รังสิมันต์ โรม
รังสิมันต์ โรม | |
---|---|
![]() | |
รังสิมันต์เมื่อปี 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (28 ปี) จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคอนาคตใหม่ (2561–2563) พรรคก้าวไกล (2563-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | Ivana Kurniawati. |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | ![]() |
รังสิมันต์ โรม (ชื่อเล่น โรม; เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[1] ที่จังหวัดภูเก็ต) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคก้าวไกล เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ในช่วงหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 อดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ โฆษกคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน[3]
ประวัติ[แก้]
รังสิมันต์ โรม เกิดวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เป็นบุตรของมาร์ค โรม และ นภาภรณ์ เฮาส์[2] จบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนทวีธาภิเศก จบปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4]
การเคลื่อนไหวทางการเมือง[แก้]
รังสิมันต์ โรม ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย โดยเข้าร่วมกิจกรรมการทานแซนวิช เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เนื่องในวาระครบรอบรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 1 เดือน[5] และเป็นนักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองในกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีประชาธิปไตย โดยมีบทบาทในการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยและการเมืองในประเทศ โดยมีเพื่อนนักเคลื่อนเป็นจำนวนมากเข้าร่วมกลุ่ม
ภายหลังรังสิมันต์ โรม ได้แยกทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองมาภายหลังการจับกุมหน้าหอศิลป์เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ภายใต้ชื่อว่า กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM)[6]
คดีความ[แก้]
- คดีชุมนุมทางการเมืองต่อต้าน คสช. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558[7]
- คดี 14 นักศึกษาชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558
- คดีประชามติจากการรณรงค์ประชามติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ถูกศาลทหารสั่งขัง 2 ครั้งในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
- คดีชุมนุมทางการเมืองจากรณรงค์ประชามติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
- คดีรณรงค์ให้เกิดการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561
- คดีรณรงค์ให้เกิดการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
- คดีไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ ขัดคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
- คดีรณรงค์ให้เกิดการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561
- คดีรณรงค์ให้เกิดการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
การทำงานด้านการเมือง[แก้]
รังสิมันต์ โรม ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่พร้อมกับ ปิยะรัฐ จงเทพ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561[8] โดยลงรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ในลำดับที่ 16[9] ซึ่งรังสิมันต์ โรม ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลังการเลือกตั้งปี 24 มีนาคม 2562
ต่อมาภายหลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ รังสิมันต์ โรม เป็นหนึ่งใน 54 อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล ร่วมกับ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
ตำแหน่งในทางการเมือง
2563 รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล
2562-ปัจจุบัน โฆษกกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน
2562-ปัจจุบัน ผู้ประสานงาน วิปฝ่ายค้าน
2562 ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตร แสงกนกกุล
อ้างอิง[แก้]
- ↑ นายรังสิมันต์ โรม
- ↑ 2.0 2.1 บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายรังสิมันต์ โรม
- ↑ “ช่อ” นั่งเก้าอี้ รองประธาน กมธ.กฎหมาย-ยุติธรรม ส่วน “โรม” นั่งตำแหน่ง โฆษกกมธ.
- ↑ “รังสิมันต์ โรม” เขาทำมาหากินอะไร ??
- ↑ ทำไมแซนด์วิชมีสรรพคุณต้านรัฐประหาร? คุยกับนักศึกษาขอพื้นที่ให้สปิริต ปชต.
- ↑ นศ.หอศิลป์-ดาวดิน แถลงย้ำจุดยืนเคลื่อนไหว เย็นวันนี้จัดกิจกรรมอีกที่อนุสาวรีย์ปชต.
- ↑ เว็บไซต์สภาฯลงประวัติ'รังสิมันต์ โรม'ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ชุมนุมต้านคสช.-ถูกขังศาลทหาร
- ↑ พรรคอนาคตใหม่: ทางเลือกใหม่ ของ รังสิมันต์ โรม สู้กับรัฐประหาร
- ↑ เปิด 50 บัญชีรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์อนาคตใหม่ ลุ้นนั่ง ส.ส.