พิชัย เกียรติวินัยสกุล
พิชัย เกียรติวินัยสกุล | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลพบุรี เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2498 (65 ปี) |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
นายพิชัย เกียรติวินัยสกุล (เกิด 3 ธันวาคม พ.ศ. 2498) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ[แก้]
พิชัย เกียรติวินัยสกุล เกิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายเตี๊ยกกู่ แซ่โง้ว และนางฮุ้น สุภาพัตร์ มีพี่น้อง 7 คน หนึ่งในนั้นคือนายพูนศักดิ์ เกียรติวินัยสกุล ส.อบจ.ลพบุรี ซึ่งเคยถูกลอบสังหาร แต่สามารถรอดชีวิตมาได้[1] และเป็นญาติของนายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคไทยรักไทย ที่ปัจจุบันย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางพรรณอร มีบุตร 3 คน
งานการเมือง[แก้]
อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ตามลำดับ รวมทั้งเป็นประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติจังหวัดลพบุรี[2]
ปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก โดยสามารถเอาชนะนางผ่องศรี ธาราภูมิ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และนายรังสรรค์ สละชีพ จากพรรคภูมิใจไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
พิชัย เกียรติวินัยสกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2555 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ยิงสจ.ดังปางตาย คาดขัดการเมือง
- ↑ ปลิดชีวิต "สุบรรณ" นายก อบจ.ลพบุรี ใครหวังผลอะไร?
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- นายพิชัย เกียรติวินัยสกุล, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายพิชัย เกียรติวินัยสกุล, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายพิชัย เกียรติวินัยสกุล), ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง