พรรคก้าวไกล
พรรคก้าวไกล | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้า | พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ |
เลขาธิการ | ชัยธวัช ตุลาธน |
คำขวัญ | ก้าวต่อไป เพื่ออนาคตไทยทุกคน สู่อนาคตใหม่ ก้าวหน้า เท่าเทียม |
ก่อตั้ง | พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1) 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พรรคก้าวไกล 19 มกราคม พ.ศ. 2563 |
ก่อนหน้า | พรรคอนาคตใหม่ |
ที่ทำการ | 167 อาคารอนาคตใหม่ ชั้น 6 ซอยรามคำแหง 42 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร |
จำนวนสมาชิก (ปี 2566) | 44,893 คน[1] |
อุดมการณ์ | |
จุดยืน | กลางซ้าย[8][9][10][11] |
กลุ่มในภูมิภาค | เครือข่ายประชาธิปไตยสังคมนิยมในเอเชีย (SocDem Asia)[12][13] |
สี | สีส้ม |
เพลง | ก้าวไกลก้าวหน้า |
สภาผู้แทนราษฎร | 50 / 500
|
สภากรุงเทพมหานคร | 12 / 50
|
เว็บไซต์ | |
moveforwardparty.org | |
โฆษก | รังสิมันต์ โรม |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคก้าวไกล (อักษรย่อ: ก.ก.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้ชื่อว่า พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย มีการเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคผึ้งหลวง ในปี 2562 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2563 ภายหลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบและสมาชิกส่วนใหญ่ย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล
บทบาททางการเมือง[แก้]
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย[แก้]
จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อว่า พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย มีศักดิ์ชาย พรหมโท และสมพร ศรีมหาพรหม เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก โดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 29/2 หมู่ 14 ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พร้อมกับคำขวัญพรรคว่า "ร่วมพัฒนา พาชาติพ้นวิกฤต พิชิตภัยคอร์รัปชั่น ยึดมั่นความเป็นไทย"[14]
ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ศักดิ์ชายได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค มีการแต่งตั้งสราวุฒิ สิงหกลางพล รองหัวหน้าพรรครักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค[15] ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือก ธนพล พลเยี่ยม และอังกูร ไผ่แก้ว เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่แทนฉบับเดิมโดยได้ย้ายที่ทำการพรรคจากสถานที่เดิมมาอยู่ที่ 31/107 หมู่ 6 ซอยชินเขต 2 แยก 15 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนคำขวัญของพรรคเป็น "ร่วมพัฒนา นำประชาให้หลุดพ้น ทำค่าของคนให้เท่าเทียม"[16]
พรรคผึ้งหลวง[แก้]
ต่อมาธนพลได้ลาออกจากตำแหน่ง[17] ต่อมาพรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคผึ้งหลวง พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่แทนฉบับเดิมโดยได้ย้ายที่ทำการพรรคจากที่เดิมไปอยู่ที่ 168/9 หมู่ 12 ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมถึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเดิมจำนวน 10 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกก้องภพ วังสุนทร และนวิรุฬห์ ชลหาญ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนคำขวัญพรรคใหม่เป็น "พลิกประวัติศาสตร์ พลิกงบพัฒนา 90% สู่หมู่บ้าน/ชุมชน"[18]
ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 วิรุฬห์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคเหลือทั้งสิ้น 9 คน[19] พรรคผึ้งหลวงจึงจัดประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ สำนักงานสาขาพรรคผึ้งหลวง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือกเจษฎา พรหมดี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนใหม่[20]
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ยุคที่ 2)[แก้]
หลังจากนั้นในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พรรคผึ้งหลวงได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 3/2562 ที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค และเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[21] โดยก่อนการลงมติก้องภพซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผึ้งหลวงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคอยู่ และที่ประชุมมีมติเลือกธนพล พลเยี่ยม และอังกูร ไผ่แก้ว ให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคสมัยที่ 2 พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคกลับไปเป็น พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย อีกครั้ง และได้ย้ายที่ทำการพรรคกลับไปยังที่ทำการพรรคเดิมในสมัยที่ธนพลเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 1 โดยมีสถานที่ติดต่อชั่วคราวอยู่ที่ 757/14 หมู่บ้านมิตรภาพ ถนนอ่อนนุช 46 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร[22][23]
พรรคก้าวไกล[แก้]
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 พรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2563 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค ชื่อพรรค ตราสัญลักษณ์พรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[24] โดยที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคก้าวไกล และที่ประชุมพรรคมีมติเลือกราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ และปีใหม่ รัฐวงษา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[25] แต่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ราเชนธร์ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ทำให้ปีใหม่ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคต้องรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค[26]
ในเดือนมีนาคม 2563 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แถลงข่าวนำ ส.ส. ทั้ง 55 คนของอดีตพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคเข้าสังกัดพรรคก้าวไกลอย่างเป็นทางการ และที่ประชุมได้เลือกให้พิธาเป็นรักษาการประธาน ส.ส. และแต่งตั้งวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นรักษาการโฆษกของกลุ่ม ต่อมาที่ประชุมพรรคมีมติเลือกพิธา เป็นหัวหน้าพรรค และเลือกชัยธวัช ตุลาธน อดีตรองเลขาธิการ พรรคอนาคตใหม่ เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[27][28] ต่อมาในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565 พรรคก้าวไกลได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคขึ้นโดยได้มีการปรับเปลี่ยนในส่วนของคณะกรรมการบริหารพรรคบางส่วนพร้อมกับแต่งตั้ง พริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายของพรรค[29]
พิธากล่าวยืนยันว่า พรรคก้าวไกลจะสานต่ออุดมการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการ "ยึดมั่นประชาธิปไตย ต่อต้านการรัฐประหาร" และการ "ผลักดันนโยบายที่ก้าวหน้าต่อไป"[30] ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส. พรรคก้าวไกล ได้กล่าวว่าพรรคก้าวไกลจะเน้นทำงานการเมืองในสภาและในระดับประเทศเป็นหลัก และการที่คณะก้าวหน้าทำงานในการเมืองท้องถิ่นนั้น "ไม่ได้เป็นเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น ในทางกลับกันแล้วคณะของคุณธนาธร และอาจารย์ปิยบุตร ควรจะได้ทำงานในสภา แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น ก็ต้องทำงานการเมืองด้านอื่นแทน อย่างการส่งผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่น"[31] ในการเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 พรรคก้าวไกลได้ส่ง วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส. พรรคก้าวไกล ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[32] และส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครบทุก 50 เขต[33]
ร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลผลักดันเข้าสู่สภา เช่น ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า[34] และร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม[35]
ในปี 2565 นักการเมืองพรรคเพื่อไทยบางคนกล่าวหาพรรคก้าวไกลที่ไม่ใช่วิธีการไม่เข้าร่วมประชุมเช่นกันว่าต้องการสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อแบบ "หาร 500"[36][37] ขณะที่พิธายืนยันว่าพรรคสนับสนุน "สูตรหาร 100"[38]
ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2566 พรรคก้าวไกลมีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[39] นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชัน "ก้าวไกลทูเดย์" เพื่อรวบรวมกระแสทางโซเชียลมีเดียให้ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพรรคได้[40]
บุคลากร[แก้]
หัวหน้าพรรค[แก้]
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1) | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่ม | สิ้นสุด |
1 | ศักดิ์ชาย พรหมโท | 1 พฤษภาคม 2557 | 15 ธันวาคม 2560 |
- | สราวุฒิ สิงหกลางพล | 15 ธันวาคม 2560 | 9 พฤศจิกายน 2561 |
2 | ธนพล พลเยี่ยม | 9 พฤศจิกายน 2561 | - |
พรรคผึ้งหลวง | |||
3 | ก้องภพ วังสุนทร | 19 มกราคม 2562 | 7 ธันวาคม 2562 |
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 2) | |||
(2) | ธนพล พลเยี่ยม | 7 ธันวาคม 2562 | 19 มกราคม 2563 |
พรรคก้าวไกล | |||
4 | ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ | 19 มกราคม 2563 | 18 กุมภาพันธ์ 2563 |
- | ปีใหม่ รัฐวงษา | 18 กุมภาพันธ์ 2563 | 14 มีนาคม 2563 |
5 | พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ | 14 มีนาคม 2563 | ปัจจุบัน |
เลขาธิการพรรค[แก้]
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1) | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | สมพร ศรีมหาพรหม | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 |
15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
(รักษาการ) |
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | ||
2 | อังกูร ไผ่แก้ว | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | ? |
พรรคผึ้งหลวง | |||
3 | วิรุฬห์ ชลหาญ | 19 มกราคม พ.ศ. 2562 | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 |
- | นฤมล พานโคกสูง (รองเลขาธิการพรรค รักษาการ) |
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 |
4 | เจษฎา พรหมดี | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 |
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 2) | |||
(2) | อังกูร ไผ่แก้ว | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | 19 มกราคม พ.ศ. 2563 |
พรรคก้าวไกล | |||
5 | ปีใหม่ รัฐวงษา | 19 มกราคม พ.ศ. 2563 | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 |
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
(รักษาการ) |
14 มีนาคม พ.ศ. 2563 | ||
6 | ชัยธวัช ตุลาธน | 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน |
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
- ↑ "Move Forward Party to be Future home for 55 FFP MPs". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Stepping out of shadows". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "'Progressive Movement' born". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Moving Forward: 55 Disbanded MPs Join New Party". Khaosodenglish.com. 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ Reuters Editorial (5 May 2020). "Thai lawmakers from dissolved prominent opposition party to join new party". Reuters. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ Boonbandit, Tappanai (9 March 2020). "Moving Forward: 55 Disbanded MPs Join New Party". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "New Thai group to replace dissolved Future Forward Party, SE Asia News & Top Stories". The Straits Times. 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "50 MPs join Move Forward". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Change at the top?". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ Regan, Helen (10 March 2020). "His party was banned. He faces jail. But Thailand's Thanathorn Juangroongruangkit vows to fight on - CNN". Edition.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "'ธนาธร' ชี้ไทยไม่มีประชาธิปไตย ส่งผลทั้งต่อคนไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน ถึงประชาคมโลก". มติชน. 25 พฤษภาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "About Us". SocDem Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2022.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 19 Jun 2014
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 15 Feb 2018
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 22 Mar 2019
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 22 Mar 2019
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง (ชื่อเดิมพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย) จาก ราชกิจจานุเบกษา 6 Jun 2019
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง จาก ราชกิจจานุเบกษา 10 Oct 2019
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง จาก ราชกิจจานุเบกษา 13 Feb 2020
- ↑ ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรค 5 Dec 2019
- ↑ "ก่อน ส.ส.ส้มเทกโอเวอร์? ใครเป็นใคร-ทำความรู้จัก'พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย-ผึ้งหลวง'". สำนักข่าวอิศรา. 2020-03-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ชื่อเดิมพรรคผึ้งหลวง) จาก ราชกิจจานุเบกษา 16 Apr 2020
- ↑ ประชุมใหญ่สามัญ 12 Jan 2020
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล (ชื่อเดิมพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย) จาก ราชกิจจานุเบกษา 7 May 2020
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล จาก ราชกิจจานุเบกษา 14 May 2020
- ↑ "ไม่ผิดคาด "ทิม พิธา" นั่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมเปิดตัวโลโก้ใหม่". www.thairath.co.th. 2020-03-14.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล จาก ราชกิจจานุเบกษา 20 Oct 2020
- ↑ Pornthida (2022-04-30). "ก้าวไกล จัดทัพใหม่สู้เลือกตั้ง แก้ข้อบังคับเอาผิดคุกคามทางเพศ". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ ตรีสุวรรณ, หทัยกาญจน์ (8 มีนาคม 2020). "พรรคก้าวไกล : ทิม-พิธาประกาศสานต่ออุดมการณ์อนาคตใหม่ นำทีม 55 ส.ส. ย้าย 'บ้านใหม่ หัวใจเดิม'". บีบีซี.
- ↑ "เลือกตั้งท้องถิ่น 'ก้าวไกล-ก้าวหน้า' แยกกันเดิน ไม่ร่วมกันตี". กรุงเทพธุรกิจ. 18 มิถุนายน 2020.
- ↑ ไทยรัฐออนไลน์ (23 มกราคม 2022). ""ก้าวไกล" เปิดตัว "วิโรจน์ ลักขณาอดิศร" ลงชิงผู้ว่าฯ กทม.ตามคาด". ไทยรัฐ.
- ↑ "ส.ก.ก้าวไกล มาแรง ลุ้นเสียงข้างมากสภา กทม". ประชาชาติธุรกิจ. 12 พฤษภาคม 2022.
- ↑ workpointTODAY Writer (8 มิถุนายน 2022). "สภาฯ รับหลักการ ร่างพ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ตั้งกมธ.วิสามัญ แปรญัตติ 7 วัน ประชาชน รายย่อยได้ลุ้น ผลิตเหล้า-เบียร์เอง". เวิร์คพอยท์ทูเดย์.
- ↑ "ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม-คู่ชีวิต : ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง ก่อนบังคับใช้เป็นกฎหมาย". บีบีซี. 15 มิถุนายน 2022.
- ↑ "แพแตก! 'บิ๊กเพื่อไทย' ประณาม 'ก้าวไกล' เล่นบทสองหน้า ปู้ยี่ปู้ยำประชาธิปไตย". ไทยโพสต์. 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
- ↑ "สูตรหาร 500 เอฟเฟกต์! ส.ส.วัน ลั่นผมมีสิทธิ์ที่จะคิด 'ก้าวไกล' เล่นบทสองหน้า". ไทยโพสต์. 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
- ↑ ""พิธา" ยันจุดยืน "ก้าวไกล" หนุนสูตรหาร 100 เชื่อไม่มียื้อกม.เลือกตั้งเกิน 180 วัน". สยามรัฐ. 4 August 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
- ↑ "อนาคตก้าวไกล กลางดงต้านนโยบายแก้ ม. 112". BBC News ไทย. 24 October 2022. สืบค้นเมื่อ 27 January 2023.
- ↑ matichon (2023-01-28). "'ก้าวไกล' จัดประชุมใหญ่ 'ชัยธวัช' ปลื้มสมาชิกแซงสมัยอนาคตใหม่ ผุดเเอพพ์ 'ก้าวไกลทูเดย์'". มติชนออนไลน์.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- พรรคก้าวไกล ที่เฟซบุ๊ก
- พรรคก้าวไกล ที่ทวิตเตอร์
- พรรคก้าวไกล ที่ยูทูบ1
- พรรคก้าวไกล ที่ยูทูบ2