ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดบุรีรัมย์

พิกัด: 15°00′N 103°07′E / 15°N 103.11°E / 15; 103.11
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บุรีรัมย์)
จังหวัดบุรีรัมย์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Buri Ram
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม เลิศล้ำเมืองกีฬา
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นฤชา โฆษาศิวิไลซ์[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด10,322.885 ตร.กม. (3,985.688 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 17
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)
 • ทั้งหมด1,573,230 คน
 • อันดับอันดับที่ 6
 • ความหนาแน่น152.40 คน/ตร.กม. (394.7 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 27
รหัส ISO 3166TH-31
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้แปะ
 • ดอกไม้สุพรรณิการ์
 • สัตว์น้ำกุ้งฝอยน้ำจืดชนิด Macrobrachium lanchesteri
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เลขที่ 1159 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000[3]
 • โทรศัพท์0 4461 1342
เว็บไซต์https://www.buriram.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย

จังหวัดบุรีรัมย์เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญสมัยอารยธรรมขอมอย่างพนมรุ้ง และเมืองต่ำ และในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยสโมสรฟุตบอล, สนามแข่งรถ และค่ายมวย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มาก คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผา, ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18 อยู่ทั่วไป และพระพุทธรูปมหาปรัชญาปารมิตตา หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองเก่า และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองหนึ่ง และรู้จักในนามเมืองแปะจนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเพราะบริเวณแถบนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองนางรอง ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรอง, เมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย

ในปีพ.ศ. 2319 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีใบบอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ, เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ (เป็นพระญาติกันไม่รวมกันขึ้นตรงกรุงเทพฯจึงยกทัพเป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองที่1ประหารชีวิตเนื่องจากเป็นญาติทางฝั่งพญาละแวก และสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์, เมืองโขง และเมืองอัตตะปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ, เจ้าอิน และอุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง, ตะลุง, สุรินทร์, สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งชุมชนขึ้น และต่อมาในปี พ.ศ. 2350 หรือสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชการที่ 1 จึงทรงโปรดเกล้าให้ตั้งเมืองขึ้นในเขตชุมชนดังกล่าว เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์ และให้บุตรเจ้าเมืองผไทสมันต์แห่งพุทธไธสง-ลาวกาวเป็นเจ้าเมืองคนแรก[4] ให้นามเจ้าเมืองว่า พระยานครภักดี ปกครองชาวเขมรป่าดง,ชาวลาวและชนเผ่าอื่นๆ ซึ่งพื้นเพของเจ้าเมืองแปะคนแรกเดิมมีนามเดิมว่า เพี้ยเหล็กสะท้อน บุตรชายของเพี้ยศรีปากหรือพระยาเสนาสงคราม เจ้าเมืองพุทไธสงคนแรก (อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์) เพี้ยศรีปากและเพี้ยเหล็กสะท้อนเคยเป็นกรมการเมืองในตำแหน่งเพี้ยโฮงหลวงของเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราชหรือเมืองท่งศรีภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) ก่อนที่ต่อมาเพี้ยศรีปากจะแยกดินแดนเมืองสุวรรณภูมิเดิมออกมาตั้งเป็นเมืองพุทไธสงในภายหลัง เพี้ยศรีปากเป็นบุตรของท้าวพร อัญญาเมืองสุวรรณภูมิบุตรชายของท้าวเซียงเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเจ้าหลานและสืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคลเจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านแรก อันมีเชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์ล้านช้าง อีกทั้งยังเป็นปฐมบรรพบุรุษของเจ้าเมืองภาคอีสานที่ส่งลูกหลานไปปกครองหัวเมืองอีสานกว่า20หัวเมืองและภาคเหนืออีก1หัวเมือง ได้แก่ เมืองสุวรรณภูมิราชบุรีประเทษราช (เมืองสุวรรณภูมิ) เมืองร้อยเอ็ด เมืองชลบทวิบูลย์ เมืองขอนแก่น เมืองเพี้ย เมืองรัตนนคร เมืองมหาสารคาม เมืองศีร์ษะเกษ เมืองโกสุมพิสัย เมืองกันทรวิชัย (เมืองโคกพระ) เมืองวาปีปทุม เมืองหนองหาน (อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) เมืองโพนพิสัย (อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) เมืองพุทไธสง (เมืองผไทสมัน) เมืองบุรีรัมย์ (เมืองแปะ) เมืองเกษตรวิสัย เมืองพนมไพรแดนมฤค เมืองธวัชบุรี เมืองพยัคฆภูมิพิสัย (เมืองเสือ) เมืองจตุรพักตรพิมาน (เมืองหงษ์) เมืองขามเฒ่า เมืองเปือยใหญ่ (บ้านค้อ) เมืองนันทบุรี (เมืองน่าน) เมืองรัตนบุรี เมืองเดชอุดม เมืองราษีไศล เมืองรัตนวาปี เมืองสนม และเมืองประชุมพนาลัย (เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว) ซึ่งบอกได้ว่าพระยานครภักดีเจ้าเมืองแปะหรือบุรีรัมย์ท่านแรกสืบเชื้อสายมาจากเจ้าจารย์แก้วแห่งเมืองท่งศรีภูมิและพระเสนาสงครามแห่งเมืองพุทไธสง อีกทั้งยังมีเครือข่ายทางเครือญาติกับหลายหัวเมืองทั่วภาคอีสานร่วม20กว่าหัวเมือง[5]

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฎ ได้ให้เจ้าราชวงศ์ยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนและเสบียงอาหารแถบเมืองพุทไธสง เมืองแปะ เมืองนางรอง พระนครภักดี (หงษ์) บุตรชายของพระยานครภักดีท่านแรก นำราษฎรออกต่อสู้อย่างองอาจ เมื่อสู้ไม่ได้จึงหนีไปเมืองพุทไธสมัน ทหารลาวตามไปทันแล้วจับตัวได้ที่ช่องเสม็ด (ช่องเขาที่จะไปประเทศกัมพูชา) เมื่อถูกจับแล้ว ทหารลาวนำตัวพระยานครภักดี (หงษ์) และครอบครัวที่จับได้ไปให้เจ้าราชวงศ์ แล้วถูกควบคุมตัวไว้ที่ทุ่งเมืองสุวรรณภูมิ ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งเจ้าราชวงศ์ตั้งทัพอยู่ที่นั่น แต่พระยานครภักดี (หงษ์) และครอบครัวที่ถูกควบคุมตัวได้จับอาวุธต่อสู้เพื่อหนี จึงถูกฆ่าตายหมด หลังจากที่กองทัพหลวงไทยตีทัพเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์แตกแล้ว ได้แต่งตั้งให้หลวงปลัดซึ่งเป็นบุตรชายพระนครภักดี (หงส์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแทนตั้งแต่เมืองแปะ ถือได้ว่าเป็นวีรกรรมที่กล้าหาญชาญชัยและน่ายกย่องของเจ้าเมืองที่ไม่ยอมศิโรราบต่ออริศัตรู แม้ว่ากำลังพลของตนจะน้อยกว่าเป็นอย่างมากก็ตาม

ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมือง"บุรีรัมย์" และในปี พ.ศ. 2433 มีการประกาศเรียกชื่อข้าหลวงกำกับหัวเมืองทั้ง 4 ขึ้น โดยแยกเมืองบุรีรัมย์ไปขึ้นกับลาวฝ่ายเหนือ และพ่วงเมืองนางรองไปด้วย ซึ่งเมืองนางรองขึ้นกับเมืองบุรีรัมย์ ขณะที่เมืองพุทไธสง และเมืองตะลุง ยังคงสังกัดอยู่กับเมืองนครราชสีมา

ครั้นถึง สมัยพระยานครภักดี (ทองดี) บุตรหลวงปลัดหรือเจ้าเมืองแปะคนที่ 3 (บุตรของพระยานครภักดีหงษ์) เป็นเจ้าเมืองบุรีรัมย์คนสุดท้ายก่อนจะเปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง นอกจากนี้ภายหลังท่านยังได้รักษาการเมืองนางรอง ในราว พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า "บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง ภายหลังยุบตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองมีพระรังสรรค์สารกิจ(เลื่อน) เป็นผู้ว่าราชการเมืองท่านแรก พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ ในคราวนี้เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา[6]

พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ, เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ ซึ่งได้แก่ นางรอง, พุทไธสง, ประโคนชัย (ตะลุง) และรัตนบุรี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์)

ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 15 ลิปดาเหนือกับ 15 องศา 45 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิปดากับ 103 องศา 45 ลิปดาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 412 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดและประเทศใกล้เคียงดังนี้

จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อที่รวม 10,322.885 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,451,178,125 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.11 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 2.01 ของพื้นที่ประเทศ

ภูมิประเทศ

[แก้]
วนอุทยานเขากระโดง
อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทิศเหนือ พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นน้อยเป็นที่ราบขั้นบันไดช่องเขาเกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณเก้าแสนถึงหนึ่งล้านปีเศษ ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์มีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญได้แก่ พื้นที่สูงและภูเขาทางตอนใต้, พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด และพื้นที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำมูล

แหล่งน้ำที่สำคัญในจังหวัดบุรีรัมย์ มีดังต่อไปนี้

ที่ แหล่งน้ำ อำเภอ ความจุ
(ล้านลูกบาศก์เมตร)
1 เขื่อนลำนางรอง โนนดินแดง 121
2 อ่างเก็บน้ำลำจังหัน ละหานทราย 36
3 อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด เมืองบุรีรัมย์ 27.8
4 อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก เมืองบุรีรัมย์ 27.2
5 อ่างเก็บน้ำลำปะเทีย ละหานทราย 25.4
6 อ่างเก็บน้ำห้วยยาง หนองกี่ 13.8
7 อ่างเก็บน้ำห้วยสวาย กระสัง 13.5
8 อ่างเก็บน้ำห้วยเมฆา บ้านกรวด 4.6
9 อ่างเก็บน้ำห้วยทะลอก นางรอง 3.5
10 ฝายกุดชุมแสง สตึก 3.0
11 อ่างเก็บน้ำคลองมะนาว โนนดินแดง 2.6
12 อ่างเก็บน้ำหนองตาหมู่ นางรอง 2.2
13 ฝายบ้านยางน้อย พุทไธสง 1.7
14 อ่างเก็บน้ำห้วยขี้หนู ลำปลายมาศ 1.5
15 อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ ลำปลายมาศ 1.3
16 อ่างเก็บน้ำห้วยน้อย ลำปลายมาศ 1.2
17 ฝายบ้านไพศาล ประโคนชัย 1.2

ภูมิอากาศ

[แก้]

ภูมิอากาศในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน ปลายเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม มีอุณหภูมิสูงสุด 36 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน เดือนมิถุนายน - กันยายน เนื่องจากมีเทือกเขาพนมดงรักขวางกั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงได้รับปริมาณน้ำฝนไม่มากนัก
  • ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนตุลาคม - มกราคม มีอากาศหนาว และแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำสุด 11 องศาเซลเซียส
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดบุรีรัมย์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.67
(89.01)
34.02
(93.24)
36.02
(96.84)
36.45
(97.61)
33.87
(92.97)
34.35
(93.83)
33.60
(92.48)
33.07
(91.53)
32.57
(90.63)
31.25
(88.25)
30.52
(86.94)
29.77
(85.59)
33.10
(91.58)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.65
(63.77)
20.10
(68.18)
22.65
(72.77)
24.47
(76.05)
24.50
(76.1)
24.80
(76.64)
24.37
(75.87)
24.17
(75.51)
24.22
(75.6)
23.32
(73.98)
20.87
(69.57)
18.30
(64.94)
22.45
(72.41)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 0.07
(0.0028)
7.10
(0.2795)
42.02
(1.6543)
113.75
(4.4783)
241.87
(9.5224)
100.82
(3.9693)
176.10
(6.9331)
109.87
(4.3256)
288.90
(11.374)
177.50
(6.9882)
94.27
(3.7114)
6.00
(0.2362)
1,358.27
(53.4752)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 0 2 5 10 20 14 18 12 18 14 5 2 120
แหล่งที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ความหลากหลายทางชีวภาพ

[แก้]

ในจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถพบนกที่หายากได้หลายสายพันธุ์ แหล่งดูนกที่สำคัญมักอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ อาทิ อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก, อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด และอ่างเก็บน้ำสนามบิน[7] โดยเฉพาะที่อ่างเก็บน้ำสนามบินนั้น สามารถพบนกใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด เช่น นกปากห่าง, นกกาน้ำเล็ก และนกกระจาบทอง เป็นต้น นกเหล่านี้สามารถพบได้ในช่วงฤดูฝนแม้ว่าจะไม่ใช่ฤดูที่นกอพยพก็ตาม[8]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้ค้นพบนกกระเรียนพันธ์ไทยซึ่งคาดว่าสูญพันธุ์จากธรรมชาติมาแล้ว 50 ปี ที่พื้นที่ชุ่มน้ำหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแสงเหนือ[9]

นอกจากนั้นบริเวณตอนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณพื้นที่เทือกเขาเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ และอุทยานแห่งชาติตาพระยา อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่มรดกโลกทางธรรมชาติ มีสัตว์ป่าหายากหลากชนิดอาศัย เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำลำธารหลายสาย ไหลลงแม่น้ำมูล อันเป็นแม่น้ำสำคัญของภาคอีสานที่ไหลผ่านจังหวัดบุรีรัมย์

การเมืองการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 189 ตำบล 2,212 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 23 อำเภอมีดังนี้

แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์
ชั้น หมายเลข อำเภอ ประชากร[10]
(พ.ศ. 2567)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
รหัสไปรษณีย์ ระยะห่างจากตัวจังหวัด
1 1 เมืองบุรีรัมย์ 220,334 716.235 307.62 31000 -
2 2 คูเมือง 67,162 442.000 151.95 31190 36
2 3 กระสัง 104,027 652.700 159.37 31160 31
1 4 นางรอง 112,852 769.800 146.59 31110 55
2 5 หนองกี่ 69,999 385.000 181.81 31210 85
3 6 ละหานทราย 73,472 735.000 99.96 31170 83
1 7 ประโคนชัย 133,622 890.121 150.11 31140 44
2 8 บ้านกรวด 76,760 583.900 131.46 31180 68
2 9 พุทไธสง 45,080 330.000 136.60 31120 77
1 10 ลำปลายมาศ 130,482 802.500 162.59 31130 33
1 11 สตึก 108,649 803.000 135.30 31150 43
4 12 ปะคำ 45,136 296.029 152.47 31220 79
4 13 นาโพธิ์ 31,569 255.000 123.80 31230 82
3 14 หนองหงส์ 49,524 335.000 147.83 31240 58
4 15 พลับพลาชัย 44,777 306.670 146.01 31250 43
4 16 ห้วยราช 37,378 182.120 205.23 31000 11
4 17 โนนสุวรรณ 25,055 189.630 132.12 31110 81
4 18 ชำนิ 35,086 242.000 144.98 31110 45
4 19 บ้านใหม่ไชยพจน์ 25,920 175.000 148.11 31120 86
3 20 โนนดินแดง 27,837 448.000 62.13 31260 96
4 21 บ้านด่าน 30,537 159.100 191.93 31000 16
4 22 แคนดง 32,046 298.000 107.53 31150 47
4 23 เฉลิมพระเกียรติ 39,779 349.690 113.75 31110, 31170 66
รวม 1,567,083 10,322.885 151.80

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]
เทศบาลนครบุรีรัมย์
เทศบาลตำบลกระสัง

ประกอบด้วย 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, 1 เทศบาลนคร, 2 เทศบาลเมือง, 59 เทศบาลตำบล และ 145 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

อำเภอเมือง

อำเภอนางรอง

อำเภอคูเมือง

อำเภอกระสัง

อำเภอหนองกี่

อำเภอละหานทราย

อำเภอประโคนชัย

อำเภอบ้านกรวด

อำเภอพุทไธสง

อำเภอลำปลายมาศ

อำเภอสตึก

อำเภอปะคำ

อำเภอนาโพธิ์

อำเภอหนองหงส์

อำเภอพลับพลาชัย

อำเภอห้วยราช

อำเภอโนนสุวรรณ

อำเภอชำนิ

อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์

อำเภอโนนดินแดง

อำเภอบ้านด่าน

อำเภอแคนดง

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

จังหวัดบุรีรัมย์มีพรมแดนติดกับประเทศกัมพูชาทางทิศใต้ โดยมีพรมแดนทั้งทางธรรมชาติและการค้าทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่

  • ช่องโอบก ตั้งอยู่ที่บ้านสายโท 1 ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด ช่องโอบกมีลักษณะเหมือนหน้าผา ด้านล่างเป็นหมู่บ้านของประเทศกัมพูชา ในระหว่างทางเป็นผืนป่าในเขตอุทยานแห่งชาติตาพระยาซึ่งเป็นหนึ่งในเขตผืนป่ามรดกโลก
  • ช่องสายตะกู ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านกรวด ตรงข้ามกับจุ๊บโจกี อำเภอบันเตียอำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ปัจจุบันได้เปิดเป็นจุดผ่อนปรนเพื่อให้ชาวบ้านสามารถค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้าได้

เศรษฐกิจ

[แก้]

ภาพรวม

[แก้]

ในปัจจุบัน ทั้งเกษตรกรรม, อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านการเกษตร พืชผลิตผลที่สำคัญของบุรีรัมย์ ได้แก่ ข้าว (มากกว่า 500,000 ไร่), อ้อย (มากกว่า 5,000 ไร่), ยางพารา (มากกว่า 50,000 ไร่) และพืชอื่น ๆ ในสัดส่วนน้อย ส่วนในด้านอุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมหลักของบุรีรัมย์อยู่ที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ส่วนแหล่งอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ที่อำเภอนางรอง, ลำปลายมาศ และสตึก

การขนส่ง

[แก้]

ทางบก

[แก้]
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 ระหว่างเมืองบุรีรัมย์–อำเภอนางรอง
รถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์
รถโดยสารประจำทางสายบุรีรัมย์-อำเภอสตึก
ทางหลวงแผ่นดิน
รถโดยสารประจำทาง

การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) และลงที่สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ให้บริการ อาทิ กิจการทัวร์, บริษัท ขนส่ง จำกัด, ศิริรัตนพลทัวร์, นครชัยแอร์ นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารจากกรุงเทพฯ มายังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งโดยตรง

นอกจากเส้นทางกรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ และกรุงเทพฯ – พนมรุ้ง แล้ว ยังมีเส้นทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ไปยังจังหวัดอื่น ๆ และภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย

จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีขนส่งผู้โดยสารหลัก 3 แห่ง ได้แก่

  1. สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการโดย เทศบาลนครบุรีรัมย์
  2. สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอนางรอง ดำเนินการโดย บริษัท นางรองอุตสาหกรรม จำกัด
  3. สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอประโคนชัย ดำเนินการโดย บริษัท แสงสมชัย จำกัด
ระบบขนส่งในเขตเมือง
รถสองแถวสีชมพูในเมืองบุรีรัมย์ มี 2 สาย

ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีรถสองแถวสีชมพูให้บริการทั้งหมด 2 สาย ดังนี้

  1. สายตลาดเทศบาล - เขากระโดง ขึ้นรถได้ที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และสถานีขนส่ง
  2. สาย บขส.เก่า - บิ๊กซ๊ - แม็คโคร ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์
รถไฟ
สถานีรถไฟบุรีรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีรถไฟตามเส้นทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี ผ่านอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ ลำปลายมาศ, เมืองบุรีรัมย์, ห้วยราช และกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีรถไฟทั้งหมด 9 แห่ง และที่หยุดรถ 1 แห่ง โดยสถานีบุรีรัมย์และสถานีลำปลายมาศ เป็นสองสถานีรถไฟในจังหวัดที่มีขบวนรถโดยสารจอดทุกขบวน โดยที่สถานีบุรีรัมย์นั้น ยังมีทางแยกไปลานเก็บหินโรงโม่หินศิลาชัย ระยะทาง 8 กิโลเมตร

มีขบวนรถโดยสารที่วิ่งจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ไปยังอุบลราชธานีให้บริการหลายขบวน อาทิ รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา (ขบวนที่ 23), รถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 21, รถด่วนดีเซลรางที่ 71 นอกจากนี้ยังมีขบวนรถเร็วซึ่งวิ่งระหว่างกรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานีอีก 3 ขบวน และขบวนรถท้องถิ่น วิ่งระหว่างนครราชสีมา–อุบลราชธานี หลายขบวน

ทางอากาศ

[แก้]
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์

ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ที่อำเภอสตึก สายการบินที่ให้บริการจากท่าอากาศยานดอนเมือง ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย[11] และนกแอร์ ปัจจุบันกำลังก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และมีแผนพัฒนาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ[12]

การท่องเที่ยว

[แก้]
อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  • สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
    • ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ เป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุ และเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เปิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2536
    • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ชาวบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์ และเพื่อเป็นอนุสรณ์สักการะ รวมทั้งศูนย์รวมจิตใจที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยและราชวงศ์จักรี
    • ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์
    • บ้านโนนสำราญ หมู่บ้านท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ มีการทอผ้าไหมเพื่อจัดจำหน่าย
  • วนอุทยานเขากระโดง ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำซับ ตำบลเสม็ด อดีตรู้จักกันในชื่อ "พนมกระดอง" มีความหมายว่า "ภูเขากระดองเต่า" เพราะคล้ายกระดองเต่า ซึ่งต่อได้เรียกเพี้ยนเป็น "กระโดง" บนยอดเขามีพระสุภัทรบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐฉาบปูนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 12 เมตร ฐานยาว 14 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 เดิมองค์พระเป็นสีขาว แต่เมื่อโดนแดดทำให้คล้ายสีดำ จึงแก้เป็นสีทอง นอกจากนั้นยังมีบันไดนาคราช, พระพุทธบาทจำลอง, ปราสาทเขากระโดง, ปากปล่องภูเขาไฟ และอ่างเก็บน้ำเขากระโดง (อ่างเก็บน้ำวุฒิสวัสดิ์) บริเวณหน้าที่ทำการวนอุทยาน
  • อ่างเก็บน้ำและชลประทาน
    • อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด เป็นแหล่งดูนกน้ำแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ 4,434 ไร่ มีนกกระสาปากเหลืองอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังพบนกกระสาดำ, นกกาบบัว, นกอ้ายงั่ว, เป็ดเทา และนกน้ำต่าง ๆ อีกมากมาย
    • อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อการชลประทานและการประปา มีพื้นที่ 3,876 ไร่ อยู่ในตำบลบ้านบัว ตำบลเสม็ด และตำบลสะแกโพรง มีไม้พื้นเมืองยืนต้น นกประจำถิ่น และนกอพยพตามฤดูกาลเป็นจำนวนมากกว่า 170 ชนิด
  • ศูนย์กีฬาของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
    • ช้างอารีนา (เดิมคือ ไอ-โมบาย สเตเดียม) เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) สามารถจัดเกมการแข่งขันระดับชาติได้ เป็นสนามที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
    • ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เป็นสนามแข่งรถมาตรฐานสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ และเป็นสนามแข่งรถที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
    • บุรีรัมย์ คาสเซิ่ล เป็นแหล่งการค้าแห่งใหม่ของบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ระหว่างช้างอารีนา กับช้างเซอร์กิต มีปราสาทหินพนมรุ้งจำลอง สวนศิวะ 12 และมีร้านค้า ร้านอาหารต่าง ๆ
อำเภอลำปลายมาศ
  • อุทยานลำน้ำมาศ
  • พระธาตุทะเมนชัย
  • สะพานไม้หนองผะอง
  • บ้านสวนฟรุ๊ตการ์เด้น
อำเภอหนองหงส์
  • พิพิธภัณฑ์เมืองฝ้าย
  • สวนไทรงาม
  • พิพิธภัณฑ์ชาวบ้าน บ้านโคกกลาง
อำเภอห้วยราช
  • หมู่บ้านท่องเที่ยว บ้านสนวนนอก
อำเภอพุทไธสง
  • วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) มีพระเจ้าใหญ่วัดหงส์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีศิลปะพื้นเมืองปรากฏอยู่ ทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 จะจัดงานเฉลิมฉลองทุกปี โดยผู้คนไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมาก
  • วัดมณีจันทร์ มีภาพติดกระจกสีที่งดงาม มีเพียงแห่งเดียวในภาคอีสาน
  • วัดบรมคงคา มีภาพฮูปแต้มศิลปะอีสานที่งดงาม
  • หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมหัวสะพาน เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่ให้การเรียนรู้เกี่ยวกับการทอผ้าไหม
  • คูเมืองเมืองพุทไธสงและบึงสระบัว
  • อนุสาวรีย์พระยาเสนาสงคราม เจ้าเมืองพุทไธสงท่านแรก ตั้งอยู่ที่ว่าการอำเภอพุทไธสง
อำเภอแคนดง
  • หมู่บ้านท่องเที่ยว บ้านเมืองทะเล
อำเภอนาโพธิ์
  • หมู่บ้านทอผ้าไหมนาโพธิ์ โดยมีผ้าไหมพื้นไหมหางกระรอก, ผ้าโสร่ง, ผ้าขาวม้า และผ้ามัดหมี่ ลักษณะเด่นของผ้าไหมนาโพธิ์ คือ เนื้อแน่น และเส้นไหมละเอียด
  • วัดท่าเรียบ มีศิลปะแบบอีสาน และภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบอีสานหรือฮูปแต้ม
  • พระธาตุบ้านดู่ เป็นพระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีอายุหลายร้อยปี
อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
  • ปรางค์กู่สวนแตง เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมสมัยนครวัดเป็นโบราณสถานอีกแห่งที่ถูกวางระเบิดจนองค์ปรางค์พังทลายลงมาเพื่อโจรกรรม ชิ้นส่วนปราสาทไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่จนมีความสมบูรณ์ และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547
    ลักษณะของกู่ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้าน สลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมีแผ่นศิลาทรายรองรับ ส่วนปรางค์อีกสององค์มีขนาดเล็กกว่าฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูเดียวทางด้านหน้า เช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบ สำหรับบนพื้นหน้าปรางค์มีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายอื่น ๆ ตกหล่นอยู่ เช่น ฐานบัว, ยอดปรางค์, กลีบขนุน, รูปนาค 6 เศียร อายุของกู่สวนแตงสามารถกำหนดได้จากทับหลังของปรางค์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากภาพสลักบนทับหลังทั้งหมดมีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิเช่น ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ตรีวิกรม (ตอนหนึ่งในวามนาวตารแสดงภาพพระนารายณ์ย่างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล, โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์), ทับหลังภาพศิวนาฎราช, ทับหลังภาพการกวนเกษียรสมุทร, ทับหลังภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ ฯลฯ แต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่สวยงามน่าสนใจยิ่ง
  • กู่ฤๅษีหนองเยือง เป็นอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาล สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
  • วัดหลักศิลา มีพระอุโบสถอายุนับร้อยปี สร้างในแบบศิลปะเชิงช่างกุลา คือมีการมุงหลังคาซ้อนเป็นชั้น ๆ คล้ายกับศิลปะไทใหญ่ ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน
อำเภอคูเมือง
  • อุทยานไม้ดอกเพลาเพลิน แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ ภายในมีโรงเรือนจัดแสดงดอกไม้ทั่วโลก สมบูรณ์ที่สุดในภาคอีสาน ภายในประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วจำลอง ที่ได้อัญเชิญมาจากศรีลังกา
อำเภอสตึก
พระพุทธรูปใหญ่
  • พระพุทธรูปใหญ่ (พระพุทธรูปปฏิมาสันตยาภิรมย์สตึกอุดมราษฎรนิมิตนมิน) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐาน ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอสตึก สามารถชมทัศนียภาพแม่น้ำมูล
  • ศาลเจ้าพ่อวังกรูด ตั้ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำมูล เป็นที่เลื่อมใสแก่ประชาชนชาวอำเภอสตึก
  • พระเจ้าใหญ่ดงแสนตอ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ณ ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก
  • หมู่บ้านพิมานโพนเงิน หมู่บ้านที่มีการเลี้ยงช้างมากที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์
อำเภอนางรอง
  • อ่างเก็บน้ำทุ่งแหลม
  • วัดภูม่านฟ้า เป็นวัดเก่าในเขตเทศบาลเมืองนางรอง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สามารถศึกษาสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ได้ เพราะเมืองนางรองเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดอีกแห่งในประเทศ อาทิ วัดกลางนางรอง วัดขุนก้อง วัดร่องมันเทศ
  • หมู่บ้านท่องเที่ยวไหม หนองตาไก้
อำเภอหนองกี่
หาดปราสาททอง
  • หาดปราสาททอง หรืออ่างเก็บน้ำทุ่งกระเต็น ตั้งอยู่หน้าองค์การบริหารส่วนตำบลเย้ยปราสาท ระยะห่างระหว่างขอบสระถึงเกาะกลาง 250 เมตร เนื้อที่ 2450 ไร่ หาดปราสาททอง ยังเหมาะแก่การปั่นจักรยานรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำ โดยรวมของระยะทางทั้งหมด เกือบ 10 กิโลเมตร ที่พิเศษกว่านั้น ยังเป็นสถานที่ฝึกซ้อมกีฬาทางน้ำ เช่น เจ็ทสกี ระยะทางฝึกซ้อมและการแข่งขัน 9.3 กิโลเมตร โดยสามารถเดินทางผ่านทางแยกต่างระดับ อำเภอสีคิ้ว เลี้ยวมาทางอำเภอโชคชัย ผ่านอำเภอหนองบุญมาก ถึงสี่แยกอำเภอหนองกี่ จากนั้นเลี้ยวซ้ายประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงหาด
อำเภอปะคำ
  • ปราสาทวัดโคกงิ้ว
  • ปราสาทตาดำ
อำเภอโนนดินแดง
  • เขื่อนลำนางรอง เป็นเขื่อนดินฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ จุน้ำได้ประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์ และหนองหว้า ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนเพียง 20 กว่ากิโลเมตรเท่ากัน ที่สันเขื่อนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่นสีสันแบ่งกันเป็นชั้นสวยงาม ซึ่งได้นำไปกองกั้นน้ำเซาะสันเขื่อน นอกจากนี้ ยังเป็นที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงในอำเภอโนนดินแดง บรรยากาศสวยงาม มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยทะเลสาบเหนือเขื่อนอันกว้างใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี ชาวบุรีรัมย์จึงนิยมพาครอบครัวไปพักผ่อน เล่นน้ำและรับประทานปลาสดจากเขื่อน
ปราสาทหนองหงส์
  • ปราสาทหนองหงส์
  • อนุสาวรีย์เราสู้ อยู่ริมทางหลวงในเขต ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบุรีรัมย์ร่วมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชน, ตำรวจ และทหาร ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งขัดขวางการก่อสร้าง ถนนสายละหานทราย - ตาพระยา
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ป่าที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอำเภอโนนดินแดง 5 กิโลเมตร เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ ทำให้เกิดพืชพันธุ์ สัตว์ป่าที่หลากหลาย
  • ผาแดง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ บ้านหนองเสม็ด ต.ลำนางรอง อ.โนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เป็นเขตติดต่อระหว่าง อ.โนนดินแดง กับ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติสามารถมาสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมดวงอาทิตย์ตก ทัศนียภาพของผืนป่าธรรมชาติอันกว้างใหญ่สวยงามของเทือกเขาบรรทัด และป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจะได้พบกับทะเลหมอกปกคลุมป่าดงใหญ่ - เทือกเขาบรรทัดอันซับซ้อนสวยงามด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นจุดพักรถของคนเดินทางผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกด้วย ซึ่งช่วงนี้ในแต่ละวันได้มีนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางแวะมาเที่ยวชมพักผ่อน ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเป็นจำนวนมาก ไม่แพ้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่น ๆ แหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในพื้นที่อำเภอโนนดินแดงอีกด้วย
อำเภอละหานทราย
  • วัดโพธิ์ทรายทอง เป็นวัดของหลวงปู่ศุข เกจิอาจารย์ดังแห่งอีสานใต้
  • วัดป่าละหานทราย ภายในวัดมีพระอุโบสถศิลปะล้านนาผสมล้านช้าง ประดิษฐานตั้งอยู่กลางน้ำ มีความงดงาม นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานหลายองค์
  • หินหลุม เป็นกลุ่มหินหลุมกุมภลักษ์ เป็นสถานที่เรียนรู้ด้านธรณีวิทยา
  • อ่างเก็บน้ำลำจังหัน
  • อ่างเก็บน้ำลำปะเทีย
อำเภอประโคนชัย
ปราสาทเมืองต่ำ
  • ปราสาทเมืองต่ำ เมืองโบราณร่วมสมัยกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำเป็นปราสาทหินของโบราณที่มีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตัวปราสาทออกแบบได้อย่างงดงาม มีโครงสร้างที่ได้สัดส่วนบริเวณโดยรอบปราสาท เป็นชุมชนโบราณสมัยขอม ที่มีประวัติเกี่ยวเนี่ยงกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำจึงมีความสำคัญทางโบราณคดี นอกเหนือจากเป็นมรดกทางศิลปกรรมที่งดงาม ปราสาทแห่งนี้ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2540
  • กุฏิฤๅษีโคกเมือง เป็นปราสาทขอม สร้างขึ้นเพื่อเป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลประจำเมือง ตั้งอยู่ใกล้กับปราสาทเมืองต่ำ อยู่ติดกับยารายเมืองต่ำ หรือทะเลเมืองต่ำ ชาวบ้านโคกเมืองเรียกปราสาทหลังนี้ว่า "ปราสาทน้อย" เป็นอโรคยาศาลที่สมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งในประเทศ
  • กุฏิฤๅษีหนองบัวราย เป็นปราสาทขอม สร้างขึ้นเพื่อเป็นอโรคยาศาล ตั้งอยู่บ้านหนองบัวราย ตำบลจรเข้มาก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพนมรุ้ง
  • ปราสาทบ้านบุ บ้านบุ ตำบลจรเข้มาก เป็นปราสาทขอมสร้างขึ้นเพื่อเป็นธรรมศาลา ที่พักของผู้แสวงบุญในสมัยขอมโบราณ
  • หมู่บ้านโฮมสเตย์โคกเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก เป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่ได้รับรางวัลระดับประเทศมากมาย มีกิจกรรมให้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย อาทิ เรียนรู้การปลูกข้าวหอมมะลิภูเขาไฟ, การทอเสื่อกก, การทอผ้าไหม, การเรียนรู้เกษตรวิถีพอเพียง เป็นต้น
  • อ่างเก็บน้ำสนามบิน อดีตเป็นสนามบินเพื่อใช้ในการส่งเสบียง สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามยุติ จึงได้สร้างอ่างเก็บน้ำกั้นลำห้วยระเวีย เพื่อกักเก็บน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคภายในเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย ปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน เป็นสถานที่พักผ่อน ชมธรรมชาติ โดยมีนกประจำถิ่นและนกอพยพอาศัยมากมาย ปัจจุบันมีการปล่อย นกกระเรียนพันธุ์ไทย ในบริเวณนี้อีกด้วย
  • เมืองโบราณแสลงโทน เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในเขตบ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 2445 สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงตัดผ่ากลางชุมชนโบราณ มองเห็นคันดินเป็นแนวสูงประมาณ 5-7 เมตร อยู่สองข้างทาง เมืองโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็นรูปกลมรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก มีพื้นที่ในเขตเมืองโบราณโดยประมาณทั้งสิ้น 1.19 ตารางกิโลเมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดิน 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายเข้าใจว่าเคยมีศาสนสถาน แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เทวรูปเก่าและใบเสมาเก่า ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ
  • เส้นทางกุ้งจ่อม กระยาสารท ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย มีการผลิตกุ้งจ่อม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารเฉพาะถิ่นของอำเภอประโคนชัย และกระยาสารท อาหารหวานที่คู่เมืองประโคนชัย ซึ่งเป็นขนมสำคัญในงานประเพณีแซนโฎนตา ประเพณีสำคัญของคนไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอประโคนชัย นอกจากนั้นยังมีอาหารท้องถิ่นเฉพาะถิ่นประโคนชัย อาทิ กุ้งจ่อมผัด, แกงฮ็อง, แกงบวน เป็นต้น
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
  • อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเขาพนมรุ้งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราสาทหินที่งดงามมากแห่งหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายสีชมพู และศิลาแลงอย่างยิ่งใหญ่อลังการมีการออกแบบผังปราสาทตามแนวความเชื่อที่สอดคล้องกับภูมิประเทศศาสนสถานแต่ละส่วนประดับด้วยลวดลายวิจิตรงามตาโดยเฉพาะหน้าบันศิวนาฎราชและทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีความงดงามละเอียดอ่อนช้อย นับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าที่ไม่ควรพลาดชมในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (ประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค.) ของทุกปีจะมีประเพณีเดินขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อชมปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่ามหรรศจรรย์ คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงตรงเป็นลำทะลุช่องประตูปราสาททั้ง 15 บานราวปาฏิหาริย์และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบปีเท่านั้น
  • น้ำตกเขาพนมรุ้ง
  • ปราสาทหนองกง ห่างจากเชิงพนมรุ้งไปทางทิศใต้ 2.8 กิโลเมตร
  • วัดเขาพระอังคาร เป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์, ศาลา และอาคารต่าง ๆ สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่าง ๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดีเพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก
  • เขาอังคาร เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้ง ถึงบ้านตาเป็กแล้วเลี้ยวซ้ายมาตามทางที่จะไปละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 7 กิโลเมตรพบโบราณสถานเก่าแก่ และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีสำคัญหลายชิ้น
น้ำตกเขาพระอังคาร
  • น้ำตกเขาพระอังคาร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสำรวจเพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัด
อำเภอบ้านกรวด
  • แหล่งหินตัด แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ 2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่าง ๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ
  • เตานายเจียน เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ และไหต่าง ๆ
  • เตาสวาย เป็เตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นที่ผลิตเครื่องถ้วยศิลปะขอม ที่มีขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นและสร้างอาคารครอบเตาไว้ ภายในมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ และมีเศษเครื่องถ้วยที่ขุดพบบางส่วน ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
  • จุดผ่อนปรนชายแดนช่องสายตะกู ตั้งอยู่ในเขต เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นตลาดค้าขายติดชายแดนบนเทือกเขาพนมดงรัก ประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าบริเวณชายแดนได้
  • สวนป่าบ้านกรวด เป็นผืนป่าที่มีการปลูกขึ้น เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สามารถชมธรรมชาติได้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติตาพระยา ส่วนหนึ่งของผืนป่ามรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
  • เขื่อนห้วยเมฆา เป็นการพัฒนาพื้นที่แนวชายแดนชายไทย-กัมพูชา บริเวณช่องเขาเมฆาเพื่อใช้น้ำในทางการเกษตรกร โดยได้รับงบประมาณจากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2528
  • พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในเขตตำบลบึงเจริญ
  • ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็นที่เก็บรักษาเครื่องเคลือบที่ขุดพบในเขตอำเภอบ้านกรวด
  • ผึ้งร้อยรัง เป็นสถานที่ที่ผึ้งจะมาทำรังบนต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นร้อย ๆ รัง
  • ปราสาทถมอ ปราสาทหินเก่าแก่สันนิษฐานว่าเป็นธรรมศาลา สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18
  • ปราสาททอง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตลาดสดเทศบาลตำบลบ้านกรวด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 มีการขุดพบทับหลังในสภาพสมบูรณ์
  • ปราสาทละลมทม ตั้งอยู่ที่บ้านศรีสุข ตำบลเขาดินเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16
  • ปราสาทบายแบก ตั้งอยู่ที่บ้านสายโท 5 เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นปราสาทขอมที่ติดชายแดนที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะพิเศษคือ เป็นปราสาทที่หันหน้าทางทิศตะวันตก

ประชากรศาสตร์

[แก้]

กลุ่มชาติพันธุ์

[แก้]

ประชากรในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วยชาวไทยเขมร, ไทยลาว, ไทยโคราช และชาวกูย มีภาษาพูดที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันสี่ภาษาด้วยกันดังนี้

สาธารณสุข

[แก้]
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • โรงพยาบาลนางรอง
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์ราม
  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์
  • โรงพยาบาลห้วยราช
  • โรงพยาบาลกระสัง
  • โรงพยาบาลลำปลายมาศ
  • โรงพยาบาลสตึก
  • โรงพยาบาลคูเมือง
  • โรงพยาบาลประโคนชัย
  • โรงพยาบาลพลับพลาชัย
  • โรงพยาบาลชำนิ
  • โรงพยาบาลหนองหงส์
  • โรงพยาบาลพุทไธสง
  • โรงพยาบาลบ้านกรวด
  • โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ
  • โรงพยาบาลโนนสุวรรณ
  • โรงพยาบาลปะคำ
  • โรงพยาบาลนาโพธิ์
  • โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์
  • โรงพยาบาลหนองกี่
  • โรงพยาบาลโนนดินแดง
  • โรงพยาบาลละหานทราย
  • โรงพยาบาลแคนดง
  • โรงพยาบาลบ้านด่าน

กีฬา

[แก้]
ช้างอารีนา สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

จังหวัดบุรีรัมย์เป็นที่ตั้งของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลใหญ่ในไทยลีก เป็นสโมสรฟุตบอลที่ชนะเลิศไทยลีกมากที่สุดด้วยจำนวน 9 สมัย[17] และเคยทำผลงานระดับทวีปได้ดีที่สุดคือ การเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 โดยมีสยามเหย้าของสโมสร คือ ช้างอารีนา มีความจุ 32,600 ที่นั่ง

นอกจากฟุตบอลแล้ว ยังมีสนามแข่งรถ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ซึ่งเคยใช้จัดแข่งขันโมโตจีพีมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีการจัดแข่งขันมาราธอนในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

สนามกีฬาอื่น ๆ อาทิ สระว่ายน้ำ, สนามเทนนิส ตั้งอยู่ในตัวเทศบาลนครบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังมีโรงพลศึกษาของการกีฬาแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม

วัฒนธรรม

[แก้]

งานประเพณีและเทศกาลท่องเที่ยวสำคัญ

[แก้]
งานดอกฝ้ายคำบาน
ช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. ของทุกปี บริเวณปราสาทเขาพนมรุ้ง
มหกรรมว่าวอีสาน
ช่วงเดือน ม.ค. บริเวณสนามกีฬามหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบุรีรัมย์ อ.ห้วยราช ในงานมีการประกวดขบวนว่าว, ธิดาว่าว, การนำเสนอสินค้า, วัฒนธรรม, ภูมิปัญญาอำเภอห้วยราช และไฮไลท์อยู่ที่ การแข่งขันว่าวอีสานหรือว่าวแอก ที่มีรูปร่างเอกลักษณ์ของบุรีรัมย์ ด้านบนติดแอก ซึ่งแอกเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียง ซึ่งมีการวิ่งว่าวในช่วงเช้าของวันแรก และเอาว่าวลงในช่วงเช้าของวันที่ 2 ในช่วงกลางคืนของคืนแรก จึงมีกิจกรรม "นอนดูดาว ชมว่าวกลางคืน"
มหกรรมมวยไทยเทศกาลกินไก่ไหว้เจ้าพ่อขุนศรี
ประมาณปลายเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอ อ.หนองกี่
นมัสการพระเจ้าใหญ่วัดศีรษะแรด (วัดหงส์)
วันขึ้น 14 ค่ำ ถึงวันแรก 1 ค่ำ เดือน 3 หรือตรงกับ วันมาฆบูชา ของทุกปี ที่วัดศีรษะแรด อ.พุทไธสง
นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ วันมาฆบูชา
งานประเพณีขึ้นเขากระโดง
ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ณ วนอุทยานแห่งชาติเขากระโดง ตำบลเสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์
งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
เดือนเมษายน ของทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า) ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
งานเครื่องเคลือบพันปี
ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอ อ.บ้านกรวด ในงานมีการจัดขบวนนางรำ ขบวนเครื่องเคลือบจำลอง การขายผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุกตำบลในเขตอำเภอบ้านกรวด
งานประเพณีบุญบั้งไฟ
ประมาณสิ้นเดือน พ.ค. - ต้นเดือน มิ.ย. ของทุกปี ที่บ้านหนองบัวลี-หนองบัวลอง ต.ไทยสามัคคี อ.หนองหงส์
งานสืบสานประเพณี ของดีโนนสุวรรณ
จัดขึ้นช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. ของทุกปี ณ บริเวณที่ว่าการ อำเภอโนนสุวรรณ ซึ่งเป็นงานมีการสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ จัดการแข่งขบวนเซิ้งบั้งไฟ และมีการนำเสนอของดีโนนสุวรรณที่หลากหลาย อาทิ ผ้าไหม, ผลไม้ เพราะโนนสุวรรณถือว่าเป็นแหล่งผลไม้สำคัญของจังหวัด อาทิ เงาะ, ทุเรียน, ฝรั่ง ฯลฯ ทำให้ผู้มาเที่ยวงานสามารถเลือกซื้อผลไม้ และสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้จากผู้ผลิตโดยตรง
งานปรางค์กู่สวนแตงและประเพณีบุญบั้งไฟ
จัดขึ้นช่วงเดือน พ.ค. ของทุกปี ณ บริเวณ ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ภายในงานมีการประกวดขบวนบั้งไฟสวยงาม, การประกวดขบวนเซิ้ง, การนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน และการแสดงแสงสีเสียง เล่าเรื่องราวปรางค์กู่สวนแตง โบราณสถานที่สำคัญของบุรีรัมย์
ประเพณีแข่งเรือยาว
วันเสาร์-อาทิตย์แรก ของเดือน พ.ย. ที่ลำน้ำมูล ที่ที่ว่าการ อ.สตึก
งานวันหอมแดง แข่งเรือยาว ชาวหนองหงส์
ช่วงประมาณเดือน ธ.ค. ของทุกปี - มี.ค. ของปีถัดไป ที่หนองสระแก้ว อ.หนองหงส์
ประเพณีแห่ตาปู่แสลงโทน และประเพณีสงกรานต์โบราณชาวแสลงโทน
ช่วงประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค. ของทุกปี ที่บ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

พระภิกษุ

[แก้]

นักการเมือง, ข้าราชการ

[แก้]

นักแสดง, นักร้อง,นางงาม

[แก้]

นักกีฬา

[แก้]

บุคคลทางศิลปะวัฒนธรรม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 3 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/... เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. แจ้งที่อยู่ใหม่ของศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์
  4. "ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม _ หน้าแรก". www.m-culture.in.th.
  5. https://www.facebook.com/722488218128250/posts/1180913005619100/
  6. https://www.gotoknow.org/posts/319388
  7. "สวนนกบุรีรัมย์ แหล่งท่องเที่ยวที่ถูกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "บุรีรัมย์คึกคัก !! นทท.แห่ชมนกช่วงวันหยุด". สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พบฝูง "นกกระเรียนไทย" สูญพันธุ์จากป่า กว่า 10 ตัว ลงหากินในพื้นที่ชุ่มน้ำบุรีรัมย์". สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  11. "แอร์เอเชียฉลองเปิดเที่ยวบิน "ดอนเมือง-บุรีรัมย์" เริ่มต้นเพียง 590 บาท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-19. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "สนามบินบุรีรัมย์เล็งขยายลานจอด-ต่อเติมอาคารผู้โดยสารมุ่งสู่การเป็นสนามบินนานาชาติ". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. https://pasalao.activeboard.com/t50433986/6/
  14. http://www.thaiheritage.net/nation/oldcity/oldcity.htm
  15. http://phanthipnoree22.blogspot.com/2017/02/blog-post.html
  16. http://www.dooasia.com/siam/oldcity/buriram1.shtml
  17. ไร้พ่าย 10 นัด! เจ้อเจียง ฟอร์มกำลังเข้าฝักก่อนดวล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถ้วยเอเชีย

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

15°00′N 103°07′E / 15°N 103.11°E / 15; 103.11