มณเฑียร สงฆ์ประชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณเฑียร สงฆ์ประชา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดชัยนาท เขต 2
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24​ มีนาคม​ พ.ศ. 2562​
(5 ปี 35 วัน)
ก่อนหน้านันทนา สงฆ์ประชา
คะแนนเสียง52,205 (54.35%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (67 ปี)
พรรคการเมืองพรรคชาติไทย (2539-2550)
พรรคพลังประชารัฐ (2561-2565)
พรรคภูมิใจไทย (2565-ปัจจุบัน)
คู่สมรสนฤพร ภู่สอน[1]

มณเฑียร สงฆ์ประชา (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย และเคยถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จาการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

ประวัติ[แก้]

มณเฑียร สงฆ์ประชา เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของนายบุญธง สงฆ์ประชา อดีต ส.ส. ชัยนาท และนางจันทร์เพ็ญ สงฆ์ประชา มีพี่น้อง 5 คน อาทิ นายมนตรี สงฆ์ประชา อดีตกำนันตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท นางจิรดา สงฆ์ประชา[2] อดีต นายก อบจ.ชัยนาท นางนันทนา สงฆ์ประชา อดีต ส.ส. ชัยนาท และ นายศักดิ์สิทธิ์ สงฆ์ประชา อดีตสมาชิกสภาจังหวัดชัยนาท สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมือง[แก้]

มณเฑียร สงฆ์ประชา ได้เข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย แทนนายบุญธง สงฆ์ประชา อดีต ส.ส.ชัยนาท 5 สมัย บิดา ซึ่งวางมือทางการเมือง โดยนายมณเฑียรได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาทเป็นสมัยแรก และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งต่อเนื่องมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ในนามพรรคชาติไทยเช่นเดิม แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 เขาลงสมัครแข่งขันกับชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง พรรคไทยรักไทย ซึ่งย้ายมาจากเขตเลือกตั้งที่ 1 โดยนายมณเฑียรเป็นฝ่ายแพ้การเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 นายมณเฑียรลงสมัครรับเลือกตั้งคู่กับนันทนา สงฆ์ประชา น้องสาว ในนามพรรคชาติไทย แต่ในภายหลังประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนางนันทนา และนายมณเฑียร และ กกต. ต้องสั่งเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดชัยนาท โดยกำหนดวันเลือกตั้งใหม่คือวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2551 ซึ่งในกรณีที่ถูกใบแดงและต้องเลือกตั้งใหม่ ผู้สมัครเดิมในเขตจากทุกพรรคจะเข้าสู่การเลือกตั้งใหม่อีกครั้งยกเว้นนางนันทนา สงฆ์ประชา และนายมณเฑียร สงฆ์ประชา โดยนายมณเฑียร ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ 1 เป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชัยนาท

นายมณเฑียร กลับสู่สนามเลือกตั้ง ส.ส.อีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ในนามพรรคพลังประชารัฐ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 4 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ในนามพรรคภูมิใจไทย[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

มณเฑียร สงฆ์ประชา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคภูมิใจไทย

สมาชิกวุฒิสภา[แก้]

มณเฑียรได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 จังหวัดชัยนาท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดกรุ 2 พี่น้องตระกูลสงฆ์ประชา ย้ายซบ ภท. อู้ฟู่ รวยรวมกันเกือบ 800 ล้าน
  2. เช็คชื่อ “พี่-น้อง” ส.ว.-พลังประชารัฐ-ประชาธิปัตย์
  3. โชว์พลังใบ ! "อดีต ส.ส." แห่ซบ "ภูมิใจไทย" 34 คน “ลูกเนวิน - ลูกชนม์สวัสดิ์” โผล่ เปิดตัวลงสมัครส.ส.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔