ข้ามไปเนื้อหา

อภิชัย เตชะอุบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อภิชัย เตชะอุบล
เหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2552–2565)
พลังประชารัฐ (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสชลิดา เตชะอุบล
บุตรอรรถวุฒิ เตชะอุบล

อภิชัย เตชะอุบล (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) เป็นนักการเมืองชาวไทย รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตสภาผู้แทนราษฎรไทย แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตเหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์[1] ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ประวัติ

[แก้]

อภิชัย เตชะอุบล หรือเสี่ยโต เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 จบการศึกษาปริญญาตรี บริหารธุรกิจ จากสหรัฐอเมริกา และรัฐศาสตร์การปกครอง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท รัฐศาสตร์ (การปกครอง) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[2]

การทำงาน

[แก้]

ด้านธุรกิจ

[แก้]

อภิชัย เตชะอุบล เป็นเจ้าของธุรกิจ บมจ.เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JCK (เดิม บมจ. ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม หรือ TFD) ประกอบธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปหรือแวร์เฮาส์ ในนิคมอุตสาหกรรม และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ บมจ.เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ หรือ JCKH (เดิม บมจ. ฮอท พอท หรือ HOTPOT) ประกอบธุรกิจอาหารเป็นหลักในตราสินค้า ฮอทพอท ไดโดมอน ร้านอาหารจีน Zheng Dou ร้านอาหารอิตาเลียน Signor Sassi เป็นต้น[3]

ด้านการเมือง

[แก้]

พรรคประชาธิปัตย์

[แก้]

อภิชัย เตชะอุบล เข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ในปี 2552 - 2554 และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 64[4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ[5] ลำดับที่ 18 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก และเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์[6] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 นายอภิชัยยื่นขอลาออกจากตำแหน่งเหรัญญิกพรรค แต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรค[7]

ในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2564 อภิชัย เตชะอุบล เป็น 1 ใน 3 ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่งดออกเสียงในการลงมติไว้วางใจ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[8] และหลังจากนั้นก็ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์[9] กระทั่งวันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 นายอภิชัยได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าได้เตรียมยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 9 นาฬิกา และเตรียมไปยื่นสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐในวันเดียวกันพร้อมกับเปิดตัวในเวลา 16 นาฬิกา ณ ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ อาคารรัชดาวัน[10]

พรรคพลังประชารัฐ

[แก้]

นายอภิชัยและนาย อรรถวุฒิ เตชะอุบล บุตรชายของนายอภิชัยได้ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 [11] และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ของพรรคพลังประชารัฐ ในปี 2565[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. 2.0 2.1 2.2 สภาผู้แทนราษฎร
  3. ปั้น 'อสังหาฯ & อาหาร' พลิกกำไรในมือ 'เตชะอุบล'
  4. "ผู้สมัคร สส. บัญชีแบบรายชื่อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-29. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
  5. "อภิชัย เตชะอุบุล"เจ้าพ่ออสังหาฯ ลงปาร์ตี้ลีสต์ พรรคปชป.
  6. แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์
  7. “อภิชัย เตชะอุบล” ลาออกจากเหรัญญิกปชป.
  8. หัวขบวนแหกมติพรรค ‘คารม-เดียร์-อันวาร์’ ก้าวไกล-พปชร.-ปชป.
  9. ส.ส.ปชป.ร้องสอบ “อภิชัย” หลังกระแสจ่อนั่ง เลขาฯพรรคธรรมนัส
  10. "อภิชัย" ยอมรับเตรียมยื่นไขก๊อก ปชป.พร้อมโยกเปิดตัวสังกัด พปชร.ดูแลกทม.
  11. สวมเสื้อ 'พปชร.' แล้ว เผย 2 เหตุผลทิ้ง ปชป.[ลิงก์เสีย]
  12. พลังประชารัฐ ตั้ง “เสี่ยโต” นั่ง ผอ.เลือกตั้ง ส.ก.