สมัย เจริญช่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัย เจริญช่าง
สมัย ใน พ.ศ. 2553
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มกราคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2528—2562)
กล้า (2563—2565)
สร้างอนาคตไทย (2565—2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566—ปัจจุบัน)

สมัย เจริญช่าง เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์หลายสมัย และอดีตประธานคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ในปี พ.ศ. 2538

ประวัติ[แก้]

นายสมัย เจริญช่าง เกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา จากวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา และปริญญาโทพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การทำงาน[แก้]

งานการเมือง[แก้]

นายสมัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เป็นสมัยแรก ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องพ้นจากตำแหน่งในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 จากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เป็นสมัยที่ 3

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายสมัย ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ จากพรรคเพื่อไทย[1] และในการเลือกตั้งปี 2562 นายสมัยไม่ได้ลงเลือกตั้งเนื่องจากประกาศลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากอยู่กับพรรคมายาวนานถึง 34 ปี เนื่องจากไม่พอใจการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.ในเขตกรุงเทพมหานคร[2] ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคกล้า ของกรณี จาติกวณิช โดยรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการจริยธรรมพรรค[3]

งานด้านศาสนา[แก้]

นายสมัย เจริญช่าง เป็นนักวิชาการด้านศาสนาอิสลาม และได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย[4] และในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนในสภาการศึกษา[5] นอกจากนี้ ยังดำรงตำแหน่งทางสังคมอีกหลายตำแหน่ง เช่น หัวหน้าคณะผู้ประสานงานมัสยิดในกรุงเทพมหานคร [6] กรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร [7] และนายกสมาคมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสุวินทวงศ์ [8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พท.265ปชป.159 ปาร์ตี้ลิสต์กทม. มาร์คชนะ7หมื่น สรุปใช้สิทธิ์75% บัตรเสีย3.7ล้าน[ลิงก์เสีย]
  2. เปิดใจ"สมัย เจริญช่าง "ทิ้ง ปชป.เหตุส่งน้องสาวสุรินทร์ แทนลูกชายวิรัตน์
  3. "พรรคกล้า" เปิดศูนย์สู้โควิดช่วยชาวกทม. ย้ำโครงการ "กล้าสู้โควิด-กล้าเติมอิ่ม-กล้าหางาน" ลงพื้นที่ต่อเนื่อง
  4. "รายชื่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-16. สืบค้นเมื่อ 2012-06-08.
  5. กอท. มีมติเอกฉันท์ส่งสมัย เจริญช่าง เป็นตัวแทนนั่งในสภาการศึกษา[ลิงก์เสีย]
  6. Admin, Islamic Bkk. "นายสมัย เจริญช่าง หัวหน้าคณะผู้ประสานงานมัสยิดในกรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 2 จำนวน 18 มัสยิด | สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร (สนง.กอ.กทม.)".
  7. สถาบันกษัตริย์: กก. อิสลาม กรุงเทพฯ บอก "เลือกข้างประเทศไทย" หลังถูกวิจารณ์ "เลือกข้างการเมือง" - BBC News ไทย
  8. "นายสมัย เจริญช่าง ตำแหน่งนายกสมาคม". www.tusw.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]