พยม พรหมเพชร
พยม พรหมเพชร ท.ช. ,ท.ม. | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 |
พรรค | รวมไทยสร้างชาติ |
คู่สมรส | นางถนอมพร พรหมเพชร |
นายพยม พรหมเพชร (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ[1] ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 1 สมัย
ประวัติ[แก้]
พยม พรหมเพชร เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายพ่วง และ นางเคียง พรหมเพชร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [2] สมรสกับนางถนอมพร พรหมเพชร มีบุตร-ธิดา 2 คน
งานการเมือง[แก้]
พยม เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสงขลา[3] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยสามารถเอาชนะนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส. 4 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปได้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
พยม พรหมเพชร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/D/005/T_0016.PDF
- ↑ นายพยม พรหมเพชร
- ↑ ตรวจแถวพลังประชารัฐสงขลา หลังมีรายชื่อผู้สมัครสส.โผล่ทั่วภาคใต้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓