ทวี สุระบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวี สุระบาล
ทวี ใน พ.ศ. 2562
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดตรัง เขต 2
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 341 วัน)
ก่อนหน้าสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
คะแนนเสียง63,185 (64.03%)
ดำรงตำแหน่ง
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548 (16 ปี 165 วัน)
ก่อนหน้าวิเชียร คันฉ่อง
ถัดไปสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
เขตเลือกตั้งเขต 1 (พ.ศ. 2531–2535)
เขต 2 (พ.ศ. 2538–2548, 2566–ปัจจุบัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2491 (75 ปี)
อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรสณิชาพัฒน์ สุระบาล

นายทวี สุระบาล (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2491) กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ รวม 8 สมัย

ประวัติ[แก้]

นายทวี สุระบาล มีชื่อเล่นว่า "ปั๊บ" เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2491 เป็นบุตรของนายเจตน์ และ นางชูชีพ สุระบาล[1] สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต จาก Banaras Hindu University ประเทศอินเดีย[2] และ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมรสกับ นางณิชาพัฒน์ สุระบาล มีบุตร 3 คน ประกอบด้วย นายสุวิชาณ สุระบาล, นายพรหมกรณ์ สุระบาลธนวัชร์ และ นางสาวอิสรีย์ สุระบาลธนวัชร์

งานการเมือง[แก้]

ทวี มีอาชีพเป็นนักธุรกิจ และ สมาชิกสภาจังหวัด ใน พ.ศ. 2528 ตามลำดับ ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคชาติไทย แต่ได้รับเลือกตั้งในครั้งถัดมา (พ.ศ. 2531) ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2548 แต่ในครั้งนั้นได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อและได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 7 [3]

พ.ศ. 2550 ทวี ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 8 ลำดับที่ 2 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากทางพรรคได้รับเลือกตั้งเพียง 1 ที่นั่ง แต่ลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดิน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แต่เป็นสมาชิก พรรคพลังประชาชน ในวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และต่อมาได้สมัครเป็นพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา และในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 46 [4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ทวี สุระบาล ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ทวี ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และเอาชนะคู่แข่งอย่าง สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ไปด้วยคะแนนกว่า 63,185 คะแนน ถือเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 [6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ทวี สุระบาล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
  5. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 20 สิงหาคม 2562
  6. ว่าที่ ส.ส.พปชร.คะแนนอันดับ 1 ของประเทศ นั่งรถตระเวนขอบคุณทุกคะแนนเสียง
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๗, ๕ มกราคม ๒๕๔๙