สภากรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร | |
---|---|
พ.ศ. 2557 | |
ประเภท | |
ประเภท | สภาท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) |
ผู้บริหาร | |
ประธาน | นาย คำรณ โกมลศุภกิจ[1] ตั้งแต่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563 |
รองประธานคนที่หนึ่ง | นาย กิตติ บุศยพลากร ตั้งแต่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 |
รองประธานคนที่สอง | พลเอก โกญจนาท จุณณะภาต [2] ตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 30 คน |
กลุ่มการเมือง | อิสระ (30) |
การเลือกตั้ง | |
ระบบการเลือกตั้ง | การเลือกตั้งโดยตรง |
ครั้งล่าสุด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553 |
ที่ประชุม | |
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร | |
เว็บไซต์ | |
bangkok.go.th |
สภากรุงเทพมหานคร (ตัวย่อ: ส.ก.) เป็นองค์กรฝ่ายสภาของกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบและดูแลการบริหารราชการกรุงเทพมหานครของฝ่ายบริหารอันมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้าคณะฯ ซึ่งประธานสภากรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน คือ นาย คำรณ โกมลศุภกิจ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ,นาย กิตติ บุศยพลากร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 1 และพลเอก โกญจนาท จุณณะภาต เป็นรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 2
โครงสร้าง[แก้]
โครงสร้างการบริหารราชการกรุงเทพมหานครที่สำคัญ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 57 คน ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนชาวกรุงเทพมหานครที่มีสิทธิเลือกตั้ง จาก 50 เขต มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร อันเป็นตัวแทนภาระหน้าที่รับผิดชอบของสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 11 คณะ ได้แก่
- คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับ
- คณะกรรมการการศึกษาและวัฒนธรรม
- คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง
- คณะกรรมการการสาธารณสุข
- คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
- คณะกรรมการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลังและติดตามงบประมาณ
- คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย
- คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
- คณะกรรมการกิจการสภากรุงเทพมหานคร
- คณะกรรมการการจราจร ขนส่ง และการระบายน้ำ
- คณะกรรมการการท่องเที่ยวและการกีฬา
ในอดีต (พ.ศ. 2553) สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งสิ้น 61 คน โดยเริ่มจากการเลือกตั้ง ส.ก.ส.ข.ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เนื่องจากมีเขตทั้งหมด 5 เขตมีประชากรมากขึ้น ได้แก่ เขตบางขุนเทียน, เขตลาดกระบัง, เขตประเวศ, เขตคลองสามวา, เขตบางกะปิ โดยเขตที่มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ได้มากกว่า 1 คน จะต้องเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 150,000 คน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 11 เขตที่จะมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้มากกว่า 1 คน คือ 2 คน ได้แก่ เขตบางเขน, เขตจตุจักร, เขตสวนหลวง, เขตดอนเมือง, เขตสายไหม, เขตลาดกระบัง, เขตคลองสามวา, เขตประเวศ, เขตจอมทอง, เขตบางแค, เขตบางขุนเทียน[3]
ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งสิ้น 27 คน มาจากการแต่งตั้ง
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร[แก้]
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร ในการดำเนินการเรื่อง ญัตติและกระทู้ การร่างข้อบัญญัติ การร่างคำขอ แปรญัตติ การดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร การประชุมคณะกรรมการสามัญและวิสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์ข้อมูลและบริการทางกฎหมาย การค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการแก่สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร รวมทั้งการดำเนินการด้านการต่างประเทศ โดยมี นายประจิม เปี่ยมเต็ม เป็นเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และมี นางอุบลรัตน์ จิพยัคฆ์ และ นางณัฐรดี ซุ่ยยัง เป็นผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกลุ่มภารกิจ จำนวน 9 กลุ่มงาน ได้แก่
- กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
- กลุ่มงานประชุมสภาและกรรมการวิสามัญ
- กลุ่มงานประชุมกรรมการสามัญ
- กลุ่มงานญัตติและกระทู้
- กลุ่มงานกฎหมาย
- กลุ่มงานต่างประเทศ
- กลุ่มงานบริการสภากรุงเทพมหานคร
- กลุ่มงานวิชาการ
- กลุ่มงานเลขานุการ
ลำดับสภากรุงเทพมหานคร[แก้]
ชุดที่ | จำนวนสมาชิก | ระยะการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | 46[4] | 16 เมษายน 2516 – 10 สิงหาคม 2518 | มาจากการแต่งตั้ง |
2 | 41[5] | 2518 - 2520 | |
3 | 45 | 2520 - 2527 | |
4 | 40 | 2527 - 2528 | |
5 | 46[6] | 2528 - 2532 | |
6 | 57[7] | 2533 - 2537 | |
7 | 54 | 2537 - 2541 | |
8 | 60 | 2541 - 2545 | |
9 | 61 | 2545 - 2549 | |
10 | 57[8] | 2549 - 2553 | |
11 | 61[9] | 2553 - 2557 | |
12 | 30[10] | 15 กันยายน 2557 - ปัจจุบัน | มาจากการแต่งตั้ง |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/258/T_0001.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร] เล่ม ๑๓๗, ตอนที่ ๒๕๘ง, ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/113/T_0016.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศชื่อรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่สอง] เล่ม ๑๓๗, ตอนที่ ๑๑๓, ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๓
- ↑ คอลัมน์ เปิดศึกเลือกตั้งส.ก. ส.ข.ทำยังไง ??? ได้ครองใจคนกรุง โดย จิรา จิราสิต หนังสือพิมพ์เดลินิวส์หน้า 24: ฉบับวันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
- ↑ https://bmc.go.th/former-members-01/
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตเลือกตั้งและจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เล่ม ๙๒, ตอนที่ ๙๔, ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่พึงมีในแต่ละเขตเลือกตั้ง เล่ม ๑๐๒, ตอนที่ ๑๓๕, ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๒๗ กันยายน ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเขตเลือกตั้งและจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จำทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง เล่ม ๑๐๖, ตอนที่ ๒๐๓, ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๖๖ ก, หน้า ๓๖, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เล่ม ๑๒๗, ตอนที่ ๕๒ ก, หน้า ๒๓, ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว เล่ม ๑๓๑, ตอนที่ ๑๓๔ ง, หน้า ๑๕, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗