พรรคเสรีรวมไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคเสรีรวมไทย
หัวหน้าเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
รองหัวหน้า
เลขาธิการมังกร ยนต์ตระกูล
รองเลขาธิการวิทยา พิพัฒน์บัณฑิต
เหรัญญิกสมชาย เลี้ยงสว่าง
นายทะเบียนสมาชิกพล.ต.ต.เกษม สังขพันธ์
โฆษกเกศศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์
กรรมการบริหาร
  • เภาพงา สุทธิมณฑล
  • บรรณสรณ์ ผาแดง
  • นิพันธ์ เทียมหงษ์
  • สมหมาย บุญเฮง
  • พันตำรวจเอกภัทรพล เล่าเปี่ยม
คำขวัญรวมพลัง สร้างชาติ
ก่อตั้ง29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (10 ปี)
ที่ทำการ164/65 ซอยบางขุนนนท์ 24 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)46,919 คน[1]
อุดมการณ์พิพัฒนาการนิยม[2]
เสรีนิยม[3]
ต่อต้านคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[4]
จุดยืนกลาง ถึง กลางขวา
สภาผู้แทนราษฎร
1 / 500
เว็บไซต์
sereeruamthai.or.th
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเสรีรวมไทย (อังกฤษ: Thai Liberal Party; ชื่อย่อ: สร., TLP) พรรคการเมืองของไทยที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556[5] เป็นลำดับที่ 13/2556 โดยมีนายไพบูลย์ พึ่งทองหล่อ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก

ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556[6] คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกได้ขอลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะทางพรรคจึงเตรียมการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคโดยได้เชิญ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาเป็นว่าที่หัวหน้าพรรค

โดยทางพรรคเสรีรวมไทยได้มีกำหนดจัดประชุมใหญ่ของพรรคครั้งแรก ในวันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ เวสต์เกต ฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[7] ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนายวัชรา ณ วังขนาย เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่

จากนั้นในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565 ระหว่างการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 1/2565 ที่ประชุมมีมติปลด นางธนภร โสมทองแดง ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากกระทำการยักยอกทรัพย์[8]

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรค ในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่กรรมการลาออก ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายวิรัตน์ วรศสิริน เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ ต่อมานายวิรัตน์ได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค ทำให้พรรคได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 2 ตำแหน่งคือ รองหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายวิรัตน์ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และเลือกนายมังกร ยนต์ตระกูล ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2 ให้เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[9]

คณะกรรมการบริหารพรรค[แก้]

คณะกรรมการบริหารพรรค พ.ศ. 2566
ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง หมายเหตุ
1. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรค
2. นายวิรัตน์ วรศสิริน รองหัวหน้าพรรค
3. นายนิมิต จันทน์วิมล รองหัวหน้าพรรค
4. พล.ต.ท. วิศณุ ม่วงแพรสี รองหัวหน้าพรรค
5. น.ส.นภาพร เพ็ชร์จินดา รองหัวหน้าพรรค
6. นายเพชร เอกกำลังกุล รองหัวหน้าพรรค
7. นายมังกร ยนต์ตระกูล เลขาธิการพรรค
8. นายวิทยา พิพัฒน์บัณฑิต รองเลขาธิการพรรค
9. พล.ต.ต. เกษม สังขพันธ์ นายทะเบียนสมาชิกพรรค
10. นายสมชาย เลี้ยงสว่าง เหรัญญิกพรรค
11. น.ส.เกศศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ โฆษกพรรค
12. นางเภาพงา สุทธิมณฑล กรรมการบริหารพรรค
13. นางปิยะศิริ นาโคศิริ กรรมการบริหารพรรค
14. นายบรรณสรณ์ ผาแดง กรรมการบริหารพรรค
15. นายนิพันธ์ เทียมหงษ์ กรรมการบริหารพรรค
16. นายสมหมาย บุญเฮง กรรมการบริหารพรรค
17. พ.ต.อ. ภัทรพล เล่าเปี่ยม กรรมการบริหารพรรค

ผู้บริหารพรรค[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

  1. ไพบูลย์ พึ่งทองหล่อ (29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
  2. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)

เลขาธิการพรรค[แก้]

  1. สุวิทย์ กิตติธรานนท์ (29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
  2. วัชรา ณ วังขนาย (24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
  3. วิรัตน์ วรศสิริน (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566)
  4. มังกร ยนต์ตระกูล (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)

การเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2562
10 / 500
824,284 2.32% เพิ่มขึ้น 10 ฝ่ายค้าน เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
2566
1 / 500
347,878 ลดลง 9 ร่วมรัฐบาล

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
  2. Nidhi Eoseewong (2018-05-08). "Nidhi Eoseewong: An open letter to Pheu Thai". prachatai.
  3. "อุดมการณ์ข้อมูลพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  4. Kaweewit Kaewjinda (2019-03-27). "Thai anti-military parties say they have seats to form govt". AP.
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคเสรีรวมไทย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอน 112 ง หน้า 48 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเสรีรวมไทย (จำนวน 9 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 20 ง หน้า 63 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
  7. "'พรรคเสรีรวมไทย'ประชุม24ต.ค. ฟุ้งกวาดเก้าอี้ส.ส.80ที่นั่ง". dailynews. 2018-10-12.
  8. ""เสรีรวมไทย" ปลด "ธนภร" จาก "รองหัวหน้าพรรค" พร้อมแจ้งความยักยอกทรัพย์". bangkokbiznews. 2022-04-23.
  9. เสรีรวมไทยเลือก ‘มังกร ยนต์ตระกูล’ เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ เสรีพิศุทธ์มองเสนอชื่อพิธาโหวตเป็นนายกฯ กี่ครั้งก็ได้

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]