม (คค) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมเจ้าท่า (ชื่อเดิม กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี)
- (๔) กรมการขนส่งทางบก
- (๕) กรมการขนส่งทางราง
- (๖) กรมท่าอากาศยาน
- (๗) กรมทางหลวง
- (๘) กรมทางหลวงชนบท
- (๙) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมอุตุนิยมวิทยา
- (๔) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- (๕) สำนักงานสถิติแห่งชาติ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวน อนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมควบคุมมลพิษ
- (๔) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- (๕) กรมทรัพยากรธรณี
- (๖) กรมทรัพยากรน้ำ
- (๗) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- (๘) กรมป่าไม้
- (๙) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
- (๑๐) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- (๑๑) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน
กระทรวงพลังงาน (พน) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
- (๔) กรมธุรกิจพลังงาน
- (๕) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
- (๖) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์ (พณ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมการค้าต่างประเทศ
- (๔) กรมการค้าภายใน
- (๕) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- (๖) กรมทรัพย์สินทางปัญญา
- (๗) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- (๘) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ชื่อเดิม กรมส่งเสริมการส่งออก)
- (๙) สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย (มท) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมการปกครอง
- (๔) กรมการพัฒนาชุมชน
- (๕) กรมที่ดิน
- (๖) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- (๗) กรมโยธาธิการและผังเมือง
- (๘) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม (ยธ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมคุมประพฤติ
- (๔) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
- (๕) กรมบังคับคดี
- (๖) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
- (๗) กรมราชทัณฑ์
- (๘) กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- (๙) สำนักงานกิจการยุติธรรม
- (๑๐) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
กระทรวงแรงงาน
กระทรวงแรงงาน (รง) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครอง แรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมการจัดหางาน
- (๔) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- (๕) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- (๖) สำนักงานประกันสังคม
กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมการศาสนา
- (๔) กรมศิลปากร
- (๕) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- (๖) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับ ดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ กำหนดนโยบาย แผน และ มาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัด การศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือ ส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมส่งเสริมการเรียนรู้
- (๔) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- (๕) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- (๗) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข (สธ) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัด กระทรวงสาธารณสุข
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมการแพทย์
- (๔) กรมควบคุมโรค
- (๕) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (ชื่อเดิม กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก)
- (๖) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- (๗) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- (๘) กรมสุขภาพจิต
- (๙) กรมอนามัย
- (๑๐) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
- (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
- (๓) กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- (๔) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- (๕) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
- (๖) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
- (๗) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- (๘) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวง มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
- (๑) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาศาสนสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์และอำนาจ หน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
- (๒) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่ กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
- (๓) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และ เผยแพร่ทางวิชาการ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
- (๔) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
- (๕) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการ ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
- (๖) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่ กำหนดไว้ในกฎหมาย
รายชื่อกระทรวงของไทย
พ.ศ. 2476–2484
มีจำนวน 9 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) [1]
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงธรรมการ
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงยุตติธรรม
- กระทรวงวัง
- กระทรวงเศรษฐการ (กระทรวงพาณิชย์)
พ.ศ. 2484–2495
มีจำนวน 10 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) [2]
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงยุตติธรรม
- กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2495–2496
มีจำนวน 14 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) [3]
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงการสหกรณ์
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงเศรษฐการ
- กระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2496–2506
มีจำนวน 14 กระทรวง ได้แก่[4]
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงเศรษฐการ
- กระทรวงสหกรณ์
- กระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2506–2534
ในปี พ.ศ. 2506 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2506 ดังนี้[5]
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงเศรษฐการ
- กระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2534–2545
ในช่วงที่นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ในมาตรา 4 ได้กำหนดให้มีกระทรวง ทบวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงดังต่อไปนี้[6]
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2535[7]
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงอุตสาหกรรม
- ทบวงมหาวิทยาลัย
- กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จัดตั้งขึ้นเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2536[8]
พ.ศ. 2545–2562
ในช่วงที่ ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยกำหนดในมาตรา 5 ให้มีกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ดังต่อไปนี้[9]
พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน
ในช่วงที่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เข้าด้วยกันและจัดตั้งเป็นกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[11]
|
อ้างอิง
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2011-08-23.
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-04. สืบค้นเมื่อ 2011-08-23.
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2496
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ. 2506
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 (ยุบสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และจัดตั้ง กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ขึ้นแทน เปลี่ยนชื่อ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม)
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2536
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
- ↑ พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 เก็บถาวร 2016-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 80 ก หน้า 1 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ราชกิจจาฯ ประกาศ กม. 9 ฉบับ ตั้ง “กระทรวงการอุดมศึกษา” เริ่ม 2 พ.ค.
ดูเพิ่ม
วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติตราสัญลักษณ์กระทรวงต่าง ๆ โดย พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)
แหล่งข้อมูลอื่น
- ไทยก็อฟดอตเน็ต เก็บถาวร 2006-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฐานข้อมูลกระทรวงในประเทศไทย เก็บถาวร 2006-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน