ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกของ | กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) |
รายงานต่อ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |
ที่ว่าการ | ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร |
ผู้แต่งตั้ง | การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน (หรือบางช่วงคือคำสั่งของคณะรัฐประหาร) |
วาระ | 4 ปีและดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ |
ตราสารจัดตั้ง | ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 |
ตำแหน่งก่อนหน้า | ผู้ว่าราชการนครหลวงกรุงเทพธนบุรี |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | ชำนาญ ยุวบูรณ์ |
สถาปนา | 1 มกราคม พ.ศ. 2516 |
เงินตอบแทน | 113,560 บาท |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th |
กรุงเทพมหานคร |
![]() บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ: |
|
องค์กรฝ่ายสภา
|
|
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งนี้จัดตั้งขึ้นจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 (สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร) และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ผู้ดำรงตำแหน่งมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี (หรือบางช่วงมาจากคำสั่งของคณะรัฐประหาร)
ผู้ดำรงตำแหน่งคนที่ 17 และคนปัจจุบัน คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565[1]
อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]
ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[2] ในมาตรา 49 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
- กำหนดนโยบาย บริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
- สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
- แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการ เพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ
- บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
- วางระเบียบ เพื่อให้งานของกรุงเทพมหานคร เป็นไปโดยเรียบร้อย
- รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
- อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (เช่น การเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 50 การเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 98 เป็นต้น)
และตามที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้ (เช่น อำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี ตามมาตรา 50 เป็นต้น)
รายนามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]
ลำดับ | รูป | ชื่อ | ที่มา | วาระดำรงตำแหน่ง | พรรค | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ (สิ้นสุดโดย) |
ระยะเวลา | ||||||
1 | ![]() |
ชำนาญ ยุวบูรณ์ | การแต่งตั้ง | 1 มกราคม พ.ศ. 2516[3] | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | 0 ปี 294 วัน | - | |
2 | ![]() |
อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล | การแต่งตั้ง | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516[4] | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517 | 0 ปี 215 วัน | - | |
3 | ![]() |
ศิริ สันติบุตร | การแต่งตั้ง | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2517[5] | 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 | 0 ปี 281 วัน | - | |
4 | ![]() |
สาย หุตะเจริญ | การแต่งตั้ง | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518[6] | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2518 | 0 ปี 72 วัน | - | |
5 | ![]() |
ธรรมนูญ เทียนเงิน | การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 | 29 เมษายน พ.ศ. 2520 | 1 ปี 262 วัน | ประชาธิปัตย์ | |
6 | ![]() |
ชลอ ธรรมศิริ | การแต่งตั้ง | 29 เมษายน พ.ศ. 2520 | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | 2 ปี 15 วัน | - | |
7 | ![]() |
เชาวน์วัศ สุดลาภา | การแต่งตั้ง | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 | 16 เมษายน พ.ศ. 2524 | 1 ปี 286 วัน | - | |
8 | ![]() |
พลเรือเอก เทียม มกรานนท์ | การแต่งตั้ง | 28 เมษายน พ.ศ. 2524 | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 | 3 ปี 187 วัน | - | |
9 | ![]() |
อาษา เมฆสวรรค์ | การแต่งตั้ง | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 | 1 ปี 7 วัน | - | |
10 | ![]() |
พลตรี จำลอง ศรีเมือง | การเลือกตั้ง พ.ศ. 2528 | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 | 6 ปี 15 วัน | กลุ่มรวมพลัง | |
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2533 | 7 มกราคม พ.ศ. 2533 | 22 มกราคม พ.ศ. 2535 | พลังธรรม | |||||
11 | ![]() |
ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 | 19 เมษายน พ.ศ. 2535 | 18 เมษายน พ.ศ. 2539 | 4 ปี 0 วัน | พลังธรรม | |
12 | ![]() |
พิจิตต รัตตกุล | การเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 | 4 ปี 49 วัน | อิสระ | |
13 | สมัคร สุนทรเวช | การเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 | 4 ปี 36 วัน | ประชากรไทย | ||
14 | ![]() |
อภิรักษ์ โกษะโยธิน | การเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 | 4 ปี 82 วัน | ประชาธิปัตย์ | |
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (ลาออก)[7] | ||||||
15 | ![]() |
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร | การเลือกตั้ง พ.ศ. 2552 | 11 มกราคม พ.ศ. 2552 | 9 มกราคม พ.ศ. 2556 (ลาออก)[8] |
6 ปี 202 วัน[a] | ประชาธิปัตย์ | |
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2556 | 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559[b] | ||||||
16 | ![]() |
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง | การแต่งตั้ง | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559[11] | 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 (ลาออก)[12] |
5 ปี 157 วัน | - | |
17 | ![]() |
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | การเลือกตั้ง พ.ศ. 2565 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1] | ปัจจุบัน | 0 ปี 39 วัน | อิสระ |
ดูเพิ่ม[แก้]
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เคยถูกพักงานเนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรณีที่สุเทพ เทือกสุบรรณ หาเสียงเลือกตั้งสนับสนุนหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์โดยปราศรัยโจมตีพลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ หนึ่งในผู้สมัคร ระหว่างที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์พักงาน ผุสดี ตามไท รักษาการแทนตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557 ต่อมาวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง[9]
- ↑ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 ให้พักงาน หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยไม่พ้นจากตำแหน่ง[10] และวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้พ้นจากตำแหน่ง[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "กทม.ติดประกาศนโยบาย "ชัชชาติ" 214 ข้อ สั่งห้ามถ่ายรูปหน้าห้อง ผู้ว่าฯ". www.thairath.co.th. 2022-05-31.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528, เล่ม 102 ตอน 115 ก ฉบับพิเศษ หน้า 1, 31 สิงหาคม พ.ศ. 2528.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 90 ตอนที่ 16 ฉบับพิเศษ หน้า 3, 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 90 ตอนที่ 141 ฉบับพิเศษ หน้า 6, 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 91 ตอนที่ 100 หน้า 2572, 11 มิถุนายน พ.ศ. 2517.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 92 ตอนที่ 109 หน้า 1394, 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518.
- ↑ "สปิริต"อภิรักษ์"ลาออกขอโทษคนกทม.-กกต.คาดเลือกใหม่ 11 ม.ค.นี้". mgronline.com. 2008-11-13.
- ↑ "เผย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.จะลาออกในวันพรุ่งนี้". thaiza. 2013-01-08.
- ↑ "สุขุมพันธุ์"รอด!ศาลยกคำร้องคดีใบเหลือง, โพสต์ทูเดย์, 5 กันยายน พ.ศ. 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 6 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 188 ง หน้า 17, วันที่ 25 สิงหาคม 2559
- ↑ 11.0 11.1 ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2559 เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เล่ม 133 ตอนพิเศษ 238 ง หน้า 9, วันที่ 18 ตุลาคม 2559
- ↑ ""อัศวิน" เซ็นลาออก "ผู้ว่าฯ กทม." แล้ว ปิดฉาก "คสช." แต่งตั้ง 5 ปี 5 เดือน 5 วัน". bangkokbiznews. 2022-03-24.