กนก วงษ์ตระหง่าน
กนก วงษ์ตระหง่าน | |
---|---|
กนก ในปี พ.ศ. 2549 | |
รองประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มีนาคม พ.ศ. 2495 อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2545–2565) ชาติไทยพัฒนา (2565–ปัจจุบัน) |
ศาสตราจารย์ กนก วงษ์ตระหง่าน อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) และคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์ ด้านเศรษฐกิจและการศึกษา
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์ กนก วงษ์ตระหง่าน เกิดที่อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร จบการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ได้เหรียญนักเรียนดีเด่น ก่อนจะสอบเข้าคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นรองเลขาธิการฝ่ายเศรษฐกิจของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) จากนั้นจึงไปศึกษาปริญญาโทต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนต้าบาร์บารา สหรัฐ และได้ทุนศึกษาต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ และในปี พ.ศ. 2539 ได้ผ่านการศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.) รุ่นที่ 37
การทำงาน
[แก้]กนก เป็นอาจารย์ ระดับ 4 ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่หลายปีจนได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 10 ในปี พ.ศ. 2534 และจากนั้นจึงโอนย้ายไปรับราชการที่ทบวงมหาวิทยาลัย โดยดำรงตำแหน่งเป็น รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย (นักบริหาร ระดับ 10) ในยุคที่มี ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2537[2]
จากนั้นจึงเข้าสู่แวดวงธุรกิจ ด้วยการเป็นกรรมการบริหารสายปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และได้รับการทาบทามเป็น ประธานบริหารสถานปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน มีบทบาทสำคัญในการร่วมพลิกฟื้นสถานะของโรบินสัน จากนั้นจึงเข้าเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท แฟมิลี่มาร์ท จำกัด ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ในปี พ.ศ. 2547-2550
งานการเมือง
[แก้]กนก เป็นประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระประชาชน ในช่วงการรณรงค์เลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยรับผิดชอบทางด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ
กนก ได้รับหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเงา ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเงาของพรรคประชาธิปัตย์[3] ต่อมาได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2562[5] ต่อมาในวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ศาสตราจารย์กนกได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์โดยมีผลทันทีทำให้ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเตรียมย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อทำงานด้านสิ่งแวดล้อม[6] กระทั่งวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ศาสตราจารย์กนกได้สมัครสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาแบบตลอดชีพ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน". bangkokbiznews. 2019-05-21.
- ↑ ระดับ 4 ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
- ↑ "กนก" ลาออก "ปชป." ซบ "ชทพ." เตรียมทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
- ↑ วราวุธ เปิดตัว"กนก วงษ์ตระหง่าน" ลั่น!ได้คลังสมองสำคัญ ก่อนเลือกตั้งปีหน้า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ส่วนตัว เก็บถาวร 2011-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบางมูลนาก
- ศาสตราจารย์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- นายกองค์การนักศึกษาในประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.