การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500
| ||||||||||||||||||||||
จำนวนทั้งหมด 160 ที่นั่งใน รัฐสภาไทย ต้องการ 81 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | ||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 30% | |||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 นับเป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 8[1] ของประเทศไทย เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหารยึดอำนาจ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งนี้คือ 44.1%[2]
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นไปตามบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้กันในเวลานั้น โดยกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคสหภูมิ เป็นพรรคที่ได้รับคะแนนมากที่สุด โดยได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 45 ที่นั่ง จากจำนวนเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร 160 ที่นั่ง[3] ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่สอง ได้จำนวน 39 ที่นั่ง แต่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อันเป็นเมืองหลวง ทางพรรคได้ใช้ผู้สมัครชุดเดิมจากการเลือกตั้งเมื่อครั้งที่แล้ว ซึ่งได้เพียง 2 ที่นั่ง ครั้งนี้ได้มากถึง 11 ที่นั่ง นับว่ามากที่สุด และทางพรรคชาติสังคม ที่ตั้งขึ้นมาโดยจอมพล สฤษดิ์ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ก็ได้รับเลือกตั้งมาด้วยจำนวน 9 ที่นั่ง[4] โดยภาพรวมการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 30 ซึ่งถือว่าน้อยมาก[5] แต่จอมพลสฤษดิ์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและเป็นหัวหน้าพรรคชาติสังคมมีความกังวลว่าพรรคสหภูมิที่ตนเองให้การสนับสนุนจะไม่มีเสถียรภาพมากพอจึงตัดสินใจยุบพรรคสหภูมิและพรรคเสรีมนังคศิลาพร้อมกับดูด ส.ส. ประเภท 1 ซึ่งไม่สังกัดพรรคและ ส.ส. ประเภท 2 ซึ่งมาจากการแต่งตั้งเข้ามาอยู่ในพรรคชาติสังคม
การจัดตั้งรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ได้แนะนำให้ พลโท ถนอม กิตติขจร รองหัวหน้าพรรคพรรคชาติสังคม ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา โดย พลโท ถนอม กิตติขจร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งแรก ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 โดยมีบุคคลสำคัญบางคนที่ได้รับตำแหน่งในรัฐบาลชุดนี้ ได้แก่ พลโท ประภาส จารุเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ [6]
ขณะที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคม ปีเดียวกัน จอมพล สฤษดิ์ ก็ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้ง โดยประกาศให้ยกเลิกพรรคการเมืองทั้งหมด, ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และยกเลิกรัฐสภา พร้อมกับขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน [7]
ผลการเลือกตั้ง
[แก้]ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1
พรรค | หัวหน้าพรรค | แบ่งเขต | รวม | |||||||
พระนคร | ธนบุรี | กลาง | เหนือ | อีสาน | ใต้ | ตะวันออก | ตะวันตก | |||
สหภูมิ | สุกิจ นิมมานเหมินท์ | - | - | 13 | 2 | 18 | 7 | 2 | 3 | 45 |
ประชาธิปัตย์ | พันตรี ควง อภัยวงศ์ | 8 | 3 | 4 | 10 | 3 | 8 | 1 | 2 | 39 |
เศรษฐกร | เทพ โชตินุชิต | - | - | - | - | 6 | - | - | - | 6 |
เสรีประชาธิปไตย | เมธ รัตนประสิทธิ์ | - | - | - | - | 5 | - | - | - | 5 |
เสรีมนังคศิลา | จอมพล ป. พิบูลสงคราม | - | - | 3 | 1 | - | - | - | - | 4 |
ชาตินิยม | เนตร พูนวิวัฒน์ | - | - | - | 1 | - | - | - | - | 1 |
ขบวนการไฮด์ปาร์ค | ทวีศักดิ์ ตรีพลี | - | - | - | - | 1 | - | - | - | 1 |
อิสระ | เกตุ วงศ์กาไสย | - | - | - | - | 1 | - | - | - | 1 |
ไม่สังกัดพรรค | 1 | - | 15 | 7 | 19 | 7 | 6 | 3 | 58 | |
รวม | 9 | 3 | 35 | 21 | 53 | 22 | 9 | 8 | 160 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
- ↑ Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p278 ISBN 0-19-924959-8
- ↑ "ประวัติพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-07-04.
- ↑ หน้า 292-296, นายควง อภัยวงศ์ กับ พรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (พ.ศ. 2524) สำนักพิมพ์เรืองศิลป์
- ↑ พรรคจอมพล สฤษดิ์ ชนะเสียงข้างมากในสภา มีผู้ใช้สิทธิ์ออกเสียงเพียง 30 % ในการเลือกตั้ง หน้า 73, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ พลโท ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หน้า 73, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ สฤษดิ์ "รัฐประหาร" ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ ยกเลิกพรรคการเมือง คุมสื่อ หน้า 77 กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3