ธเนศ เครือรัตน์
ธเนศ เครือรัตน์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มิถุนายน พ.ศ. 2546 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2546–2549) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
ธเนศ เครือรัตน์ (เกิด 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นที่ปรึกษาของสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ยูไนเต็ดในไทยลีก 2 เป็นอดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ และเป็นอดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ประวัติ
[แก้]ธเนศ เครือรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนายไพโรจน์ เครือรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม.48) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขา Communication Arts จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]ธเนศ ประกอบอาชีพธุรกิจสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดศรีสะเกษ เคยทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ (เขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ) เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยเข้ามารับหน้าที่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2] จากนั้นได้ลงสู่สนามเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งซ่อมแทน นายบุญชง วีสมหมาย เมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยสามารถเอาชนะ นายมานะ มหาสุวีระชัย อดีต ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ได้[3] ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในสังกัดพรรคพลังประชาชน
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 (อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอวังหิน)[4] สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง ชนะสิริพงศ์ที่ครองพื้นที่จากสมัยที่แล้วได้
ทางด้านกีฬา ธเนศเคยเป็นประธานสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 129/2540 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน 6 ราย)
- ↑ "สนามเลือกตั้งศรีสะเกษเดือด"บรรหาร"เปิดศึกชิงเก้าอี้ ทรท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-13. สืบค้นเมื่อ 2012-02-07.
- ↑ ""เพื่อไทย" ศรีสะเกษคึก แห่สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ครบทุกเขต มั่นใจครองเก้าอี้ ส.ส.ทั้ง 8 เขต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-02-07.
- ↑ "ศรีสะเกษ ระส่ำ!เมืองไทยประกันชีวิต ถอนตัวจากสปอนเซอร์หลัก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-02. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑