พรรคเป็นธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคเป็นธรรม
หัวหน้าปิติพงศ์ เต็มเจริญ
เลขาธิการกัณวีร์ สืบแสง
เหรัญญิกปุณยวีร์ เต็มเจริญ
นายทะเบียนสมาชิกบุญธร อุปนันท์
กรรมการบริหาร
  • เข็มมา สีทิ
  • วีระนุช ธีระภูธร
  • วราวุธ ทองเกิด
  • บุญเรือง คำศิลา
  • ว่าที่ร้อยตรี สุกิต น้อมศิริ
  • พงศ์ธารินทร์ บุตรทอง
บุคลากรตำแหน่งอื่นปดิพัทธ์ สันติภาดา (รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1)
คำขวัญประชาธิปไตยต้องเป็นธรรม
ก่อตั้งพรรคกลาง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (5 ปี)
พรรคเป็นธรรม
27 กันยายน พ.ศ. 2563 (3 ปี)
ที่ทำการ245/7 ซอย 7/2 หมู่บ้านชวนชื่น-พาร์คอะเวนิว ถนนกาญจนาภิเษก แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)10,102 คน[1]
อุดมการณ์สิทธิมนุษยชน
ประชาธิปไตย
สี  น้ำเงิน
สภาผู้แทนราษฎร
2 / 500
เว็บไซต์
fairpartyofficial.com
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเป็นธรรม (ย่อ: ปธ.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยใช้ชื่อเดิมว่า พรรคกลาง จนต่อมาเปลี่ยนมาใช้ชื่อพรรคเป็นธรรมจนถึงปัจจุบันในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563

ประวัติ[แก้]

พรรคกลาง จัดตั้งขึ้นโดยการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง เลขที่ 34/2561 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีนายชุมพล ครุฑแก้ว เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายสุขทวี สุวรรณชัยรบ เป็นเลขาธิการพรรค

ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่สามัญพรรคกลาง ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563 เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น "พรรคเป็นธรรม" เปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรค และเลือก นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตโฆษกพรรคเสรีรวมไทย เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายชุมพล ครุฑแก้ว อดีตหัวหน้าพรรค รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค[2] จากนั้นในวันพุธที่ 27 มีนาคม 2565 นายชุมพลได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคซึ่งในวันเดียวกันทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[3][4][5]

ต่อมาในวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2565 นายสรยุทธได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค[6][7] จากนั้นในวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 พรรคเป็นธรรมได้จัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2566 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค รวมถึงเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ หลังจากที่นายปิติพงศ์ลาออกจากตำแหน่งกลางที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายปิติพงศ์เป็นหัวหน้าพรรคอีกสมัย ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่ประชุมมีมติเลือกนายกัณวีร์ สืบแสง เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[8][9]

บุคลากร[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
พรรคกลาง
1 ชุมพล ครุฑแก้ว 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 27 กันยายน พ.ศ. 2563
พรรคเป็นธรรม
2 ปิติพงศ์ เต็มเจริญ 27 กันยายน พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
พรรคกลาง
1 สุขทวี สุวรรณชัยรบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 27 กันยายน พ.ศ. 2563
พรรคเป็นธรรม
2 ชุมพล ครุฑแก้ว 27 กันยายน พ.ศ. 2563 27 มีนาคม พ.ศ. 2565
3 สรยุทธ เพ็ชรตระกูล 27 มีนาคม พ.ศ. 2565 28 ธันวาคม 2565
4 กัณวีร์ สืบแสง 21 มกราคม พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

กรรมการบริหารพรรค[แก้]

อันดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 ปิติพงศ์ เต็มเจริญ หัวหน้าพรรค
2 กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรค
3 เอษณา จรัสสุริยพงศ์ เหรัญญิกพรรค
4 บุญธร อุปนันท์ นายทะเบียนพรรค
5 เข็มมา สีทิ กรรมการบริหารพรรค
6 ฮากิม พงตีกอ
7 วีระนุช ธีระภูธร
8 วราวุธ ทองเกิด
9 บุญเรือง คําศิลา
10 ว่าที่ร้อยตรี สุกิต น้อมศิริ
11 ฐิติพงษ์ หมื่นหาญ

บทบาททางการเมือง[แก้]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเป็นธรรมส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั้งหมด 11 เขต และระบบบัญชีรายชื่อ 9 คน โดยไม่เสนอชื่อบุคคลให้แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[10] ในช่วงการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดนราธิวาส ได้ให้ผู้สมัครของพรรคเป็นธรรมชี้แจงเกี่ยวกับป้ายหาเสียงของพรรคที่มีข้อความว่า “ปาตานีจัดการตนเอง” ซึ่งพรรคได้ทำหนังสือชี้แจงว่า ข้อความนี้หมายถึงนโยบายการกระจายอำนาจ ส่วนคำว่า “ปาตานี” เป็นคำเรียกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อความหมายถึงอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ ส่งผลให้พรรคเป็นธรรมถูกมองว่ามีนโยบายสนับสนุนการ "แบ่งแยกดินแดน”[11] และภายหลังการเลือกตั้ง ได้มีการเสวนาวิชาการจนนำไปสู่การเสนอข้อเสนอให้มีการทำประชามติเพื่อแยกดินแดนของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีตัวแทนของพรรคเป็นธรรมอยู่ในการเสวนาครั้งนั้นด้วย ในที่สุดพรรคเป็นธรรมจึงมีมติให้กรรมการบริหารพรรคจำนวน 2 คน พ้นจากตำแหน่ง[12]

พรรคเป็นธรรมได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 ที่นั่ง ในระบบบัญชีรายชื่อ คือ กัณวีร์ สืบแสง และเป็นพรรคการเมืองที่ถูกกล่าวถึงโดยพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ว่าจะเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล[13] ต่อมาในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 พรรคเป็นธรรมได้ลงมติสนับสนุนพิธาในการลงมติครั้งแรก[14] แต่ภายหลังจากที่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งในการลงมติครั้งที่ 1 และรัฐสภาไทยมีมติไม่ให้เสนอชื่อพิธาซ้ำอีกครั้งในการลงมติครั้งที่ 2 และส่งต่อให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทยจึงยกเลิกบันทึกความเข้าใจที่ทำกับพรรคก้าวไกล กัณวีร์จึงลงมติไม่สนับสนุนเศรษฐา ทวีสิน ในการลงมติครั้งที่สาม ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในสามพรรคการเมืองที่มีสมาชิกลงมติไม่สนับสนุนเศรษฐา[15]

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10:00 น. พรรคเป็นธรรมได้เปิดตัว ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ซึ่งถูกขับออกจากพรรคก้าวไกล มาร่วมงานกับพรรคเป็นธรรมอย่างเป็นทางการ[16] แต่ได้สมัครสมาชิกพรรคและได้รับการรับรองสมาชิกภาพจากกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566[17]

การเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2566
1 / 500
184,817 0.49% เพิ่มขึ้น1 ฝ่ายค้าน ปิติพงศ์ เต็มเจริญ

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม (เดิมชื่อพรรคกลาง)
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม
  5. ‘พรรคเป็นธรรม’ เปิดตัว ‘สรยุทธ เพ็ชรตระกูล’ นั่งเลขาธิการพรรคคนใหม่
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม[ลิงก์เสีย]
  7. “สรยุทธ” ลาออกเลขาธิการพรรคเป็นธรรม
  8. พรรคเป็นธรรม จัดประชุมใหญ่ “กัณวีร์” นั่งเลขาธิการฯ
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม
  10. สรุปผลการรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ
  11. "แบ่งแยกดินแดน"จุดสลบรัฐบาลก้าวไกล?
  12. แบ่งแยกดินแดนพ่นพิษ! พรรคเป็นธรรม ปลด"ฮากิม-ยามารุดดิน"พ้นเก้าอี้
  13. พรรคเป็นธรรมคือใคร ทำไม “พิธา” อยากจับมือจัดตั้งรัฐบาลด้วย
  14. "สแกนครบทุกชื่อ 'ส.ส.-ส.ว.' โหวตพิธา-เป็นนายกฯ 8 พรรคร่วมไม่แตกแถว". มติชน. 2023-07-14. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "กัณวีร์ เป็นธรรม เผย จะโหวตไม่เห็นชอบเศรษฐานั่งนายกฯ ไม่เกี่ยวกับคุณสมบัติ แต่เพราะอุดมการณ์ไม่ตรงกัน". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-08-22. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. ""หมออ๋อง" เปิดตัวซบพรรคเป็นธรรม ชูอุดมการณ์ 3 ข้อ". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "'พรรคเป็นธรรม' รับรอง 'ปดิพัทธ์' เข้าพรรคแล้ว". กรุงเทพธุรกิจ. 31 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]