นิยม วิวรรธนดิฐกุล
นิยม วิวรรธนดิฐกุล | |
---|---|
150px | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (64 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคเศรษฐกิจใหม่ |
นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) รองหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเศรษฐกิจใหม่
ประวัติ[แก้]
นิยม วิวรรธนดิฐกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายจันทร์ และนางสุคำ วิวรรธนดิฐกุล มีพี่ 1 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่และต้นปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต และแพทยศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลีนิค มหาวิทยาลัยมหิดล, วุฒิบัตรวิชาชีพ สาขากุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา และการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร สมรสกับนางสุมามาลย์ มีบุตร 3 คน
งานการเมือง[แก้]
อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (พ.ศ. 2533-2542) และสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดแพร่ พ.ศ. 2549 หลังจากนั้นได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน โดยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
ในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2554 นายนิยมยกมือโหวตสวนมติพรรคเพื่อไทย คือ ยกมือไว้วางใจนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และงดออกเสียงให้นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จากพรรคภูมิใจไทย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และการต่อต้านจากกลุ่มเสื้อแดงบางกลุ่ม[2] ในขณะที่นายนิยมได้แถลงในเวลาต่อมา ยืนยันว่ายังอยู่กับพรรคเพื่อไทย และไม่คิดย้ายพรรค[3] อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554 นายนิยมลงสมัครและได้รับเลือกในนามพรรคเพื่อไทย
ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
นิยม วิวรรธนดิฐกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเศรษฐกิจใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2551 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2552 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ "เสื้อแดงแพร่"บุกเพื่อไทยค้านส่ง"หมอนิยม" ลงสมัคร ส.ส.เขต 2
- ↑ “นิยม วิวรรธนดิฐกุล” ยืนยันอยู่เพื่อไทยไม่ย้ายไปสังกัดพรรคอื่น
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายนิยม วิวรรธนดิฐกุล, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดแพร่
- แพทย์ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดแพร่
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคเศรษฐกิจใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.