ข้ามไปเนื้อหา

นิคม บุญวิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิคม บุญวิเศษ
หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าก่อตั้งพรรค
ถัดไปเอก จาดดำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคการเมืองพลังปวงชนไทย (2561–2566)
เพื่อไทย (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสรัตติกร เครือริยะ[1]

นิคม บุญวิเศษ (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2513) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นอดีตหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย[2] และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังปวงชนไทย[3]

ประวัติ

[แก้]

นิคม บุญวิเศษ เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และระดับปริญญาโท จากคณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

นิคม บุญวิเศษ ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นในปี 2561 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคพลังปวงชนไทย" และเขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก[4] โดยในสมัยนั้นเขาเป็นหัวน้าพรรคการเมืองขนาดเล็ก (พรรคเสียงเดียว) เพียงพรรคเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ สนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี[5]

ต่อมาเขาถูกสมาชิกพรรคกล่าวหาว่าหลอกลวงในเรื่องค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง[6] ในที่สุดในปี 2566 เขาจึงลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกพรรคพลังปวงชนไทย[7] และสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย กระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สะสมพระเครื่อง! เปิดเซฟ 'นิคม บุญวิเศษ' อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พลังปวงชนไทย 109 ล.
  2. นิคม บุญวิเศษ หน.พรรคเล็กขั้วปชต.
  3. คนตามข่าว : นิคม บุญวิเศษ ยื่นร้องส่งตีความ-เลื่อนถกพรรค
  4. [โต ท่าน้ำ] "นิคม" สส.ปากกล้าดาวสภาดวงใหม่ ฉลองเงียบ
  5. ทำความรู้จัก "พรรคพลังปวงชนไทย"
  6. จี้กกต.ถอดถอน 'นิคม' พ้นส.ส. สังกัดพลังปวงชนไทย
  7. ราชกิจจาฯ ประกาศ "พันธุ์ศักดิ์ ซาบุ" เลื่อนเป็น ส.ส. แทน "นิคม บุญวิเศษ"
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔