ข้ามไปเนื้อหา

กวินนาถ ตาคีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กวินนาถ ตาคีย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต 7
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์
ถัดไปยอดชาย พึ่งพร
คะแนนเสียง31,247 (35.94%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 เมษายน พ.ศ. 2534 (33 ปี)
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
อนาคตใหม่ (2561–2562)
พลังท้องถิ่นไท (2562–2566)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีปทุม
ชื่อเล่นนู้ด

กวินนาถ ตาคีย์ (เกิด 28 เมษายน พ.ศ. 2534) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท[1] ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ประวัติ

[แก้]

กวินนาถ เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2534 เป็นบุตรของนายวรศักดิ์ อาดัม และนางสาวนวพรรณ ตาคีย์[2] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม[3]

การทำงาน

[แก้]

กวินนาถ เคยประกอบอาชีพทนายความมาก่อน โดยปี 2558 เป็นเสมียนทนายความ บริษัท เอส.เอส อินเตอร์ลอว์ จำกัด ต่อมาในปี 2559 เธอได้เป็นทนายความของบริษัท จากนั้นในปี 2560 เธอได้เป็นทนายความ บริษัท ลีกัล สเตทแอนด์คอนซัลแตนท์ จำกัด ส่วนปี 2561-2562 เป็นทนายความ บริษัท จาสติก้า ลอว์ แอนด์ บิสซิเนส จำกัด[4]

งานการเมือง

[แก้]

กวินนาถ เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต 7 ในนามพรรคอนาคตใหม่ โดยได้คะแนน 31,247 คะแนน ชนะนายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้คะแนนไปเพียง 28,001 คะแนน และเป็น 1 ใน 4 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่สังกัดพรรคอนาคตใหม่

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

กวินนาถ ตาคีย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคพลังท้องถิ่นไท

การโหวตสวนทางกับมติของพรรค

[แก้]

ในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 10 การพิจารณาให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศและคำสั่งของ คสช. และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ต่อจากการประชุมครั้งที่ 9 กวินนาถได้ร่วมอยู่เป็นองค์ประชุมให้รัฐบาล สวนทางกับมติของพรรคที่ประท้วงด้วยการเดินออก (วอล์ค-เอาต์)

ต่อมาในวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคอนาคตใหม่ มีมติขับกวินนาถพ้นจากสมาชิกภาพพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากกวินนาถได้เคยสวนทางกับมติของพรรค[5] โดยมีคะแนนเสียง 250 ต่อ 5 ซึ่งเป็นมติเอกฉันท์ในการขับออกจากสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งปัจจุบันหลังจากถูกขับไล่ออกจากพรรคอนาคตใหม่ก็ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 7 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-10-12.
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวกวินนาถ ตาคีย์[ลิงก์เสีย]
  3. ประวัตินางสาวกวินนาถ ตาคีย์, ระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2562)
  4. ปูมหลังชีวิต “กวินนาถ” เผยเหตุผลโหวตสวน โดนตราหน้าทรยศ ถูกแฉยับช่วงหาเสียง
  5. ด่วน! อนาคตใหม่ ไม่เก็บไว้ ขับ 4 ส.ส.งูเห่าพ้นพรรค หลังโหวตสวนซ้ำซาก
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔