สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดพะเยา มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 3 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประวัติศาสตร์[แก้]

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยขณะนั้นพะเยายังเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย

ปี พ.ศ. 2520 พะเยายกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเป็นครั้งแรก (ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522) โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก คือ นางสาวพวงเล็ก ตันบรรจง, นายประพันธ์ อัมพุช และร้อยตำรวจตรี บัณฑิต วรการบัญชา

  • นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากครั้งที่สุด คือ 7 สมัย ได้แก่ นางพวงเล็ก บุญเชียง
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีคนแรกของจังหวัดพะเยา คือ นางสาวพวงเล็ก ตันบรรจง (จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522)
  • ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด คือ

เขตเลือกตั้ง[แก้]

การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2522 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2529
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2535/1
พ.ศ. 2535/2
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2544 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองพะเยาและอำเภอแม่ใจ
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอจุน, อำเภอเชียงคำ และกิ่งอำเภอภูซาง
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอปง, อำเภอเชียงม่วน, อำเภอดอกคำใต้ และกิ่งอำเภอภูกามยาว
Phayao Constituencies for the 2001 General Election.svg 3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองพะเยาและอำเภอแม่ใจ
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอภูซาง, อำเภอเชียงคำ และอำเภอจุน
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอปง, อำเภอเชียงม่วน, อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอภูกามยาว
Phayao Constituencies for the 2001 General Election.svg 3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2566

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต[แก้]

ชุดที่ 13–20; พ.ศ. 2522–2539[แก้]

      พรรคชาติไทย
      พรรคกิจสังคม
      พรรคชาติประชาธิปไตย
      พรรคสหประชาธิปไตย
      พรรครวมไทย (2529) → พรรคเอกภาพ (2531)
      พรรคสามัคคีธรรม
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 13 พ.ศ. 2522 นางสาวพวงเล็ก ตันบรรจง นายประพันธ์ อัมพุช ร้อยตำรวจตรี บัณฑิต วรการบัญชา
ชุดที่ 14 พ.ศ. 2526 นางพวงเล็ก บุญเชียง นายเชวง วงศ์ใหญ่ จ่าสิบเอก แสวง ปรีเลิศ
ชุดที่ 15 พ.ศ. 2529 นายเชวง วงศ์ใหญ่ นายหลง ศิริพันธ์
ชุดที่ 16 พ.ศ. 2531 นายเชวง วงศ์ใหญ่ นายวิชาญ ไพบูลย์ศิริรัตน์
ชุดที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 นายทองคำ เขื่อนทา นายวินิจฉัย ธนะรังสฤษฏ์
ชุดที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2535 นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ นายวิทยา ศรีจันทร์
ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538 นายสฤษฏ์ อึ้งอภินันท์
ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539 นายไพโรจน์ ตันบรรจง นายสวัสดิ์ คำวงษา

ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548[แก้]

      พรรคไทยรักไทย
เขต ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548
1 นางสาวอรุณี ชำนาญยา
2 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
3 นายเกรียงไกร ไชยมงคล นายไพโรจน์ ตันบรรจง

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550[แก้]

      พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
1 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
นางสาวอรุณี ชำนาญยา
นายไพโรจน์ ตันบรรจง

ชุดที่ 24–25; พ.ศ. 2554–2562[แก้]

      พรรคเพื่อไทย
      พรรคพลังประชารัฐ พรรคเศรษฐกิจไทย → พรรคพลังประชารัฐ
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 3
ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 นางสาวอรุณี ชำนาญยา นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ นายไพโรจน์ ตันบรรจง
ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า นายจีรเดช ศรีวิราช

รูปภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]