สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมุกดาหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดมุกดาหาร มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 2 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประวัติศาสตร์[แก้]

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยขณะนั้นมุกดาหารยังเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม

ปี พ.ศ. 2525 มุกดาหารยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเป็นครั้งแรก (ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526) โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก คือ นายเฉลิมยศ แสนวิเศษ และ นายปอ ปริปุญโญ

เขตเลือกตั้ง[แก้]

การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2526 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 2 คน (เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2529
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2535/1
พ.ศ. 2535/2
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2544 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอหว้านใหญ่, อำเภอดอนตาล และอำเภอเมืองมุกดาหาร (ยกเว้นตำบลดงมอน ตำบลผึ่งแดด และตำบลนาโสก)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอนิคมคำสร้อย, อำเภอหนองสูง, อำเภอคำชะอี, อำเภอดงหลวง และอำเภอเมืองมุกดาหาร (เฉพาะตำบลดงมอน ตำบลผึ่งแดด และตำบลนาโสก)
2 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 2 คน (เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอหว้านใหญ่, อำเภอดอนตาล และอำเภอเมืองมุกดาหาร (ยกเว้นตำบลดงมอน ตำบลผึ่งแดด และตำบลนาโสก)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอนิคมคำสร้อย, อำเภอหนองสูง, อำเภอคำชะอี, อำเภอดงหลวง และอำเภอเมืองมุกดาหาร (เฉพาะตำบลดงมอน ตำบลผึ่งแดด และตำบลนาโสก)
2 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2566

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต[แก้]

ชุดที่ 14–20; พ.ศ. 2526–2539[แก้]

      พรรคชาติไทย
      พรรคกิจสังคม
      พรรคประชากรไทย
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคสหประชาธิปไตย
      พรรคความหวังใหม่
      พรรคราษฎร
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 14 พ.ศ. 2526 นายเฉลิมยศ แสนวิเศษ นายปอ ปริปุญโญ (เสียชีวิต)
นายเฉลียว ดีวงศ์ (แทนนายปอ)
ชุดที่ 15 พ.ศ. 2529 นางทองสุข ปริปุญโญ นายระวี กิ่งคำวงศ์
ชุดที่ 16 พ.ศ. 2531 นายเฉลิมยศ แสนวิเศษ นายระวี กิ่งคำวงศ์
ชุดที่ 17 พ.ศ. 2535/1 นายเฉลิมยศ แสนวิเศษ ร้อยเอก เอนก นาวาพาณิช
ชุดที่ 18 พ.ศ. 2535/2 นายระวี กิ่งคำวงศ์
ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538 นางวรศุลี เชาว์ศิริกุล
ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539 นายประมวลศิลป์ โภคสวัสดิ์

ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548[แก้]

      พรรคเสรีธรรมพรรคไทยรักไทย
      พรรคไทยรักไทย
      พรรคชาติไทย
เขต ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548
1 นายประมวลศิลป์ โภคสวัสดิ์ นายประมวลศิลป์ โภคสวัสดิ์
2 นางลาวัลย์ ตันติกุลพงศ์
( / เลือกตั้งซ่อม)
นายวิทยา บุตรดีวงค์

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550[แก้]

      พรรคเพื่อแผ่นดิน
      พรรครวมชาติพัฒนา
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
1 นายวิทยา บุตรดีวงค์
นางวรศุลี เชาว์ศิริกุล

ชุดที่ 24–26; พ.ศ. 2554–2566[แก้]

      พรรคเพื่อไทย
      พรรคพลังประชารัฐ
      พรรคก้าวไกล
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2
ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ นายบุญฐิน ประทุมลี
ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562 นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์
(พ้นจากตำแหน่งตามคำพิพากษาของศาลฎีกา/ไม่มีเลือกตั้งซ่อม)
ชุดที่ 26 พ.ศ. 2566 นายวิริยะ ทองผา นายณกร ชารีพันธ์

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]