วิชัย ล้ำสุทธิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิชัย ล้ำสุทธิ
เลขาธิการพรรคไทยภักดี
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ถัดไปพลตำรวจโท ชาญเทพ เสสะเวช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2549—2562)
พลังประชารัฐ (2562–2564)
ไทยภักดี (2564–2565)
เพื่อไทย (2565–ปัจจุบัน)

วิชัย ล้ำสุทธิ เป็นนักการเมืองชาวจังหวัดระยอง เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 และอดีตเลขาธิการพรรคไทยภักดี

ประวัติ[แก้]

วิชัย ล้ำสุทธิ เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพฯ และปริญญาตรี นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

การทำงาน[แก้]

วิชัย ล้ำสุทธิ เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 1 คู่กับ สาธิต ปิตุเตชะ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก

ต่อมาในปี 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ 4 อำเภอเมืองระยอง (เฉพาะเทศบาลเมืองมาบตาพุด, เทศบาลตำบลทับมา, และเทศบาลตำบลเนินพระ) อำเภอนิคมพัฒนา (เฉพาะเทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา และเทศบาลตำบลมาบข่า) และอำเภอบ้านฉาง และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24[1]

ก่อนการเลือกตั้งมีข่าวว่าเขาจะย้ายไปร่วมงานกับกลุ่มสามมิตร แต่เจ้าตัวปฏิเสธ [2] กระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาถูกจัดให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 57 ส่งผลให้เขาไม่พอใจเป็นอย่างมากและตัดสินใจยื่นหนังสือลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ โดยวิชัย เป็นสมาชิกในกลุ่มที่สนับสนุน วรงค์ เดชกิจวิกรม ในการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีขึ้นก่อนการเลือกตั้ง[3][4] ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับกลุ่มสามมิตร พรรคพลังประชารัฐ และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)[5]

ในปี 2564 ร่วมกับ วรงค์ เดชกิจวิกรม ยื่นจดทะเบียนพรรคไทยภักดี[6] และเขาเป็นเลขาธิการพรรค[7][8] แต่ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งและสมาชิกพรรค ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน[9]

ในปี 2566 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[10] แต่ในระยะแรกเขาถูกกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้สนับสนนพรรคเพื่อไทยบางส่วน[11] จนเขาต้องออกมาแถลงขอโทษทักษิณ ชินวัตร และขอพิสูจน์ตัวเอง[12] ในที่สุดเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ชลบุรี ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ร้องรัฐเบี้ยวจ่ายเงินจำนำมันสำปะหลัง
  2. อดีตส.ส.ปชป.รับไปกินข้าวกับ'สุริยะ-สมศักดิ์'แต่ยืนยันไม่ย้ายพรรค
  3. 'วิชัย ล้ำสุทธิ' ขอลาออกจากพรรคปชป. หลังไม่ได้ลงส.ส.เขต
  4. เปิดใจ วิชัย อดีต ส.ส.ระยอง ปชป. "ถูกฆ่าทางการเมือง"หลังเปิดตัวหนุนหมอวรงค์ เป็นหัวหน้าพรรค
  5. พยัคฆ์อีอีซี สายตรงป่ารอยต่อ
  6. ยื่นตั้งแล้ว"พรรคไทยภักดีประเทศไทย"
  7. ใครเป็นใคร? 6 กรรมการฯ “ไทยภักดี” ส่องฐานทุน-คอนเนคชั่น “สามมิตร”
  8. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยภักดี
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไทยภักดี
  10. วิชัย-ขจรศักดิ์ เปิดใจสาเหตุย้ายขั้วเข้าเพื่อไทย ขอโทษคนเสื้อแดง-อดีตนายกฯ
  11. สามนิ้วรับไม่ได้!!! 'ไมค์ ระยอง'ร่อนหนังสือถึง พท.จี้ทบทวนส่ง'วิชัย'อดีต กปปส.ลงส.ส.
  12. "วิชัย - ขจรศักดิ์" ตาสว่างแถลงขอโทษ "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" ที่เคยล่วงเกิน พร้อมพิสูจน์ตัวเองเดินหน้าสู่แลนด์สไลด์
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓