กุสุมาลวตี ศิริโกมุท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดร.กุสุมาลวตี ศิริโกมุท
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (61 ปี)
พรรคการเมือง

ดร.กุสุมาลวตี ศิริโกมุท (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2505) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม 3 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[2] รองประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[3]

ประวัติ[แก้]

กุสุมาลวตี ศิริโกมุท (ชื่อเล่น : แมว) เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2505 เป็นบุตรสาวของนายสวาท ศิริโกมุท อดีต ส.ส. มหาสารคาม และ นางสุภาภรณ์ ศิริโกมุท มีพี่น้อง 2 คน สำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สาขาการวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาเอก สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สมรสและหย่า มีบุตร 2 คน[ต้องการอ้างอิง]

งานการเมือง[แก้]

พ.ศ. 2544 และพ.ศ. 2548 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคไทยรักไทย สามารถเอาชนะนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีต ส.ส. จากพรรคชาติไทย ได้ทั้ง 2 ครั้ง หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2550 ดร.กุสุมาลวตีย้ายไปลงสมัครกับพรรคเพื่อแผ่นดิน พร้อมกับนายกริช กงเพชร[4] รวมทั้งรับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค แต่ไม้ได้รับการเลือกตั้ง จึงย้ายกลับมาเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 ได้เป็น ส.ส. สมัยที่ 3 โดยเอาชนะนายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากพรรคภูมิใจไทย ในพ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 53[5]

วันที่ 19 พ.ย. 2561 ดร.กุสุมาลวตีได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[6] ต่อมาในพ.ศ. 2562 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคามสังกัดพรรคเพื่อชาติ แต่ไม้ได้รับการเลือกตั้ง[7][8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ดร.กุสุมาลวตี ศิริโกมุท ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “พีระพันธุ์” ตั้ง 11 คณะที่ปรึกษารองนายกฯ “เสธ.หิ-แรมโบ้-สายัณห์” นั่งด้วย
  2. 'รทสช.' สุดคึกเจาะภาคอีสาน จ่อเปิดนโยบายตะลึงทั้งแผ่นดิน!
  3. "ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-07-28.
  4. ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ กุสุมาลวตี ศิริโกมุท
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. “จาตุรนต์” ชี้เหตุจำเป็นต้องจาก “เพื่อไทย” ไป “ไทยรักษาชาติ”
  7. “ตู่ จตุพร” ช่วย ‘กุสุมาลวตี’ ผู้สมัครเพื่อชาติ เขต4 มหาสารคาม ปราศรัยย้ำไม่เอา ‘บิ๊กตู่’
  8. ผลเลือกตั้ง ‘มหาสารคาม’ 5 เขต ‘เพื่อไทย’ ยังครองแชมป์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]