วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(16 ปี 125 วัน)
ก่อนหน้าเกรียง กัลป์ตินันท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 เมษายน พ.ศ. 2520 (47 ปี)
อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–2561,2561–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ไทยรักไทย (2545–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
ไทยรักษาชาติ (2561)
คู่สมรสพิศทยา ไชยสงคราม
บุพการี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
ชื่อเล่นบอมบ์

วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีครั้งแรก ในปี 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย[1] และเป็นประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

ประวัติ[แก้]

วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2520 เป็นบุตรของ เกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีต สส.อุบลราชธานี เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาชุมชน) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ[1]

วรสิทธิ์ สมรสกับ พิศทยา ไชยสงคราม [2]

การทำงาน[แก้]

วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ เป็นนักธุรกิจในพื้นที่อุบลราชธานี ถือครองหุ้นในกิจการอาทิ หจก.อุบลวรสิทธิ์ และบริษัท กัลป์ตินันท์ จำกัด[3] เขาเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน พร้อมกับ โกวิทย์ ธรรมานุชิต และสมบัติ รัตโน แต่นายวรสิทธิ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกเพียงคนเดียวที่มาจากพรรคพลังประชาชน ส่วนอีก 2 ที่นั่งเป็นของพรรคประชาธิปัตย์

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง ในนามพรรคเพื่อไทย และในปี 2563 ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกอีก 4 สมัยติดต่อกัน คือ

1.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย

2.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย

3.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย

4.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สภาผู้แทนราษฎร
  2. สะใภ้"กัลป์ตินันท์"ชิงนายกฯนครอุบล
  3. ดูชัด ๆ ก่อนอดีต ส.ส.‘วรสิทธิ์’ ได้หุ้น บ.รับเหมาฯ 30 ล. 8 ปีเสียภาษีกี่บาท?
  4. เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔