ข้ามไปเนื้อหา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรสยาม
พุทธศักราช 2475
หน้าแรกของรัฐธรรมนูญ
ภาพรวม
ท้องที่ใช้ประเทศไทย ประเทศสยาม
สร้างขึ้น28 มิถุนายน พ.ศ. 2475[1]
เสนอ16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475[2]
วันประกาศ10 ธันวาคม พ.ศ. 2475[3]
มีผลใช้บังคับ10 ธันวาคม พ.ศ. 2475[3]
ระบบรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
โครงสร้างรัฐบาล
ฝ่าย3
ประมุขแห่งรัฐพระมหากษัตริย์
ฝ่ายนิติบัญญัติสภาเดียว (สภาผู้แทนราษฎร)
ฝ่ายบริหารคณะรัฐมนตรี, นำโดย นายกรัฐมนตรี
ฝ่ายตุลาการศาลไทย
ระบอบรัฐเดี่ยว
คณะผู้เลือกตั้งไม่มี
ประวัติศาสตร์
นิติบัญญัติชุดแรก15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
บริหารชุดแรก10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
ตุลาการชุดแรก1 ตุลาคม พ.ศ. 2476
ยกเลิก1 เมษายน พ.ศ. 2476 (การงดใช้)
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (ยกเลิกครั้งที่ 1)
20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ยกเลิกครั้งที่ 2)
แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้ง)4
แก้ไขครั้งล่าสุด8 มีนาคม พ.ศ. 2495
ผู้ยกร่างสภาผู้แทนราษฎร
ผู้เขียนอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ผู้ลงนามสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี พระปกเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม
ฉบับก่อนหน้าพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
เอกสารฉบับเต็ม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ที่วิกิซอร์ซ
วิกิซอร์ซ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
ต้นฉบับรัฐธรรมนูญ ประดิษฐานอยู่ใกล้พระที่นั่งอนันตสมาคม หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม หลังลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแล้ว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ตามประเพณี ระหว่างพระราชพิธีลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ของประเทศไทย ต่อจากพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 แต่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่กำหนดให้เป็นฉบับถาวร ประกาศและใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ก่อนจะถูกยกเลิกและแทนที่โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้กลับมาประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายประการเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 ก่อนจะยกเลิกอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501

การแก้ไขเพิ่มเติม

[แก้]

มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ 3 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมี นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ไปด้วย

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล ซึ่งเสนอโดยขุนบุรัสการกิตติคดี (เหมือน บุรัสการ) ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล ซึ่งมี นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อันมีผลให้บทเฉพาะกาลซึ่งควรจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม 2485 เป็นอย่างช้า ยืดเวลาออกไปอีก 10 ปี แก่นแท้ของการเสนอยึดบทเฉพาะกาลก็คือ การคงอยู่ต่อไปอีกของสมาชิกประเภทที่ 2 อันมาจากการแต่งตั้ง

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้สามารถขยายเวลาอยู่ในตำแหน่งผู้แทนราษฎรออกไปอีกคราวละ 2 ปี

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติหลายประการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น (ดูบทความหลักที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495)

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1/2475 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พิจารณาตั้งอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
  2. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 34/2475 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาเสร็จแล้ว
  3. 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม, เล่ม ๔๙ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๕๒๙, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]