เกียรติศักดิ์ ส่องแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกียรติศักดิ์ ส่องแสง
เกียรติศักดิ์ ใน พ.ศ. 2555
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 ธันวาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาราช (?)
ประชาธิปัตย์ (2554–2564)
เพื่อไทย (2564–2565)
พลังประชารัฐ (2565–ปัจจุบัน)

เกียรติศักดิ์ ส่องแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ประวัติ[แก้]

เกียรติศักดิ์ ส่องแสง เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ที่ อ.ตระการพืชผล[2] จ.อุบลราชธานี[3] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท สาขาการวัดผลการศึกษา ปริญญาเอกสาขาการทดสอบและประเมินผลการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

การทำงาน[แก้]

ทำงานด้วยการเริ่มรับราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ประจำที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2532 ต่อมาได้โอนมารับราชการเป็นนักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ในปี พ.ศ. 2537 จากนั้นในปีถัดมาได้โอนไปสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุขมหาเมฆ และย้ายมาประจำที่ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540

งานการเมือง[แก้]

เกียรติศักดิ์ ส่องแสง ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดปทุมธานี เขต 4 แต่แพ้ให้กับว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี จากพรรคเพื่อไทย[4]แต่ในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 5 ปทุมธานี พ.ศ. 2555 แทน ว่าที่ ร.ต. สุเมธ ที่ลาออกไปลงสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555 ดร.เกียรติศักดิ์ สามารถเอาชนะผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย[5] และนับเป็นชัยชนะครั้งแรกในรอบหลายปีของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ดังกล่าว

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6] ต่อมาปี 2564 เขาย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[7] และมีกระแสข่าวลือว่าพรรคเพื่อไทยจะวางตัวให้ลงสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตในพื้นที่ จ. ปทุมธานี จนทำให้ผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยในพื้นที่ จ.ปทุมธานีออกมาคัดค้าน เนื่องจากพฤติกรรมในอดีตโดยเฉพาะเมื่อครั้งเคลื่อนไหวกับ กปปส. ที่แสดงตนเป็นปรปักษ์กับพรรคเพื่อไทย และได้ยื่นหนังสือเพื่อให้พรรคเพื่อไทยทบทวนการให้นายเกียรติศักดิ์ลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรคเพื่อไทย [8] และในปี 2565 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[9]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เกียรติศักดิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เขต 6 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (จังหวัดปทุมธานี นายเกียรติศักดิ์ ส่องแสง พรรคประชาธิปัตย์)
  2. เสียงชนบทไทย, รายการ: พุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ทางบลูสกายแชนแนล
  3. เกียรติศักดิ์ ส่องแสง ชนะเลือกตั้งส.ส.ปทุม
  4. ผลการเลือกตั้ง
  5. ล็อกถล่ม! เลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 5 ปทุมฯ "ปชป." ชนะ "พท." ผู้สมัครเพื่อไทยยอมรับ โอดคนใช้สิทธิน้อย
  6. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. เปิดโพรไฟล์ธุรกิจ-ทรัพย์สิน“เกียรติศักดิ์ ส่องแสง”ทิ้ง ปชป.ซบเพื่อไทย
  8. ชาวปทุมฯ ยื่นหนังสือค้านพท.ส่งผู้สมัครส.ส.ที่เพิ่งย้ายมา ชี้เคยเป็นกปปส.ตัวพ่อ-ด่านายกฯของพท.
  9. "เกียรติศักดิ์" อดีต ส.ส.ปทุมธานี เปิดใจ เหตุใดต้องย้ายไป "พลังประชารัฐ"
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๙๙, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๐๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]