การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563

← 2556–57 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 2565 →

จำนวนทั้งสิ้น 76 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง
ลงทะเบียน46,573,974
ผู้ใช้สิทธิ29,274,372 (ร้อยละ 62.86)
  First party Second party Third party
 
พรรค เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ไม่สังกัดพรรคใด
จังหวัดที่ชนะ 9 1 66

แผนที่แสดงผลการเลือกตั้งนายก อบจ. พ.ศ. 2563
     ผู้สมัครไม่สังกัดพรรคใด      เพื่อไทย      ประชาธิปัตย์
หน่วยเลือกตั้งที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2563 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เพื่อเลือกตั้งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด ถือเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562[1]

ที่มานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยมีที่มา ดังนี้

  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกเกิน 1 คน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง เท่ากับจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะพึงมีในอำเภอนั้น และมีสมาชิกเขตเลือกตั้งละ 1 คน

องค์ประกอบของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละจังหวัด ขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎรของจังหวัดนั้น โดยกำหนดไว้ดังนี้

จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละจังหวัด
จำนวนราษฎร จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ไม่เกิน 500,000 คน 24 คน
เกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1 ล้านคน 30 คน
เกิน 1 ล้านคน แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านคน 36 คน
เกิน 1.5 ล้านคน แต่ไม่เกิน 2 ล้านคน 42 คน
2 ล้านคนขึ้นไป 48 คน

วาระการดำรงตำแหน่ง[แก้]

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปีก็ให้ถือว่าเป็น 1 วาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

รายนามนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

รูปแบบ ความหมาย
ดำรงสมาชิกภาพ
สิ้นสุดสมาชิกภาพ
กลุ่ม{{}} กลุ่มการเมืองที่ได้รับการสนับสนุน
จากพรรคการเมืองนั้นๆ
พรรค{{}} ผู้สมัครจากพรรคการเมืองนั้นๆ
สีกลุ่ม สีพรรค
กลุ่ม เพื่อไทย
กลุ่ม พลังประชารัฐ
กลุ่ม ภูมิใจไทย
กลุ่ม ประชาธิปัตย์
กลุ่ม ชาติไทยพัฒนา

แยกตามรายภาคตามการแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน[2]

ภาคกลาง[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม สังกัด หมายเหตุ
กำแพงเพชร สุนทร รัตนากร กลุ่มกำแพงเพชรสามัคคี
ชัยนาท อนุสรณ์ นาคาศัย ผู้สมัครอิสระ
นครนายก จักรพันธ์ จินตนาพากานนท์ ผู้สมัครอิสระ
นครปฐม จิรวัฒน์ สะสมทรัพย์ กลุ่มชาวบ้าน
นครสวรรค์ สมศักดิ์ จันทะพิงค์ กลุ่มนครสวรรค์บ้านเรา
นนทบุรี ธงชัย เย็นประเสริฐ กลุ่มผึ้งหลวง
ปทุมธานี คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง กลุ่มคนรักปทุม
พระนครศรีอยุธยา สมทรง พันธ์เจริญวรกุล ผู้สมัครอิสระ
พิจิตร กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์ กลุ่มพัฒนาจังหวัดพิจิตร
พิษณุโลก มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ กลุ่มพลังพิษณุโลก
เพชรบูรณ์ อัครเดช ทองใจสด ผู้สมัครอิสระ
ลพบุรี อรพิน จิระพันธุ์วาณิช ผู้สมัครอิสระ
สมุทรปราการ นันทิดา แก้วบัวสาย กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า
สมุทรสงคราม สุกานดา ปานะสุทธะ กลุ่มสมุทรสงครามประชารัฐ
สมุทรสาคร อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ กลุ่มคนทำงาน
สระบุรี สัญญา บุญหลง ผู้สมัครอิสระ
จังหวัดสิงห์บุรี ศุภวัฒน์ เทียนถาวร ผู้สมัครอิสระ
สุโขทัย มนู พุกประเสริฐ ผู้สมัครอิสระ
สุพรรณบุรี บุญชู จันทร์สุวรรณ ผู้สมัครอิสระ
อ่างทอง สุรเชษ นิ่มกุล กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด
อุทัยธานี เผด็จ นุ้ยปรี ผู้สมัครอิสระ

ภาคเหนือ[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม สังกัด หมายเหตุ
เชียงราย อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ ผู้สมัครอิสระ
เชียงใหม่ พิชัย เลิศพงศ์อดิศร พรรคเพื่อไทย
น่าน นพรัตน์ ถาวงศ์ พรรคเพื่อไทย
พะเยา อัครา พรหมเผ่า กลุ่มฮักพะเยา
แพร่ อนุวัธ วงศ์วรรณ พรรคเพื่อไทย
แม่ฮ่องสอน อัครเดช วันไชยธนวงศ์ ผู้สมัครอิสระ
ลำปาง ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร พรรคเพื่อไทย
ลำพูน อนุสรณ์ วงศ์วรรณ พรรคเพื่อไทย
อุตรดิตถ์ ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา กลุ่มรักอุตรดิตถ์บ้านเรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม สังกัด หมายเหตุ
กาฬสินธุ์ ชานุวัฒน์ วรามิต กลุ่มกาฬสินธุ์ต้องดีกว่านี้ ศาลสั่งให้เลือกตั้งใหม่[3]
เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล พรรคเพื่อไทย เลือกตั้งใหม่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ขอนแก่น พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ ผู้สมัครอิสระ
ชัยภูมิ อร่าม โล่ห์วีระ ผู้สมัครอิสระ ปัจจุบันสังกัด พรรคพลังประชารัฐ
นครพนม ศุภพานี โพธิ์สุ กลุ่มนครพนมร่วมใจ
นครราชสีมา ยลดา หวังศุภกิจโกศล กลุ่มร่วมสร้างโคราชโฉมใหม่
บึงกาฬ แว่นฟ้า ทองศรี กลุ่มนครนาคา
บุรีรัมย์ ภูษิต เล็กอุดากร กลุ่มเพื่อนเนวิน
มหาสารคาม คมคาย อุดรพิมพ์ ผู้สมัครอิสระ
มุกดาหาร จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ พรรคเพื่อไทย
ยโสธร วิเชียร สมวงศ์ พรรคเพื่อไทย
ร้อยเอ็ด เอกภาพ พลซื่อ ผู้สมัครอิสระ ศาลพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง[4]
เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ พรรคเพื่อไทย เลือกตั้งใหม่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565
เลย ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ กลุ่มพัฒนา ลาออก 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[5]
ชัยธวัช เนียมศิริ เลือกตั้งใหม่ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567
ศรีสะเกษ วิชิต ไตรสรณกุล ผู้สมัครอิสระ
สกลนคร ชูพงศ์ คำจวง กลุ่มเพื่อไทยสกลนคร
สุรินทร์ พรชัย มุ่งเจริญพร กลุ่มสุรินทร์รวมใจ
หนองคาย ยุทธนา ศรีตะบุตร กลุ่มรักหนองคาย
หนองบัวลำภู วุฒิพงษ์ ศิริสถิตย์ กลุ่มรักหนองบัว
อุดรธานี วิเชียร ขาวขำ กลุ่มเพื่อไทยอุดรธานี
อุบลราชธานี กานต์ กัลป์ตินันท์ พรรคเพื่อไทย
อำนาจเจริญ วันเพ็ญ ตั้งสกุล กลุ่มภูมิใจไทอำนาจเจริญ

ภาคใต้[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม สังกัด หมายเหตุ
กระบี่ สมศักดิ์ กิตติธรกุล กลุ่มรักษ์กระบี่
ชุมพร นพพร อุสิทธิ์ กลุ่มพลังชุมพร
ตรัง บุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ กลุ่มกิจปวงชนคนใหม่
นครศรีธรรมราช กนกพร เดชเดโช กลุ่มพลังเมืองนคร
นราธิวาส กูเซ็ง ยาวอะหะซัน ผู้สมัครอิสระ ปัจจุบันสังกัด พรรครวมไทยสร้างชาติ[6]
ปัตตานี เศรษฐ์ อัลยุฟรี ผู้สมัครอิสระ
พังงา ธราธิป ทองเจิม กลุ่มร่วมสร้างพังงา
พัทลุง วิสุทธิ์ ธรรมเพชร กลุ่มพลังพัทลุง ปัจจุบันสังกัด พรรครวมไทยสร้างชาติ
ภูเก็ต เรวัต อารีรอบ กลุ่มภูเก็ตหยัดได้
ยะลา มุขตาร์ มะทา กลุ่มยะลาพัฒนา
ระนอง ธนกร บริสุทธิญาณี กลุ่มรวมพลังระนอง
สงขลา ไพเจน มากสุวรรณ์ พรรคประชาธิปัตย์
สตูล สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ กลุ่มสตูลสันติธรรม
สุราษฎร์ธานี พงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว กลุ่มคนรักสุราษฎร์ ปัจจุบันสังกัด พรรครวมไทยสร้างชาติ[7]

ภาคตะวันออก[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม สังกัด หมายเหตุ
จันทบุรี ธนภณ กิจกาญจน์ ผู้สมัครอิสระ
ฉะเชิงเทรา กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ กลุ่มแปดริ้วโฉมใหม่
ชลบุรี วิทยา คุณปลื้ม กลุ่มเรารักชลบุรี
ตราด วิเชียร ทรัพย์เจริญ กลุ่มลูกเมืองตราด
ปราจีนบุรี สุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครอิสระ
ระยอง ปิยะ ปิตุเตชะ ผู้สมัครอิสระ
สระแก้ว ขวัญเรือน เทียนทอง ผู้สมัครอิสระ ลาออก 31 มกราคม พ.ศ. 2566
ฐานิสร์ เทียนทอง ผู้สมัครอิสระ เลือกตั้งใหม่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566

ภาคตะวันตก[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม สังกัด หมายเหตุ
กาญจนบุรี สุรพงษ์ ปิยะโชติ กลุ่มพลังกาญจน์ ลาออก 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566[8]
ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ เลือกตั้งใหม่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566[9]
ตาก ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ กลุ่มพัฒนาตาก
ประจวบคีรีขันธ์ สราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ ผู้สมัครอิสระ
เพชรบุรี ชัยยะ อังกินันทน์ กลุ่มรวมใจเพชร
ราชบุรี วิวัฒน์ นิติกาญจนา กลุ่มพัฒนาราชบุรี

หลังการเลือกตั้ง[แก้]

14 เมษายน พ.ศ. 2565 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนทุจริตการเลือกตั้ง และได้มีมติทั้งสั่งเพิกถอนสิทธิสมัคร-ดำเนินคดีอาญา, เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง-ดำเนินคดีอาญา, และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่แล้ว จำนวน 5 ราย[10]

รูปแบบ ความหมาย
ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ.ใหม่
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง-ดำเนินคดีอาญา
เพิกถอนสิทธิสมัคร-ดำเนินคดีอาญา
ลำดับ นาม จังหวัด ข้อกล่าวหา มติ กกต. หมายเหตุ
1 ขวัญเรือน เทียนทอง สระแก้ว หัวคะแนนให้เงินซื้อเสียง อยู่ระหว่างการยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ให้พิจารณาสั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ.สระแก้วใหม่ แต่ขวัญเรือนลาออกจากตำแหน่งเสียก่อน เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566
2 พงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว สุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยหาเสียงให้ซองบุญบวชพระ อยู่ระหว่างการยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ให้พิจารณาสั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ.สุราษฎร์ธานีใหม่
3 เอกภาพ พลซื่อ ร้อยเอ็ด ปราศรัยใส่ร้าย มังกร ยนต์ตระกูล ผู้สมัครนายกอบจ. ศาลพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง
4 ชานุวัฒน์ วรามิตร กาฬสินธุ์ ผู้ช่วยหาเสียงของโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเก็บป้ายหาเสียงของชานุวัฒน์ไปใช้ประโยชน์ได้ฟรี ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ.กาฬสินธุ์ใหม่
5 อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ สมุทรสาคร ส.อบจ.โพสต์บทสนทนาในบัญชีเฟซบุ๊กของตนว่า "ได้ช่วยฝากหลานของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนหนึ่งเข้าโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว และขอให้อีกฝ่ายลงคะแนนให้แก่นายอุดม" ศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง เหตุไม่ได้กระทำขัดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น[11]
6 จุรีพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด
(ผู้สมัคร)
เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนแก่ตัวเอง[12] อยู่ระหว่างการยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ให้พิจารณาตัดสิทธิ์ทางการเมือง
7 รัชนี พลซื่อ ร้อยเอ็ด
(ผู้สมัคร)
ทุจริตแจกเงินชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จูงใจลงคะแนนสมัยเลือกตั้งซ่อมนายก อบจ. พ.ศ. 2565[13] อยู่ระหว่างการยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ให้พิจารณาตัดสิทธิ์ทางการเมือง

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/089/T_0001.PDF
  2. เช็กผลเลือกตั้ง นายก อบจ. 76 จังหวัด กกต.ประกาศแล้ว
  3. ศาลอุทธรณ์ให้ใบเหลือง “ชานุวัฒน์” เลือกตั้งใหม่ “นายก อบจ.กาฬสินธุ์”
  4. ศาลให้ใบแดง 'เอกภาพ พลซื่อ' ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี
  5. นายก อบจ.เลย (นายกอาร์ท) ขอลาออกจากตำแหน่ง
  6. ศูนย์ข่าวภาคใต้ (2024-03-02). "บ้านใหญ่นราฯ "กูเซ็ง ยาวอหะซัน" นำทีมซบ "พรรคลุงตู่"". สำนักข่าวอิศรา.
  7. ""พงษ์ศักดิ์" เคลียร์คัต "สุเทพ" ไร้เอี่ยวรวมไทยฯ มั่นใจกระแสคนสุราษฎร์ตอบรับ". mgronline.com. 2022-12-09.
  8. ฐานเศรษฐกิจ (2023-09-01). ""หมอหนุ่ย-สุรพงษ์ ปิยะโชติ" ลาออกนายกอบจ.กาญจนบุรี จ่อนั่งรมช.คมนาคม". thansettakij.
  9. "คึกคักอีกแล้วเมืองกาญจน์ เตรียมเลือกนายก อบจ.ใหม่ หลังคนเก่าถูกแต่งตั้งเป็น รมช.คมนาคม". mgronline.com. 2023-09-01.
  10. "ส่อง "5 นายกอบจ." โดนกกต.ฟัน 1 ใบดำ 1 ใบแดง 4 ใบเหลือง รอศาลอุทธรณ์ชี้ชะตา". thansettakij. 2022-04-14.
  11. ""อุดม ไกรวัตนุสสรณ์"เฮ! ได้ไปต่อ"นายกอบจ.สมุทรสาคร"". thansettakij. 2022-05-25.
  12. "เลือกตั้ง 2566 : กกต. ให้ใบแดง 'จุรีพร สินธุไพร' หาเสียงผิดกฎหมายช่วงเลือกตั้ง อบจ.ร้อยเอ็ด". THE STANDARD. 2023-04-07.
  13. "กกต.ยื่นศาลฟันใบดำ-ใบแดง 'รัชนี พลซื่อ' ส.ส.ร้อยเอ็ด พปชร. ทุจริตเลือกตั้งซ่อมนายกอบจ". matichon.co.th. 2024-03-18.