อนุสรี ทับสุวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสรี ทับสุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 (54 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
ศาสนาพุทธ
วิชาชีพนักการเมือง

นางสาวอนุสรี ทับสุวรรณ (อาย) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 -) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย [1] และเคยเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และ ปัจจุบัน ปี 2567 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ประวัติ[แก้]

อนุสรี ทับสุวรรณ เกิด 23 พฤษภาคม 2512 เป็นบุตรของ พล.ต.ท.อนุชา ทับสุวรรณ และ สิตางศุ์ บูรณสิงห์ ทับสุวรรณ บิดาเป็นนายตำรวจคนสนิทของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เธอได้เข้าเรียน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จนจบปริญญาตรี เกียรตินิยม อันดับ 2 และปริญญาโท ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (นโยบายการพัฒนา) จากมหาวิทยาลัย United States International University - Europe กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

การทำงาน[แก้]

อนุสรี ทับสุวรรณ เคยเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2537 ทำงานที่กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมสารนิเทศ กรมเอเชียตะวันออก สำนักนโยบายและแผน สำนักบริหารบุคคล ที่สำคัญ เป็นกงสุล ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง 4 ปี ระหว่างปี 2547-2550 เคยเป็นเลขานุการ รมช.และ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ (ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ)[2] ต่อมาลาออกจากราชการมาทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยอาจารย์สมัยรัฐศาสตร์จุฬาฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ชวนให้มาทำงานในตำแหน่ง เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [3] ถือเป็นงานการเมืองครั้งแรก ระหว่างปี 2554-2557

จากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ได้ชักชวนให้มาทำงานที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[4] และต่อด้วยกระทรวงแรงงาน ในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีบทบาทในการดูแลด้านยุทธศาสตร์ปฏิบัติการข่าวสารและมิติการเมือง รวมทั้งงานด้านต่างประเทศ สตรี เด็ก ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และเจรจากับกลุ่มองค์กรต่างๆ

อนุสรี ทับสุวรรณ เข้าสู่การเมืองอย่างจริงจังโดยการรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) เมื่อปี 2561 และต่อมารับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในลำดับที 4 เมื่อวันที 7 ก.พ. 2562 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในนามพรรครวมพลังประชาชาติไทย ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น พรรครวมพลัง

หลังจากทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนเกือบครบวาระสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ นางสาวอนุสรีฯ ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกพรรครวมพลัง ในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 และเข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย วันที่ 16 ธันวาคม 2565 และลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566

ด้านสังคม[แก้]

ในปี 2564 เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรสาธารณะประโยชน์ "สถาบันอนุสรีรวมใจให้กัน" เพื่อช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ใช้แรงงานที่ด้อยโอกาส ที่ได้รับความ เดือดร้อนจากผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายที่ผ่านมา
  • ธันวาคม 2546 – ธันวาคม 2550 ตำแหน่ง กงสุล ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง
  • กรรมการจัดการเลือกตั้ง สส. และ สว. นอกราชอาณาจักรในฮ่องกง/มาเก๊า ตั้งแต่ ปี 2548 -2550
  • กงสุลปฏิบัติงานด้านการตรวจลงตรา และการคุ้มครองคนไทยในฮ่องกง/มาเก๊า
  • เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร14 ธันวาคม 2553 - 10 กุมภาพันธ์ 2557
  • ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติงานที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการรณรงค์ให้ นายมณเฑียร บุญตัน เป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการประจำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ แห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก มิถุนายน 2560
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม 2nd ASEAN Ministerial Meeting on Women (AMMW)
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม China-ASEAN Disability Forum at Nanning,
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้ประกอบการสตรีดีเด่นอาเซียน ASEAN WomemEntrpreneurs Forum 2015
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม The 5th Asia Pacific Ministerial Conference on Housing and Urban development (APMCHUD)
  • โฆษกประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติงานที่ กระทรวงแรงงาน
  • ฝ่ายยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • ได้รับการรับรองการเป็น ส.ส. จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
  • กรรมการบริหารกลุ่มมิตภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เมียนมาร์
  • คณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเชียน AIPA ครั้งที่ 40
  • โฆษกคณะกรรมาธิการแรงงาน
  • ที่ปรึกษากลุ่มมิตภาพไทย-กัมพูชา
  • โฆษกคณะกรรมาธิการการแรงงาน

ประวัติการอบรม[แก้]

  • 1. หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่63
  • 2. หลักสูตรนวัตกรรมการบริหาร (NIDA Max) จากสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • 3. หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่น2) จากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • 4. หลักสูตรอบรมโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รวมมิตร)
  • 5. โครงการพัฒนาเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับสูง (WiNSรุ่น3 )
    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปี 2566

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

  • สตรีไทยดีเด่น สาขานักการเมือง จากสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ปี 2558[5]
  • รางวัลต้นธรรม ต้นแบบบุคคลผู้ทำประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ ปี 2561[6]
  • รางวัลลูกผู้มีความกตัญญูกตเวที จากสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์ฯ 12 สิงหาคม 2565

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สมาชิกบัญชีแบบรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-09.
  2. สิ่งสุดท้ายที่อยากทำของสุรินทร์ พิศสุวรรณ สร้าง กทม.เป็นมหานครของโลก
  3. แต่งตั้ง "อนุสรี ทับสุวรรณ" เลขาฯ ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่
  4. พม.ย้ำทำงานเชิงรุก
  5. บุคคลในข่าว 29/02/59
  6. "อนุสรี"คว้ารางวัล "ต้นธรรม" เชื่อผลจากการทำงานเพื่อสังคม
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔