รัชนี พลซื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัชนี พลซื่อ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ก่อนหน้านิรมิต สุจารี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 เมษายน พ.ศ. 2509 (57 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ
คู่สมรสเอกภาพ พลซื่อ

รัชนี พลซื่อ (เกิด 27 เมษายน พ.ศ. 2509) เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3 อดีตนายกองค์การบริหารส่วจังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นภรรยาของ เอกภาพ พลซื่อ ข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นักการเมืองชาวจังหวัดร้อยเอ็ด[1]

ประวัติ[แก้]

รัชนี พลซื่อ เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชีวิตครอบครัวสมรสกับเอกภาพ พลซื่อ นักการเมืองชาวจังหวัดร้อยเอ็ด

งานการเมือง[แก้]

รัชนี พลซื่อ เริ่มทำงานการเมืองในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547ซึ่งเป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยตรงครั้งแรกในประเทศไทย และเธอได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น ต่อมาในปี 2551 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่แพ้ให้กับมังกร ยนต์ตระกูล

ต่อมาในปี 2552 ได้จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อมแทน นพดล พลซื่อ ซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี เธอจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดสมัยแรก หลังจากนั้นเธอได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[2] แต่ในปี 2554 เธอย้ายไปลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ก็แพ้ให้กับนิรมิต สุจารี จากพรรคเพื่อไทย ต่อมาในปี 2555 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่นจังหวัดร้อยเอ็ดอีกครั้ง แต่ก็แพ้ให้กับมังกร ยนต์ตระกูล คู่แข่งคนเดิม ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้น เอกภาพ พลซื่อ ได้นำมากล่าวในการหาเสียงว่า "เกิดไฟดับ 2 ชั่วโมง ทำให้คะแนนของนางรัชนี พลซื่อ ภรรยา ซึ่งเป็นผู้สมัครนายก อบจ.ขณะนั้นหาย และพลาดเป็นนายก อบจ. ปี 55" ทำให้เอกภาพถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง[3]

จากนั้นในปี 2562 เธอย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 แต่แพ้ให้กับฉลาด ขามช่วง จากพรรคเพื่อไทยเช่นเดียวกัน ภายหลังเธอจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 5 สิงหาคม 2565 นายเอกภาพพลซื่อถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จากกรณีใส่ร้ายนายมังกรยนต์ตระกูลในการเลือกตั้ง 2563 จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ 25 กันยายน 2565 เธอลงสมัครแทนนายเอกภาพโดยใช้โลแกนสงสารเอกภาพเลือกรัชนีแค่พ่ายแพ้ให้ นายเศกสิทธิ์ ไวยนิยมพงษ์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยเธอได้คะแนนมาเป็นลำดับ 3 แค่แสนกว่าคะแนน[4]

ในปี 2566 รัชนี พลซื่อ ได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

รัชนี พลซื่อ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2552 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “เอกภาพ” ประกาศ ไม่ยอมแพ้ เตรียมส่งเมีย “รัชนี พลซื่อ” ลงสานงานต่อตามนโยบาย เพื่อคนร้อยเอ็ด
  2. “พลซื่อ”หนีสอบตกที่ร้อยเอ็ด หักเหลี่ยม“เนวิน”นาทีสุดท้าย
  3. อ่วม! กกต.ฟันซ้ำ เอกภาพ พลซื่อ ปราศรัยใส่ร้าย ยื่นเพิกถอนสิทธิ์-ฟ้องคดีอาญา
  4. ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒