สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬ มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 2 คน จากทั้งหมด 350 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ประวัติศาสตร์[แก้]
หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยขณะนั้นบึงกาฬยังเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย
ปี พ.ศ. 2554 บึงกาฬยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้แยกเขตการเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดหนองคาย (จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550) มาเป็นเขตการเลือกตั้งของจังหวัดบึงกาฬ โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก คือ นายยุทธพงษ์ แสงศรี นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ และนายไตรรงค์ ติธรรม
- นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากครั้งที่สุด คือ 3 สมัย ได้แก่ นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ และนายไตรรงค์ ติธรรม
เขตการเลือกตั้ง[แก้]
การเลือกตั้ง | เขตการเลือกตั้ง | แผนที่ | จำนวน ส.ส. |
พ.ศ. 2554 | · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองบึงกาฬ, อำเภอโซ่พิสัย, อำเภอปากคาด และอำเภอบุ่งคล้า · เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอเซกา, อำเภอพรเจริญ, อำเภอศรีวิไล และอำเภอบึงโขงหลง |
![]() |
2 คน (เขตละ 1 คน) |
พ.ศ. 2557 | |||
พ.ศ. 2562 |
รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต[แก้]
ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550[แก้]
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550) → พรรคเพื่อไทย
เขต | ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550 |
2 | นายยุทธพงษ์ แสงศรี |
นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ | |
นายไตรรงค์ ติธรรม |
- แยกมาจากเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดหนองคาย
ชุดที่ 24–25; พ.ศ. 2554–2562[แก้]
ชุดที่ | การเลือกตั้ง | เขตเลือกตั้งที่ 1 | เขตเลือกตั้งที่ 2 |
ชุดที่ 24 | พ.ศ. 2554 | นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ | นายไตรรงค์ ติธรรม |
ชุดที่ 25 | พ.ศ. 2562 |
รูปภาพ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (10 ก): 2. 24 Jan 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดบึงกาฬ เก็บถาวร 2012-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน