เจือ ราชสีห์
เจือ ราชสีห์ | |
---|---|
เจือ ในปี พ.ศ. 2552 | |
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2501 จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2544—2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สมผิว ราชสีห์ |
เจือ ราชสีห์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) [1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ประจำนายถาวร เสนเนียม)[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานกรรมาธิการคมนาคม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24[3]ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[4]
ประวัติ
[แก้]เจือ ราชสีห์ เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ที่ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เจือ ราชสีห์ สมรสกับนางสมผิว ราชสีห์
การทำงาน
[แก้]เจือ ราชสีห์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เจือ ราชสีห์ ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม ในสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 29 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ในปี 2565 เขาจะได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งนำโดย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค[6] แต่หลังจากนั้นไม่นานเมื่อนราพัฒน์ แก้วทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้เจือได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทนนราพัฒน์ ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[7]
ในปี 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สงขลา เขต 1 ในสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “พีระพันธุ์” ตั้ง 11 คณะที่ปรึกษารองนายกฯ “เสธ.หิ-แรมโบ้-สายัณห์” นั่งด้วย
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
- ↑ สรุปการประชุมคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1
- ↑ เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ไม่พลิกโผ ‘พีระพันธุ์’ ผงาดหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ‘เอกนัฏ’ นั่งเก้าอี้เลขาฯ
- ↑ ราชกิจจาฯ ประกาศ “เจือ-มัลลิกา” เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อประชาธิปัตย์แล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอระโนด
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.