ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2554–2566) พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | รังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ |
ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 2 สมัย และอดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[1] ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ
[แก้]ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ (ชื่อเล่น : เจน) เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการจัดการภาครัฐ จาก มหาวิทยาลัยสยาม [2] สมรสกับ นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
งานการเมือง
[แก้]ศรีสมร เข้าสู่งานก่ารเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2547 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเป็น เลขานุการรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2548 และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลวังกะ อำเภอสังขละบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2554[3]
ศรีสมร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง พ.ศ. 2562 รวม 2 สมัย ต่อมาในปี 2566 เธอได้ยื่นหนังสือลาออกและเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
- ↑ นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
- ↑ "ประวัติฐานข้อมูล จาก thaipoliticwiki". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
- ↑ 'ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ 'ลาออกส.ส.ปชป.ย้ายค่ายซบพลังประชารัฐ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2511
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นายกเทศมนตรีในจังหวัดกาญจนบุรี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.